Page 56 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 56

ผู้ลี้ภัยและชีวิตความเป็นอยู่






                            ๒. การจ�าแนกประชากรในค่ายผู้ลี้ภัย



                                  จ�านวนประชากรในค่ายผู้ลี้ภัย

                                  การส�ารวจเพื่อให้ได้จ�านวนประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยของที่แท้จริงแทบจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลส�าคัญ
                  สองประการ

                                  ประการแรก
                                  ผู้ลี้ภัยเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา เมื่อเกิดการสู้รบ หรือการปะทะกันระหว่างกองทัพพม่าและ
                  กองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยก็จะมีการอพยพเข้ามาในค่ายผู้ลี้ภัย ในขณะเดียวกัน ก็มีผู้ลี้ภัยจ�านวนมากที่เดินทางไปประเทศที่สามแล้ว

                  หรือบางคนได้หลบหนีจากค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อออกไปหางานท�า ทั้งๆ ที่ตระหนักดีว่าจะต้องกลายเป็น “ผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย” และต้อง
                  ถูกส่งกลับประเทศต้นทาง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะได้มาซึ่งจ�านวนที่แน่นอนของผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ดี รายงาน

                  ของ KRC ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ปรากฏว่าจ�านวนผู้ลี้ภัย จาก ๗ ค่ายผู้ลี้ภัยที่อยู่ในการดูแลของ KRC มีจ�านวน ๑๐๙,๒๔๓ คน
                  (KRC Newsletter & Monthly Report, June 2015) ทั้งนี้ ไม่นับรวมจ�านวนผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอยและบ้านแม่สุริน
                  ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวคะเรนนี  และพบว่า จ�านวนผู้ลี้ภัยในแต่ละเดือนมีความแตกต่างกัน

                                  ประการที่สอง

                                  ที่ผ่านมามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ส�ารวจและรวบรวมจ�านวนผู้ลี้ภัย ๓ หน่วยงาน คือ กระทรวงมหาดไทย UNHCR
                  และ  TBC  ทั้งสามหน่วยงานต่างเก็บรวบรวมข้อมูลจ�านวนผู้ลี้ภัย  เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน  ดังนั้น  จึงมีจ�านวนตัวเลขไม่เท่ากัน
                  เป็นต้นว่า TBC มีจ�านวนของผู้ลี้ภัยน้อยกว่าจ�านวนของ UNHCR ทั้งนี้เพราะ TBC ใช้จ�านวนของผู้ลี้ภัยที่มีสิทธิในการรับอาหารปันส่วน

                  ด้าน UNHCR ซึ่งมีการส�ารวจจ�านวนผู้ลี้ภัยล่าสุดในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อจ�าแนกผู้ลี้ภัยออกตามประเภทต่างๆ เพื่อการให้สิทธิในการ
                  เดินทางไปประเทศที่สามหรือส่งกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์หรือเลือกที่จะอยู่ในประเทศไทย  แต่อย่างไรก็ดี  ฝ่ายกระทรวงมหาดไทย
                  ได้มีการตรวจสอบข้อมูลกับ UNHCR อยู่เสมอ ทั้งสองหน่วยงานได้ยืนยันว่า ในช่วงกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จ�านวนผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัย

                  ลดลงกว่าเดิมจากที่มีประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน ปัจจุบันจ�านวนรวมผู้ลี้ภัยทั้งหมดน่าจะมีประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ - ๑๔๐,๐๐๐ คน

                                  การจ�าแนกประชากรผู้ลี้ภัย

                                  ในการส�ารวจจ�านวนผู้ลี้ภัย ที่พ�านักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยจ�านวน ๙ แห่ง UNHCR ได้แบ่งประเภทผู้ลี้ภัยออกเป็น ๓ กลุ่ม
                  คือ  ๑)  ผู้หนีภัยจากการสู้รบที่ได้รับการขึ้นทะเบียน  (Registered)  ซึ่งถือบัตรประจ�าตัว  หรือที่เรียกกันในหมู่ผู้ลี้ภัยว่าผู้ที่มีบัตร  UN
                  ๒) ผู้หนีภัยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนประเภท Pre-Screening  และ ๓) ประเภทที่ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับ UNHCR (Unregistered)


                                  ๑) กลุ่มที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับบัตรประจ�าตัว (บัตร UN)
                                    โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่หนีภัยสงครามหรือการเมืองจากประเทศพม่า/เมียนมาร์และมักเป็นผู้ที่พักอาศัยในค่าย

                  ผู้ลี้ภัย ตั้งแต่ค่ายนั้น ๆ เปิดจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๘ คนเหล่านี้จะได้รับบัตร UN ซึ่งเป็นบัตรที่ออกให้โดย UNHCR ผู้ที่มีบัตรดังกล่าวนี้จะมี
                  สิทธิในการสมัครเดินทางไปประเทศที่สาม โดยส่วนใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ฯลฯ ซึ่ง UNHCR

                  ได้ทยอยพิจารณาคุณสมบัติคัดเลือกผู้ที่จะไปประเทศที่สามร่วมกับทางการไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ได้มีการขึ้นทะเบียนคาดว่าน่า
                  จะมีการส่งผู้ลี้ภัยไปแล้วจ�านวน ๙๐,๐๐๐ คน อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตจากผู้พักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยว่า ทั้งที่มีการส่งประชากร
                  ในค่ายผู้ลี้ภัยไปประเทศที่สามแล้ว แต่เหตุใดจ�านวนประชากรจึงไม่ลดลงเท่าจ�านวนที่ส่งไปประเทศที่สาม









 42                                                                                                                  43
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61