Page 58 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 58
ผู้ลี้ภัยและชีวิตความเป็นอยู่
อย่างไรก็ดี สมควรกล่าวด้วยว่ายังมีผู้ที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยอีกประเภทหนึ่งที่มีบัตรประจ�าตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทาง
ทะเบียนที่ออกให้โดยกระทรวงมหาดไทย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า บัตร ๑๐ ปี เช่นเดียวกัน จากการสอบถามพบว่า คนเหล่านี้มักมีญาติ
พี่น้องอยู่หมู่บ้านใกล้เคียงกัน เมื่อราชการไทยแจ้งว่าจะมาส�ารวจประชากร ญาติก็จะแจ้งให้เดินทางมาขึ้นทะเบียน ในบางคนอาจจะมี
บัตรสองประเภทอยู่ร่วมกัน หลายคนถือบัตรประจ�าตัวประชาชนพม่าด้วย
การจ�าแนกผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นการจ�าแนกประชากรผู้ลี้ภัยเพื่อเตรียมการปิดค่ายผู้ลี้ภัย
ในบริเวณชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์เมื่อมีการลงนามหยุดยิงทั่วประเทศ และมีสันติภาพเกิดขึ้นในประเทศพม่า/เมียนมาร์หลังจาก
มีการหารือเพื่อการปรองดอง (Political Dialogue) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยตัดสินใจว่าจะเดินทางไปประเทศที่สามหรือเดินทางกลับ
ประเทศต้นทาง หรือเลือกที่จะอยู่ในประเทศไทย มีข้อสังเกตว่า หลักการในการจ�าแนกประเภทผู้ลี้ภัยนี้ มาจากข้อสันนิษฐานที่ว่า
ผู้ลี้ภัยที่เดินทางมาพ�านักในค่ายผู้ลี้ภัย ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นผู้ลี้ภัยการสู้รบในประเทศพม่า/เมียนมาร์ หนีการปราบปรามของ
กองทัพพม่า และมีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงถือว่ามีความชอบธรรมที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนของ UNHCR และมีสิทธิ
ที่จะสมัครเดินทางไปประเทศที่สาม แต่ผู้ที่เดินทางมาหลังปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ถือว่า เป็นผู้ที่อพยพเข้ามาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยด้วยเหตุผล
ทางด้านเศรษฐกิจ หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป็นเหตุผลจากการสู้รบหรือความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง
ในการเก็บข้อมูลภาคสนามของคณะผู้วิจัย พบว่ามีผู้ลี้ภัยจ�านวนไม่น้อยที่เดินทางมาอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยด้วยเหตุผล
ที่เกี่ยวข้องกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หลังจากปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ประชาชนชาวพม่าทั้งที่อยู่ในบริเวณชายแดนที่อยู่ใน
เขตอิทธิพลของกองก�าลัง KNU DKBA หรือ KnPP และอยู่ในพื้นที่อื่น ยังเผชิญกับผลกระทบจากการปะทะระหว่างกองทัพพม่าและ
กองก�าลัง KNU หรือระหว่าง KNU กับ DKBA เป็นต้นว่า หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ กองก�าลัง DKBA ได้บุกโจมตีเมือง
เมียวดี ที่อยู่ตรงข้ามกับอ�าเภอแม่สอด ท�าให้มีประชาชนจากพม่า/เมียนมาร์ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงหนีภัยอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ตาม
พื้นที่บริเวณชายแดนไทย ยิ่งกว่านั้นยังมีกองก�าลังทหารที่แยกตัวจาก KNU หรือ KnPP ที่ยอมรับสถานะเป็นกองก�าลังรักษาชายแดน
ในการก�ากับของกองทัพพม่า ที่เรียกว่า Border Guard Force (BGF) ซึ่งปฏิบัติการบริเวณชายแดน และบ่อยครั้งมีบทบาทในการ
เก็บภาษีผ่านแดนหรือเก็บภาษีจากประชาชน ในขณะเดียวกัน กองทัพพม่าก็ได้เสริมก�าลังตั้งฐานที่มั่นในพื้นที่ชายแดนเพื่อคุมพื้นที่
มากขึ้น ไม่ได้ใช้ยุทธวิธีแบบเดิมที่บุกโจมตีกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยในช่วงฤดูแล้ง และถอยกลับในช่วงฤดูฝน ดังนั้น จึงท�าให้
ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวในความปลอดภัย หรือหวาดกลัวที่จะต้องถูกเกณฑ์ให้ไปเป็นลูกหาบหรือเกณฑ์แรงงานในช่วงทศวรรษ
๒๐๑๐ ที่ผ่านมา กระแสชาตินิยมในประเทศพม่า/เมียนมาร์ได้ถูกปลุกเร้าให้มีความรุนแรงมากขึ้นด้วยการน�าของพระสงฆ์ฝ่ายอนุรักษ์นิยม
โดยมีเป้าหมายในการต่อต้านชาวมุสลิมในพม่า/เมียนมาร์ท�าให้มีการใช้ความรุนแรงต่อชาวมุสลิม เช่น การเผาท�าลายมัสยิด การต่อต้าน
ร้านค้าของชาวมุสลิมด้วยค�าขวัญ ๙๖๙ การบุกท�าลายเผาหมู่บ้านชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ตลอดจนสร้างวาทกรรมว่าชาวมุสลิม
ยอมรับการมีภรรยาหลายคน ท�าให้มีประชากรมุสลิมเพิ่มขึ้นรวดเร็วและจะกลืนพลเมืองชาวพม่าที่เป็นชาวพุทธในอนาคต รวมทั้ง
รัฐบาลพม่าไม่ยอมรับชาวโรฮิงญาว่าเป็นพลเมืองของพม่า/เมียนมาร์ เป็นต้น สถานการณ์เช่นนี้ ผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ
กล่าวว่า หากจะให้เดินทางกลับพม่า/เมียนมาร์ พวกเขายอมที่จะติดคุกในประเทศไทยมากกว่า
การจ�าแนกผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยดังกล่าวข้างต้น อาจจะพิจารณาได้ว่า เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการเตรียมการเพื่อ
การส่งกลับ หรือให้โอกาสเดินทางไปประเทศที่สาม แต่หากจะท�าความเข้าใจต่อลักษณะของผู้ลี้ภัยที่มีความหลากหลายเพื่อเตรียมการ
ในการส่งกลับ จ�าเป็นจะต้องค�านึงถึงวิธีการจ�าแนกผู้ลี้ภัยที่ละเอียดมากขึ้น เช่น อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การนับถือศาสนา ช่วงอายุของ
ผู้ลี้ภัย ทักษะและภูมิปัญญาของผู้ลี้ภัย ตลอดจนสภาวะทางด้านสุขภาพ เช่น ความพิการ เด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติ ถึงแม้ว่าผู้ลี้ภัย
ส่วนใหญ่จะเป็นชาวกะเหรี่ยงและชาวคะเรนนี แต่หลังจากปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่มีการขึ้นทะเบียนผู้ลี้ภัยของ UNHCR ปรากฏว่า มีกลุ่ม
ชาติพันธุ์กลุ่มอื่นอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยด้วย เช่น ในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละและบ้านนุโพมีชาวมุสลิมอยู่ประมาณร้อยละ ๑๕ ที่มีบทบาท
44 45
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว