Page 62 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 62
ผู้ลี้ภัยและชีวิตความเป็นอยู่
ลักษณะที่อยู่อาศัย บางเขตจะสะอาด ไม่พบขยะเลอะเทอะ แม้แต่บ้านพักอาศัยตนเองก็มีความสะอาด เรียบร้อย
ขณะที่บางเขตจะมีบ้านเรือนอาศัยกันอย่างแออัด พบขยะตามซอกตามมุม ในช่วงต้นปี TBC จะมอบวัสดุซ่อมแซมบ้านให้แต่ละ
หลังคาเรือน คือใบตองตึง แต่ก็ไม่ค่อยเพียงพอ ดังจะเห็นว่าบางหลังคาเรือนน�าพลาสติกด�ามาคลุมหลังคา ท�าเป็นฝาบ้าน เป็นต้น บริเวณ
หน้าบ้านแต่ละหลังจะมีถุงทราย ถุงน�้าแขวนอยู่ วัสดุเหล่านี้ใช้เพื่อดับเพลิง ในแต่ละปี ช่วงฤดูแล้งมักจะมีไฟไหม้ในค่ายผู้ลี้ภัย เมื่อมี
ไฟไหม้มักจะลามไปหลังคาเรือนอื่นด้วยความรวดเร็ว เนื่องจากวัสดุที่สร้างบ้านเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี และในค่ายผู้ลี้ภัยก็ไม่มีระบบดับเพลิง
ที่มีประสิทธิภาพ ต้องเรียกรถดับเพลิงจากภายนอก ซึ่งกว่าจะมาถึงไฟก็ได้ไหม้ไปหลายหลังคาเรือนแล้ว เช่น กรณีไฟไหม้ค่ายบ้านแม่สุริน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต และล่าสุดที่บ้านใหม่ในสอย ซึ่งมีครัวเรือนที่ถูกไฟไหม้จ�านวน ๑๘๙ หลังคาเรือน และไฟไหม้ค่ายผู้ลี้ภัย
บ้านแม่หละ อยู่เนือง ๆ
๕. การยังชีพและรายได้
ชีวิตของผู้ลี้ภัยนั้น พวกเขาจะไม่ได้รับความช่วยเหลือเป็นเงินสด นั่นหมายความว่าจะต้องมีแหล่งรายได้ที่ท�าให้
พวกเขามีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจ�าวัน รวมทั้งการซื้ออาหารจากตลาดนัด ในส่วนนี้จะชี้ให้เห็นว่าผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่ง
มิได้ยอมจ�านนต่อข้อจ�ากัดด้านการปันส่วนอาหาร แต่พวกเขาได้พยายาม “หารายได้” และสะสมรายได้ไว้ในอนาคตที่ไม่ทราบว่าจะ
เป็นอย่างไร จากการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ลี้ภัยสามารถหารายได้เพื่อการยังชีพ ได้ดังต่อไปนี้
๑. ได้เงินจากลูกหลานที่ไปอยู่ประเทศที่สาม
ดังได้กล่าวมาข้างต้นเกี่ยวกับการสื่อสารกับภายนอกในกรณีที่รับโอนเงินจากลูกหลานที่ไปอยู่ประเทศที่สาม
ผู้สูงอายุชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งเล่าว่า เขามีลูก ๑๒ คน ไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา ๕ คน อีกคนหนึ่งอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียและอยู่กับ
พือ ๒ คน ที่เหลือได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว ในปีหนึ่งๆ ได้เงินจากลูก ๆ ที่อยู่ต่างประเทศประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท จากการสอบถามทั่วไป
พบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ลูกหลานจะส่งเงินมาให้ประมาณปีละ ๑๐,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐ บาท หรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่
มากพอควรส�าหรับการใช้ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย หากประเมินคร่าว ๆ ว่า ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยที่ไปอยู่ประเทศที่สาม ประมาณ ๙๐,๐๐๐ คน
ถ้าแต่ละคนส่งเงินกลับมาให้ญาติพี่น้องในค่ายผู้ลี้ภัยเพียงปีละ ๑๐,๐๐๐ บาท นั่นหมายความว่า ใน ๑ ปีจะมีเงินสดไหลเวียนในค่าย
ผู้ลี้ภัยทั้ง ๙ แห่ง อย่างต�่า ๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
48 49
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว