Page 64 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 64
ผู้ลี้ภัยและชีวิตความเป็นอยู่
๖. การศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัย
การจัดการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยทั้งหมดด�าเนินการโดยองค์กรของผู้ลี้ภัย และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ สืบเนื่องจาก
รัฐบาลไทยไม่ยอมรับสถานะผู้ลี้ภัยของคนเหล่านี้ จึงท�าให้ผู้ลี้ภัยไม่มีทางเลือกด้านการศึกษามากนัก แม้ว่ารัฐบาลไทยจะใช้แนวทาง
มนุษยธรรม โดยอนุเคราะห์ให้อยู่อาศัย และยินยอมให้องค์กรของผู้ลี้ภัย องค์กรระหว่างประเทศเข้าด�าเนินกิจกรรมตามความจ�าเป็นพื้นฐาน
การศึกษาเป็นเรื่องหนึ่งที่รัฐไทยก็ด�าเนินการเช่นนั้น โดยรัฐไทยไม่ได้เข้าไปจัดการศึกษาให้ แต่อนุญาตให้มีการเรียนการสอนภายใน
ค่ายผู้ลี้ภัยได้ รัฐไทยไม่เกี่ยวข้องและไม่รับรองหลักสูตรและวิทยฐานะของผู้ส�าเร็จการศึกษาจากค่ายผู้ลี้ภัย
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ประชากรส่วนใหญ่ในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย คือ ส่วนใหญ่เป็นคะยาห์และมาจากรัฐคะเรนนี ส่วนที่
เหลืออีก ๓ ค่าย ประชากรส่วนใหญ่ คือ กะเหรี่ยง ดังนั้น องค์กรผู้ลี้ภัยที่ด�าเนินงานด้านการศึกษาจึงเป็นองค์กรผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนี คือ
Karenni Education Department (KnED) และองค์กรผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง คือ Karen Refugee Committee Education Entity
(KRCEE) ดังนั้น เนื้อหาที่จะกล่าวถึงจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ การจัดการศึกษาที่ด�าเนินการโดยองค์กรผู้ลี้ภัยคะเรนนี และองค์กรผู้ลี้ภัย
กะเหรี่ยง
การจัดการศึกษาที่ด�าเนินการโดยองค์กรคะเรนนี
องค์กรที่เป็นแหล่งทุนสนับสนุนหลัก คือ Jesuit Refugee Service (JRS) ผ่าน KnED ซึ่งจะดูแลทั้งค่าย ๑ และค่าย ๒
(ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่สุรินทร์) ในรายงานนี้จะกล่าวเฉพาะค่าย ๑ คือ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย แบ่งระดับการศึกษาได้ ดังนี้ Primary
School, Middle School และ High School ช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เมื่อนักเรียนจบการศึกษาระดับ High School แล้วสามารถ
เลือกการศึกษาระดับ Post Ten เรียกว่า Karenni Post Ten (KnPt) ตั้งขึ้นปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หรือเลือกศึกษาการฝึกด้านทักษะผู้น�า
และการจัดการเรียกว่า Karenni Leadership and Management Course (KLMC) ตั้งขึ้นปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ครูที่สอนทั้งหมดนี้
เป็นผู้ลี้ภัยที่มีการศึกษาหรือสามารถอ่านออกเขียนได้และมีอาสาสมัครชาวต่างชาติ มาร่วมสอนเป็นระยะ ต่อมา ในปี พ.ศ ๒๕๔๘
เป็นปีที่ UNHCR เริ่มส่งผู้ลี้ภัยไปประเทศที่สาม ครูส่วนหนึ่งเลือกที่จะไปประเทศที่สาม จึงท�าให้ขาดแคลนครูท�าให้แหล่งทุนตั้งค�าถามว่า
เมื่อไม่มีครูสอนโรงเรียนจะด�าเนินการไปได้อย่างไร ดังนั้น จึงตัดเงินสนับสนุนในแต่ละปี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการ
ค่ายผู้ลี้ภัย และผู้เกี่ยวข้องจึงตัดสินใจยุบรวมโรงเรียน KnPt และ KLMC เป็นโรงเรียนเดียวกัน ในช่วงนั้นมีการถกเถียงว่า ควรจะใช้
50 51
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว