Page 66 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 66

ผู้ลี้ภัยและชีวิตความเป็นอยู่




                         ความน่าสนใจของหลักสูตรการเรียนการสอนในค่ายผู้ลี้ภัยคือวิชาที่เปิดสอน  ได้แก่  ภาษา  คณิตศาสตร์  ประวัติศาสตร์

                  โดยเฉพาะภาษาจะสอนภาษาอังกฤษ พม่า และภาษาชาติพันธุ์ตนเอง คือ หากเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่มาก ก็จะสอน
                  ภาษากะเหรี่ยง ส่วนค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอยจะสอนภาษาคะยาห์ ดังนั้น จะพบเห็นเยาวชนจ�านวนหนึ่งที่เดินทางจากประเทศพม่า/
                  เมียนมาร์ โดยผู้ที่มาจากรัฐคะเรนนีมักจะมาพักอาศัยที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอยและค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่สุริน ส่วนผู้ที่มาจากรัฐกะเหรี่ยง

                  จะพักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง เพื่อมาเรียนหนังสือในค่ายผู้ลี้ภัย จากข้อมูลพบว่าเยาวชนส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจาก
                  ความขัดแย้งทางการเมือง การต่อสู้ระหว่างกองก�าลังทหารพม่าและกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย ท�าให้ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้
                  ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเพื่อการศึกษา ขาดแคลนอุปกรณ์และครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัย

                  ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ  ที่ส�าคัญคือ วิชาภาษาอังกฤษได้เรียนกับอาจารย์อาสาสมัครที่เป็นเจ้าของภาษา จากการสนทนากับนักเรียน
                  ที่ร่วมงานเป็นผู้ช่วยนักวิจัยสนาม  ต่างสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ดี  มีความกล้าแสดงออก  มีความมั่นใจในการน�าเสนอ
                  ความคิดในที่สาธารณะ

                         เมื่อพิจารณาหลักสูตรฯ จะพบว่ามีชั่วโมงเรียนที่ฝึกให้นักเรียนท�ากิจกรรมร่วมกับชุมชน เช่น พิธีกรรมส�าคัญด้านศาสนาของ
                  ชุมชน กรณีค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอยมีผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่งนับถือศาสนาแบบดั้งเดิม (Animism) จะมีพิธีกรรม Kay Toh Bo วันผู้ลี้ภัย

                  วันชาติ  กิจกรรมการถวายพระพรในวันพ่อแห่งชาติ  และวันส�าคัญอื่น ๆ  นอกจากนี้  นักเรียนยังต้องช่วยซ่อมโรงเรียนท�าความสะอาด
                  หรือเมื่อชุมชนประสบกับความเดือดร้อน เช่น ไฟไหม้ นักเรียนจะไปช่วยเหลือจัดเตรียมอาหาร ขนถ่ายสินค้าที่บริจาค ท�าความสะอาด
                  เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าหลักสูตรนี้ได้สร้างให้มีจิตอาสา


                         สิ่งที่ท้าทายของการจัดการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัย คือ
                         ๑. การขาดแคลนครูทั้งปริมาณและคุณภาพ ครูที่สอนในโรงเรียนและวิทยาลัยล้วนเป็นผู้ที่ส�าเร็จการศึกษาจากภายในค่าย

                  ผู้ลี้ภัย หรือมาจากประเทศพม่า/เมียนมาร์ โดยจะได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม ดังนั้น ครูเหล่านี้ก็ยังอายุไม่มาก ประสบการณ์การสอน
                  ก็ไม่เพียงพอ ค่าตอบแทนก็ค่อนข้างต�่าประมาณเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ในขั้นต้น ส่วนครูใหญ่ได้รับเงินเดือนประมาณ ๕,๐๐๐ บาท

                  ทั้งแรงจูงใจและประสบการณ์ที่ไม่มากพอ ท�าให้เยาวชนเหล่านี้มีแนวโน้มเปลี่ยนงานไม่เลือกอาชีพครู โดยมักจะเปลี่ยนงาน หรือหาทาง
                  ศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
                         ๒. แหล่งเงินทุนที่ให้ความสนใจงานพัฒนาในประเทศพม่า/เมียนมาร์ อาจกล่าวได้ว่างบประมาณทั้งหมดในการด�าเนินงาน

                  ขององค์กรได้มาจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศพม่า/เมียนมาร์เปิดประเทศและยอมรับการพัฒนามากขึ้น แหล่งทุน
                  เหล่านี้จึงไปให้ความส�าคัญกับงานพัฒนาที่ประเทศพม่า/เมียนมาร์มากกว่า  ซึ่งอาจจะมีผลต่อการให้การสนับสนุนงานพัฒนาในค่ายผู้ลี้ภัย
                  การถอนตัวของแหล่งเงินทุนได้มีผลกระทบต่อการด�าเนินงานขององค์กรดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

                         ๓. พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ไม่เห็นโอกาสของชีวิตเมื่อส�าเร็จการศึกษา  พวกเขารู้สึกว่าเรียนหนังสือไปก็ไม่สามารถประกอบอาชีพได้
                  วุฒิการศึกษาที่ได้รับก็ไม่สามารถไปใช้ประโยชน์อะไรได้  หรือหากต้องการศึกษาต่อ  โอกาสในการศึกษาก็เต็มไปด้วยความยากล�าบาก
                  ดังนั้น  จะเห็นว่าหนุ่มสาวมักจะแต่งงานกันเร็ว  และมีบุตรตั้งแต่อายุ  ๑๕-๑๖  ปี  นอกจากนี้  ผู้ปกครองมีความคิดเห็นว่าครูที่สอนมี

                  อายุน้อย ไม่แน่ใจในความสามารถและประสบการณ์
                         ๔. การส่งผู้ลี้ภัยไปประเทศที่สาม ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการส่งผู้ลี้ภัยไปประเทศที่สาม มีครูจ�านวนมากที่ตัดสินใจ

                  ไปประเทศที่สาม  ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนอย่างยิ่ง  ดังนั้น  จึงเป็นประเด็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะ
                  ต้องหารือกัน  หากจะมีการส่งกลับประเทศต้นทางหรือประเทศที่สามอีกครั้ง  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะการขาดช่วงการเรียนการสอน
                         อย่างไรก็ตาม  ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยนี้ได้พยายามแก้ไขปัญหา  เช่น  พยายามร้องขอจากแหล่งทุนให้

                  เพิ่มเงินเดือนให้แก่ครูเป็นเดือนละ ๑,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ บาท นัดหมายการประชุมกับผู้ปกครอง ชี้แจงผู้ปกครองให้ทราบเกี่ยวกับความ
                  ส�าคัญของการศึกษา ในด้านการเพิ่มขีดความสามารถของครู จะมีการจัดฝึกอบรม และหาอาสาสมัครที่มีความรู้มาช่วยเพิ่มเติมทักษะ

                  ด้านภาษาอังกฤษ และการใช้สื่อการสอนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น



 52                                                                                                                  53
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71