Page 59 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 59
บทที่ ๓
ส�าคัญในด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น หากจะมีการส่งกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์จ�าเป็นจะต้องมีการสอบถามความสมัครใจเสียก่อน เพราะ
พวกเขาอาจจะเผชิญกับความไม่ปลอดภัยในชีวิต ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นอาจจะไม่เผชิญปัญหาเช่นเดียวกันกับชาวมุสลิม แต่พวกเขา
มีส�านึกทางด้านชาติพันธุ์ค่อนข้างสูงและต้องการด�ารงรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการใช้และอนุรักษ์ภาษาของ
ตนเองหรือของบุตรหลานของตน ที่ผ่านมาประเด็นเรื่องการจัดการศึกษาส�าหรับกลุ่มชาติพันธุ์เป็นเรื่องที่ผู้ลี้ภัยได้แสดงความห่วงใย
มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตรที่ให้นักเรียนมีโอกาสเรียนภาษาชาติพันธุ์ของตนเอง
๓. ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย
เมื่อเริ่มแรกของการจัดตั้งค่ายผู้ลี้ภัยนั้น รัฐไทยมีความมุ่งหวังว่าวันหนึ่งผู้คนเหล่านี้ที่หนีภัยการสู้รบจากประเทศ
พม่า/เมียนมาร์มาอยู่บริเวณที่ได้จัดตั้งให้ชั่วคราวจะได้กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน จนถึงปัจจุบันนี้ค่ายผู้ลี้ภัยบางแห่งได้จัดตั้งมานานกว่า
๓๐ ปี แต่รัฐไทยก็ยังคงควบคุมก�ากับ “ค่ายผู้ลี้ภัย” เหล่านี้ด้วยมาตรการเดิม กล่าวคือ การจัดปัจจัยสี่ตามพื้นฐานความจ�าเป็นของชีวิต
คือ ที่อยู่อาศัย อาหารและน�้าดื่ม เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ
รัฐไทยยังใช้มาตรการการควบคุมการเดินทางเข้าออกนอกค่ายผู้ลี้ภัย โดยบริเวณหน้าค่ายผู้ลี้ภัยทุกแห่งจะมีป้อม
ตรวจตราของทางการไทย ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ไทยเป็นผู้ควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด ผู้ลี้ภัยจะเรียกพวกนี้ว่า “ออ สอ” (อาสาสมัครรักษา
ดินแดน: อ.ส.) ซึ่งลูกจ้างของกระทรวงมหาดไทยคอยควบคุมการเดินทางเข้า-ออก โดยจะอนุญาตให้ผ่านเข้าออกในช่วงเวลา ๐๖.๐๐ น. -
๑๘.๐๐ น. โดยผู้ที่เดินทางผ่านเข้าออกจะต้องได้รับอนุญาตก่อน ทว่าในความเป็นจริงพบว่า แทบทุกค่ายผู้ลี้ภัยจะมีเส้นทางเข้าออก
ที่ผู้ลี้ภัยทราบกันดีว่าอยู่ที่ใดบ้าง ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ ซึ่งอยู่ชิดถนนและใกล้อ�าเภอแม่สอด เป็นพื้นที่ที่มีผู้คนเดินทางเข้าออกโดย
ไม่ผ่านประตูหลักอยู่เสมอ ๆ เพื่อมาท�างานในอ�าเภอแม่สอด ส่วนค่ายผู้ลี้ภัยที่อยู่ชิดถนน แต่อยู่ไกลจากเมือง เช่น ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ
อ�าเภออุ้มผาง การเดินทางมาเพื่อท�างานในอ�าเภอแม่สอดแบบเช้าไปเย็นกลับอาจจะยากล�าบากและไกลเกินไป แม้ว่าจะอยู่ใกล้กับ
อ�าเภออุ้มผางมาก แต่เนื่องจากอุ้มผางเป็นอ�าเภอเล็ก ๆ ไม่มีงานรับจ้างตามร้านอาหาร ร้านขายของ โรงงานเช่นอ�าเภอแม่สอด ดังนั้น
ผู้ลี้ภัยจึงไม่ได้ไปท�างานที่อ�าเภออุ้มผาง กรณีค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหินและค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอยนั้นอยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชน
การเดินทางเข้าออกค่อนข้างล�าบาก แต่ก็พบว่ามีผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งเดินทางออกมาท�างานในหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่
ในสอย จะเดินเท้าหรือขับมอเตอร์ไซค์ออกมาท�างานรับจ้างก่อสร้าง ซ่อมแซมบ้าน เก็บถั่ว เป็นแรงงานเกษตรที่หมู่บ้านในสอย ซึ่งอยู่
ห่างกันประมาณ ๗ กิโลเมตร ส่วนผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน บางส่วนจะออกมาท�างานเป็นแรงงานรับจ้างรีสอร์ทในอ�าเภอ
สวนผึ้ง หรือรับจ้างต่าง ๆ ที่บ้านตะโกล่าง อ�าเภอสวนผึ้ง
นอกจากจะถูกห้ามเดินทางออกนอกค่ายผู้ลี้ภัยแล้ว รัฐไทยยังไม่อนุญาตให้มีการสื่อสารทางอื่น ๆ ด้วย เช่น โทรศัพท์
โทรทัศน์ วิทยุ การสื่อสารทุกชนิด แม้แต่ไฟฟ้าก็ไม่อนุญาตให้ใช้ ใช้ได้แต่ตะเกียง การด�าเนินชีวิตเช่นนี้อาจเป็นไปได้หากพักอาศัย
เพียงชั่วคราว การจ�ากัดการสื่อสาร การติดต่อกับสังคมภายนอก พ่อแม่ คนรัก ญาติพี่น้อง เพื่อน เหล่านี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง
โดยเฉพาะผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวถูกส่งไปประเทศที่สามแล้ว พวกเขาย่อมต้องการติดต่อไปมาหาสู่กันเพื่อทราบถึงวิถีชีวิต การด�าเนิน
ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป การปรับตัว ความเจ็บป่วย ทุกข์สุข หรือย่อมต้องการที่จะรับรู้การเปลี่ยนแปลงภายนอก บ้านเกิดเมืองนอน
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของประเทศพม่า/เมียนมาร์ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจและการด�าเนินชีวิตในอนาคตของพวกเขาทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม พบว่า ค่ายผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่จะมีร้านค้า โดยคนภายนอกก็สามารถเดินทางเข้ามาซื้อของที่นี่ได้ ตามร้านอาหาร ร้านน�้าชา
มักพบว่ามีโทรทัศน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะต่อกับเครื่องฉายวีดีโอ เพื่อชมภาพยนตร์ หรือมีการติดต่อสัญญาณดาวเทียม รวมทั้งการชม
ภาพยนตร์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค นอกจากนี้ พบว่าผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งซึ่งเคยเป็นอดีตทหาร KNU ครูสอนศาสนา ผู้น�าหมู่บ้าน
ต่างติดตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศพม่า/เมียนมาร์
46 47
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว