Page 27 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 27
บทที่ ๑
อยู่มาก หน่วยงานในค่ายผู้ลี้ภัยนี้มีองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ เช่น UNHCR COERR TBC ADRA องค์กรผู้พิการนานาชาติ
(Handicap International: HI) ฯลฯ รวมทั้งมีองค์กรที่ด�าเนินงานโดยผู้ลี้ภัยด้วย การบริหารจัดการในค่ายผู้ลี้ภัย จะประกอบด้วย
องค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ราชการไทย และองค์กรผู้ลี้ภัย
ค่ายผู้ลี้ภัยนี้มีระบบการศึกษาที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาลไปจนถึงระดับ ๑๐ ระบบการศึกษาที่นี่สอนด้วยภาษา
กะเหรี่ยง พม่า อังกฤษ วิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ จะใช้ต�าราภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ มีต�าราเป็นภาษากะเหรี่ยงและพม่า
เนื่องจากการเรียนการสอนที่นี่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ และการเดินทางมาค่ายผู้ลี้ภัยนี้สะดวกกว่าค่ายอื่น ๆ
จึงท�าให้มีทั้งคนไทย และคนจากฝั่งพม่า/เมียนมาร์ เดินทางมาศึกษาที่โรงเรียนเหล่านี้ ส�าหรับเยาวชนเมื่อเรียนจบเกรด ๑๐ แล้ว
ไม่สามารถน�าวุฒิการศึกษานี้ไปใช้ในระบบการศึกษาทั้งไทยและพม่า/เมียนมาร์ได้ บางคนเลือกเรียนโรงเรียนพระคัมภีร์ เรียนเป็นช่าง
หรือด้านสายอาชีพ บางส่วนก็ไม่ได้เรียนต่อ
ดังได้กล่าวมาข้างต้นว่า ค่ายผู้ลี้ภัยนี้มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจ�านวนมากกว่าค่ายผู้ลี้ภัยอื่น ๆ ณ ที่นี่มีตลาดเรียกว่า ตลาด
กะลา ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่มีความสัมพันธ์กับมุสลิมที่อาศัยอยู่อ�าเภอแม่สอด โดยมีการสั่งซื้อสินค้าระหว่างกัน
มุสลิมแม่สอดจะจัดหาเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัว อาหารแห้ง เสื้อผ้า ตลาดที่นี่นับได้ว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มีสินค้าหลากหลาย
ให้ผู้ลี้ภัยได้เลือกซื้อ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า คนเหล่านี้ได้เงินมาจากที่ใด ทั้งที่ได้รับอาหารปันส่วนจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศเท่านั้น
หรือบางกรณีที่ท�างานกับองค์กรต่าง ๆ ก็ได้รับค่าตอบแทนจ�านวนไม่มากนัก
นับเป็นเวลา ๓๐ ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละได้รับการก่อตั้งจนปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากร
ของค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละ กรณีเช่น นับแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา สัดส่วนประชากรผู้พักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละที่มาจาก
กลุ่มชาติพันธุ์อื่นได้เพิ่มจ�านวนขึ้น ซึ่งได้ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงการจัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้พักอาศัยชาวกะเหรี่ยง ซึ่งมีจ�านวน
มากในค่ายผู้ลี้ภัยกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ดังจะเห็นว่าในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๑ มีสถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในอัตราที่สูงกว่า
ช่วงเวลาอื่นๆ
กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นสมัยใหม่ของค่ายผู้ลี้ภัยเป็นกระบวนการที่ค่ายผู้ลี้ภัยได้ถูกเปิดให้รับเอาระบบหรือแนวความคิด
แบบสมัยใหม่เข้ามาสู่ค่าย โดยองค์กรเพื่อมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้น�าระบบหรือแนวคิดสมัยใหม่มาสู่ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้ เช่น แนวคิด
สิทธิเด็ก หรือกระบวนการยุติธรรมในค่ายผู้ลี้ภัย เป็นต้น ขณะเดียวกันผู้คนในค่ายผู้ลี้ภัยเองก็เป็นหนึ่งในตัวแสดงที่น�าแนวคิดสมัยใหม่
เข้ามาสู่ค่ายผู้ลี้ภัยผ่านเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย ผู้คนที่ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามได้ส่งเงินกลับมาให้ครอบครัว
ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงในค่ายผู้ลี้ภัย ท�าให้สถานะทางเศรษฐกิจของคนในค่ายผู้ลี้ภัยในภาพรวมถูกยกระดับขึ้นอย่างมาก และเปิด
ช่องทางให้ผู้ลี้ภัยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดต่อสื่อสารและรับข้อมูลข่าวสารจากโลกภายนอก การพัฒนาเป็นสมัยใหม่
ของค่ายผู้ลี้ภัยส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงกายภาพ เช่น มีการพัฒนาถนนเป็นคอนกรีต สิ่งปลูกสร้างใหม่และยังส่งผลให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในระบบคิดของผู้คน ด้วยความที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย และเด็กเยาวชนก็เป็นคนรุ่นหนึ่งที่มีความเปิดกว้าง
ต่อการเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การรับสื่อเทคโนโลยีท�าให้ชีวิตของเด็กที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกภายนอก
อย่างแนบชิด เยาวชนในค่ายผู้ลี้ภัยรับเอาค่านิยมและมาตรฐานการด�าเนินชีวิตของผู้คนในโลกนอกค่ายผู้ลี้ภัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ
ชีวิตตน เช่น การอยากมีการศึกษาสูง การอยากมีอาชีพที่ดี การน�าเรื่องราวของตัวเองลง Facebook ให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เยาวชนเหล่านี้ด�าเนินชีวิตอยู่ในโลกของค่ายผู้ลี้ภัยที่มีระเบียบอีกรูปแบบพันธนาการการเคลื่อนไหวที่จะผลักดัน
ให้ความคาดหวังของพวกเขาและเธอเป็นรูปธรรม ช่องว่างใหญ่หลวงระหว่างความคาดหวังกับชีวิตที่เป็นจริงในค่ายผู้ลี้ภัยจึงส่งผลต่อ
สภาพจิตใจของเด็กเยาวชนในค่ายผู้ลี้ภัย เยาวชนบางส่วนเกิดความซึมเศร้า ท้อแท้และรู้สึกว่าอนาคตของพวกเขาไร้ความหวัง
14 15
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว