Page 57 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 57

บทที่ ๓






                                  ความสับสนเกี่ยวกับข้อมูลตัวเลขจ�านวนประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยนี้   ได้น�าความกังวลใจมาสู่ทางการไทยและ
               UNHCR  ไม่น้อย  ดังจะเห็นได้จากในช่วงที่ด�าเนินงานโครงการวิจัยฯ  นี้มีการส�ารวจประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยถึง  ๒  ครั้ง  ครั้งแรก  คือ

               ภายหลังการเข้ายึดอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  (คสช.)  ราวเดือนกรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๗  เริ่มมีข่าวลือในค่ายผู้ลี้ภัย
               เกี่ยวกับการเข้ามาส�ารวจจ�านวนประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยโดยทหาร ในช่วงนั้นได้สร้างความแตกตื่นให้กับผู้ลี้ภัยอย่างมาก เนื่องด้วย
               พวกเขามีความเกรงกลัวอ�านาจของทหารที่จะสามารถด�าเนินการใด ๆ  ก็ได้  ในสถานการณ์เช่นนั้น  แม้แต่ประชากรไทยก็จะต้อง

               ยอมจ�านนต่ออ�านาจของทหารและพวกเขาเป็นเพียงผู้พักอาศัย จึงยิ่งเพิ่มความหวาดหวั่นมากขึ้น การส�ารวจในครั้งนั้น มีข่าวลือว่า
               ค่ายผู้ลี้ภัยที่มีปัญหาการเคลื่อนย้ายคนมากที่สุด คือ ค่ายบ้านแม่หละจะถูกส�ารวจอย่างละเอียด ยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลให้กับพวกเขา
               อย่างไรก็ดี สิ่งที่กังวลไม่ใช่การส�ารวจนับจ�านวนประชากร แต่เป็นผลสืบเนื่องจากการส�ารวจว่า ผลการส�ารวจนี้จะกระทบต่อพวกเขา

               มากน้อยเพียงไร สถานการณ์นี้สร้างความสับสนเกี่ยวกับการส่งกลับประเทศต้นทางอย่างยิ่ง เนื่องด้วยในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึง
               ราวต้นปี ๒๕๕๗ ได้มีโครงการวิจัยหนึ่งมีแนวค�าถามเกี่ยวกับการตัดสินใจกลับประเทศต้นทาง จึงท�าให้ชาวบ้านกลัวว่า การส�ารวจนี้จะ
               มีความเชื่อมโยงกับการส�ารวจก่อนหน้านี้

                                  ครั้งที่สอง เป็นการส�ารวจโดย UNHCR เช่นเดียวกัน ได้ด�าเนินการประมาณปลายปี ๒๕๕๗ ถึงต้นปี ๒๕๕๘
               เป็นระยะเวลาห่างจากการส�ารวจครั้งล่าสุดไม่กี่เดือน มีเสียงเล่าลือจากในค่ายผู้ลี้ภัยว่า จ�านวนประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยค่อนข้างสับสน

               จึงจ�าเป็นต้องมีการส�ารวจอีกครั้ง โดยครั้งนี้ UNHCR จะใช้เทคโนโลยีมาร่วมบันทึกลักษณะบุคคลด้วย เช่น ภาพถ่าย รอยพิมพ์นิ้วมือ
               เป็นต้น หากเทียบกับการส�ารวจครั้งล่าสุดแล้ว ครั้งนี้ชาวบ้านไม่ค่อยแตกตื่น หวาดกลัวเท่าไหร่นัก เพราะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์พิเศษ
               เช่นครั้งล่าสุด  จากการสัมภาษณ์พบว่า  ชาวบ้านค่อนข้างเคยชินกับการตรวจนับจ�านวนประชากรเช่นนี้  อย่างไรก็ดี  การส�ารวจครั้งนี้

               มีเสียงลือว่า จะเป็นการขึ้นทะเบียนสถานะเป็นผู้ลี้ภัย จึงท�าให้ผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่งไม่ต้องการจะถูกส�ารวจและประทับตราว่าเป็นผู้ลี้ภัย
               แต่อีกกลุ่มหนึ่งก็ต้องการถูกส�ารวจโดยมีความหวังว่าจะได้ไปประเทศที่สาม ขณะที่ผู้ลี้ภัยก็ตระหนักดีว่าโอกาสที่จะได้รับการพิจารณา
               ไปประเทศที่สามนั้น มีความเป็นไปได้น้อยมาก ความน่าสนใจประการหนึ่งของการส�ารวจนี้ คือ ได้น�าวิธีการที่เรียกว่า Biometric

               เพื่อยืนยันหรือระบุความเป็นคน ๆ นั้น ด้วยวิธีการพิมพ์ลายนิ้วมือ ลักษณะใบหน้า ลักษณะใบหู จอตา UNHCR ได้บอกกับผู้ลี้ภัยว่า
               การส�ารวจนี้เรียกว่า Verification Process ผู้ที่ผ่านกระบวนการนี้จะได้บัตรเรียกว่า Verification Card ซึ่งสามารถร้องขอความช่วยเหลือ
               จาก UNHCR ได้


                               ๒) ส่วน บัตร Pre-Screening  หรือที่ผู้ลี้ภัยเรียกว่า บัตร Pre
                                  เป็นบัตรที่ UNHCR จัดให้ส�าหรับบุคคลที่เดินทางมาตั้งแต่ช่วงเวลา พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๑ แสดงว่าอยู่ในกระบวนการ

               คัดกรองของ UNHCR ในการส่งไปประเทศที่สาม โดยส่วนใหญ่คนที่มีบัตรนี้จะมีสมาชิกในครอบครัวได้ไปประเทศที่สามแล้ว และตนเอง
               อยู่ในขั้นตอนการเตรียม การตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีบัตรนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ไปประเทศที่สามทุกคน ขณะเดียวกันก็พบว่า

               ผู้ที่มีญาติหรือสมาชิกในครอบครัวไปประเทศที่สามแล้ว และตนเองยังพักอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย ก็อาจจะไม่มีบัตรนี้ก็ได้

                               ๓) กลุ่มคนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ UNHCR

                                  เป็นกลุ่มคนที่เดินทางเข้ามาพักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยภายหลังจากที่ UNHCR ได้ขึ้นทะเบียนผู้ลี้ภัยแล้ว กลุ่มนี้
               มีความเป็นไปได้ที่จะไม่ใช่กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสู้รบ แต่อาจจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลจากการเรียกเก็บภาษีจาก
               หลายฝ่าย การถูกรังแกจากทหารพม่า/เมียนมาร์และทหารชนกลุ่มน้อย การเผชิญกับความอดอยากและการมองไม่เห็นว่าอนาคตจะ

               ดีขึ้นอย่างไรหากยังอาศัยอยู่ในบ้านเกิดของตนเอง คนกลุ่มนี้อาจจะมีทั้งนักศึกษาที่ส�าเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจากประเทศ
               พม่า/เมียนมาร์นักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อ เป็นต้น








             44                                                                                                                                                                                                                             45
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62