Page 65 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 65
บทที่ ๓
ชื่อโรงเรียนว่าอะไร และหลักสูตรควรเป็นอย่างไร เพื่อให้นักเรียนที่ส�าเร็จการศึกษาไปแล้วสามารถน�าไปใช้ประโยชน์ได้ ต่อมา ได้ชื่อว่า
Karenni Community College (KnCC) ขณะเดียวกันทางการไทยก็ไม่อนุญาตให้อาสาสมัครชาวต่างชาติเข้าไปสอนหนังสือภายใน
ค่ายผู้ลี้ภัย จึงท�าให้นักเรียนต้องออกมาเรียนวิชาที่สอนโดยอาสาสมัครชาวต่างชาติที่หมู่บ้าน Dokita ซึ่งเป็นหย่อมบ้านหนึ่งของหมู่บ้าน
ใหม่ในสอย
ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ทาง KnED เริ่มมีการพูดคุยกันเกี่ยวกับการเตรียมการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตใน
รัฐคะเรนนี จึงได้จัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรในหลักสูตรการพัฒนาชุมชน ใช้ระยะเวลา ๑ ปี หลักสูตรนี้มุ่งหวังให้เยาวชนได้
กลับไปท�างานพัฒนาที่บ้านเกิดตนเอง
การจัดการศึกษาโดยองค์กรกะเหรี่ยง
เดิมการจัดการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยที่มีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่เป็นส่วนมาก ได้แก่ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ
ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่ละอู ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่ละมาหลวง ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านต้นยาง อยู่ในความดูแลของ KED ในปี
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้ถ่ายโอนความรับผิดชอบนี้มาให้แก่ KRCEE ซึ่งดูแลรับผิดชอบโรงเรียนทั้งสิ้น ๗๐ แห่ง ครูจ�านวน ๑,๗๐๐ คน
การจัดการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไม่แตกต่างจากขององค์กรคะเรนนีมากนัก แบ่งระดับการศึกษาเป็น Nursery Primary, Middle,
Secondary, Post-Secondary หรือ Post-ten (ในกลุ่มคะเรนนี เรียกการศึกษาระดับ Secondary ว่า High School และเรียก
Post-Secondary ว่า Post-ten) ขณะที่ KED จะดูแลรับผิดชอบการศึกษาในรัฐกะเหรี่ยง
ในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพจะมีการศึกษาระดับ Post-ten อยู่ ๒ แห่ง คือ Teacher Preparation Course (TPC) และ Karen
Economic Development Course (KEDC) โดย TPC เป็นหลักสูตรเตรียมเป็นครู ส่วน KEDC สอนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ การจัดการ
และการบัญชี เป็นต้น ที่นี่ก็เช่นเดียวกันกับของกลุ่มคะเรนนี คือ ต้องการให้น�าวิชาความรู้เหล่านี้มาพัฒนาชุมชนตนเอง
นอกจากนี้ มีการศึกษาระดับ Post-ten ที่เยาวชนทั้งคะเรนนีและกะเหรี่ยงต้องการศึกษา คือ Special English Program (SEP)
และ English Immersion Program (EIP) ทั้งสองแห่งนี้อยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านอุ้มเปี้ยม เยาวชนที่สามารถมาเรียนที่นี่ได้ต้องฝ่าฟันอุปสรรค
ค่อนข้างมากเนื่องจากที่นี่มีเยาวชนต้องการมาเรียนจ�านวนมาก ดังนั้น การแข่งขันค่อนข้างสูง อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายเดินทางและอื่น ๆ
รวมทั้งต้องขออนุญาตเดินทางออกนอกค่ายผู้ลี้ภัยหากไม่ได้พักพิงที่ค่ายนี้
52 53
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว