Page 61 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 61

บทที่ ๓






                               สภาพค่ายผู้ลี้ภัยในช่วงที่มีตลาดนัดนั้นดูเหมือนกับชุมชนทั่วไป  ผู้ลี้ภัยต่างจับจ่ายใช้สอยซื้อหาอาหารสดและแห้ง
               ขนม  สิ่งของ  เครื่องใช้ต่าง  ๆ  อาจกล่าวได้ว่า  ตลาดนัดช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้กับผู้ลี้ภัยพอควร  นอกเหนือจากนี้  ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัยก็จะ
               เหมือนเดิม ตื่นขึ้นมาแต่เช้า บางวันจะพบคนแปลกหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งเข้ามาจัดการฝึกอบรม หรือปลัดอ�าเภอ

               เจ้าหน้าที่ราชการเข้ามาตรวจเยี่ยม คณะกรรมการค่าย และเจ้าหน้าที่ TBC ที่เข้ามาแจกจ่ายอาหารทุกเดือน ผู้ลี้ภัยที่ท�างานกับองค์กร
               ต่าง ๆ ก็อาจจะมีกิจกรรมการประชุมทั้งภายในและภายนอกค่ายผู้ลี้ภัย




                           ๔. อาหาร และที่อยู่อาศัย



                               องค์กรที่ดูแลเรื่องอาหารและที่อยู่อาศัย คือ TBC โดยการจัดหาสิ่งเหล่านี้ให้กับผู้ลี้ภัยทุกคน ไม่เฉพาะคนที่มีบัตร
               UN เท่านั้น รวมไปถึงผู้เข้ามาใหม่ (new arrival) ที่คณะกรรมการค่ายผู้ลี้ภัยรับทราบ ในช่วง ๔-๕ ปีที่แล้ว คนเหล่านี้จะได้รับการจัดสรร

               ข้าวสาร ๑๕ กิโลกรัม น�้ามันพืช ๑ ลิตร ถั่วเหลือง ๑ กิโลกรัม เกลือ และถ่านส�าหรับหุงข้าว ในอดีตเคยได้รับแจกพริกด้วย ในช่วงกลางปี
               พ.ศ.๒๕๕๖ เริ่มมีข่าวลือในค่ายผู้ลี้ภัยว่าจะมีการตัดลดอาหารและความช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งน�าไปสู่ความไม่สบายใจของผู้ลี้ภัยว่า การ
               ตัดลดอาหารนี้จะน�าไปสู่การส่งกลับประเทศต้นทางหรือค่ายผู้ลี้ภัยจะปิดลงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ทางตัวแทน TBC ได้ออกมาชี้แจงว่า

               ไม่เกี่ยวข้องกับการส่งกลับ การลดระดับความช่วยเหลือนั้นเป็นเหตุมาจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ราคาสินค้าที่สูงขึ้น และ
               การบริจาคลดลง (Karen News, มิถุนายน ๒๕๕๖) ดังนั้น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ เป็นต้นมา ข้าวสารจะลดลงเหลือ ๘-๑๒

               กิโลกรัมต่อเดือน ขึ้นกับระดับของสุขภาพ และความจ�าเป็นของแต่ละบุคคล สิ่งของต่าง ๆ ก็ได้รับลดลงมาเช่นเดียวกัน ซึ่งย่อมมีผล
               กระทบต่อความเป็นอยู่ แต่ผู้ลี้ภัยก็ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น
                               ผู้ลี้ภัยต้องเอาตัวรอดด้วยการหาพื้นที่ปลูกข้าว ดังจะพบเห็นในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย ซึ่งแม้จะอยู่ในพื้นที่เขต

               ป่าสงวนแต่จะเห็นได้ว่ามีการขยายพื้นที่ท�ากิน กรณีดังกล่าวนี้ ผู้ลี้ภัยคนหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่าตนและภรรยาออกไปท�าไร่ แล้วพบกับ
               เจ้าหน้าที่ไทย  ต่อมา  เขาถูกยึดบัตร  UN  ไป  แม้ว่าเขาจะมีข้อสงสัยว่าท�าไมถึงถูกยึดบัตร  แต่เขาก็ไม่สามารถตั้งค�าถามได้  เพราะ
               สถานภาพที่ถูกจ�ากัดให้อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย  และรอความช่วยเหลือนั้นไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเขาไม่ได้ละเมิดกฎระเบียบนั้น  แต่เขาก็มีค�าถามว่า

               แล้วจะให้เขาและครอบครัวมีชีวิตรอดได้อย่างไรภายใต้ข้อจ�ากัดเหล่านี้ ถ้าเขาไม่ปลูกข้าว
                               การดิ้นรนและความพยายามอยู่รอดของผู้ลี้ภัย ยังเห็นได้ในกรณีค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพที่ผู้น�าคนหนึ่งได้ขอพื้นที่จาก
               ทางราชการไทยท�าสวนเกษตรผสมผสาน  เลี้ยงปลา  ผักต่าง  ๆ  เพื่อเลี้ยงตนเอง  ครอบครัว  รวมไปถึงเด็กนักเรียนที่อยู่ในหอพักด้วย

               ปัจจุบัน ผู้น�าคนนี้ได้รับการยอมรับจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และได้จัดฝึกอบรมการท�าเกษตรให้แก่ผู้ลี้ภัยจากค่ายผู้ลี้ภัยอื่น ๆ ด้วย อย่างไร
               ก็ตาม ในค่ายผู้ลี้ภัยหลายแห่ง มีองค์กรระหว่างประเทศ คือ COERR ที่ให้การสนับสนุนผู้ลี้ภัยท�าการเกษตร แต่ก็พบปัญหาว่า ไม่มีพื้นที่

               ส�าหรับการเพาะปลูก นอกจากนี้ เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน ๒๕ ปี กลุ่มคนเหล่านี้ บางคนเกิดในค่ายผู้ลี้ภัย บางคนเพิ่งเคลื่อนย้ายจาก
               ประเทศพม่า/เมียนมาร์มาอาศัยที่ค่ายผู้ลี้ภัย พวกเขาไม่มีประสบการณ์การเพาะปลูก ขาดความช�านาญ ดังนั้น การส่งเสริมการท�าเกษตร
               ในพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัย แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลี้ภัยได้ช่วยเหลือตนเอง มีทักษะด้านอาชีพ แต่ก็พบข้อจ�ากัดดังที่ได้กล่าวมา

                               ด้านที่อยู่อาศัย  พบว่าพื้นที่ที่ตั้งค่ายผู้ลี้ภัยอยู่ในเขตป่าสงวนหรือเขตอุทยานแห่งชาติ  จึงเป็นข้อจ�ากัดในการขยาย
               พื้นที่ การก่อสร้างบ้านเรือนไม่มีความแตกต่างด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ทุกหลังคาเรือนจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ บ้านมีใต้ถุนบ้าน หรือ

               สร้างติดพื้นดิน  สร้างด้วยวัสดุธรรมชาติ  แต่ละคนจะได้พื้นที่ปลูกสร้างบ้านประมาณ  ๖๐  ตารางเมตร  หากภายหลังเมื่อลูกหลานมี
               ครอบครัวแล้ว จ�าเป็นต้องขยายครัวเรือนออกมา ก็มักจะสร้างบ้านใกล้ ๆ กับบ้านเดิม ด้วยเหตุนี้จึงท�าให้พื้นที่ว่างในค่ายผู้ลี้ภัยลดน้อยลง
               โดยการสร้างบ้านใหม่นี้จะต้องไปขออนุญาตจากคณะกรรมการค่ายผู้ลี้ภัยก่อน  ในบางกรณีพบว่า  ผู้ที่ไปอยู่ประเทศที่สามแล้วอาจจะให้

               บ้านตนเองแก่ญาติพี่น้อง หรือขายในราคาประมาณ ๓,๐๐๐ บาท หรือแล้วแต่จะตกลงราคากัน




             48                                                                                                                                                                                                                             49
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66