Page 31 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 31

บทที่ ๑




































                       ง. ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน อ�าเภอสวนผึ้ง

                         แม้ว่าค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้จะอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุด แต่การเดินทางเข้าออกค่ายผู้ลี้ภัยนี้ไม่สะดวกสบาย ไม่เหมือนกับค่าย
               ผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละกับค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพที่ตั้งอยู่ริมถนน  มีรถโดยสารประจ�าทางผ่าน  ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหินเป็นค่ายขนาดเล็ก  มีประชากร

               ประมาณ ๘,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงที่มาจากเมืองทะวาย เมืองมิตตา หรือบริเวณชายแดนแม่น�้าทะนินยะริน (Thanintyarin)
               หรือตะนาวศรี ซึ่งอยู่ในการดูแลของกองพลที่ ๔ ของ KNU
                         สถานการณ์ที่ท�าให้ประชากรจากประเทศพม่า/เมียนมาร์หลั่งไหลกันเข้ามาสู่ค่ายผู้ลี้ภัยนี้  เริ่มขึ้นในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๘

               ซึ่งค่ายมาเนอปลอว์ได้ถูกตีแตก  และฐานที่มั่นของกองพลที่  ๔  ในเขตมะริด  ทวายของ  KNU  ก็แตก  ในช่วงแรกผู้อพยพจะอาศัยอยู่
               บริเวณแนวชายแดน เช่น ห้วยสุด กระบองอี้ หรือบางส่วนก็เข้ามาหลบหนีที่ด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ทางการของไทยได้จัดตั้ง
               ค่ายผู้ลี้ภัยห้วยสุดและห้วยคอกหมู ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้อพยพคนเหล่านี้ให้ไปอยู่รวมกันในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน

                         ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ กลุ่มนักศึกษาพม่าจากบ้านมณีลอยได้เข้าไปบุกยึดสถานฑูตพม่าในไทย โดยได้ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลพม่า
               ปล่อยตัวนางอองซานซูจี แต่ข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการตอบรับ หลังจากนั้นเพียงปีเดียว ทหารของพระเจ้าหรือที่เรียกว่า ก๊อดอามี่ (God’s

               Army)  ซึ่งมีทั้งนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ที่บ้านมณีลอย  และกองก�าลังกะเหรี่ยงชายแดนจ�านวน  ๑๐  คน  ได้เข้ายึดโรงพยาบาลราชบุรี
               เพียงต้องการขอให้แพทย์และพยาบาล พร้อมทั้งเวชภัณฑ์เพื่อไปรักษากองก�าลังของตนและชาวบ้านที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบกับ
               ทหารพม่า แต่ไม่ส�าเร็จ และก๊อดอามี่ก็ถูกทางการไทยสังหารหมดทั้ง ๑๐ คน ขณะที่การสู้รบบริเวณชายแดนระหว่างกองก�าลังชนกลุ่มน้อย

               กับทหารพม่ายังด�าเนินการอย่างต่อเนื่อง ต่อมา ก๊อดอามี่ก็ถูกกวาดล้างอย่างหนักจนท�าให้ต้องมอบตัวกับทางการไทย จึงถูกส่งไปอยู่ที่
               ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านต้นยาง อ�าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อีกส่วนหนึ่งส่งไปอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน ขณะที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านมณีลอย
               นั้นก็ถูกยุบให้ไปอยู่รวมกันที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งคนกลุ่มนี้ถูกจัดเป็นบุคคลในความห่วงใย (People of

               Concern: POC) ตามนิยามของ UNHCR
                         ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน มีพื้นที่ ๔๐ ไร่ มีล�าห้วยน�้าขุ่นไหลผ่าน การจัดตั้งบ้านเรือนได้แบ่งเป็น ๔ โซน ๑๖ เขต โดยให้ผู้ที่มาจาก
               ที่เดียวกันได้อยู่ร่วมกัน ดังนี้ โซน ๑ เป็นที่พักอาศัยของผู้ที่มาจากค่ายผู้ลี้ภัยห้วยคอกหมู โซน ๒ ส�าหรับผู้ที่มาจากค่ายผู้ลี้ภัยห้วยสุด

               โซน ๓ ส�าหรับผู้ที่เดินทางมาจากค่ายผู้ลี้ภัยบ้านพุม่วง อ�าเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โซน ๔ ได้แก่ ผู้ที่เดินทางมาจากศูนย์
               นักศึกษาพม่าบ้านมณีลอย อ�าเภอปากท่อ และ POC ที่รับใหม่ โดยผู้อาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยนี้เป็นชาวกะเหรี่ยงสกอร์ และโปว์ พม่า มอญ

               การสร้างบ้านเรือนในค่ายผู้ลี้ภัยนี้ก็เช่นเดียวกับค่ายผู้ลี้ภัยอื่น ๆ ที่สร้างด้วยวัสดุธรรมชาติ โดยได้รับวัสดุเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมบ้านปีละ
               ครั้งจาก TBC แต่ที่สังเกตเห็นแตกต่างจากค่ายผู้ลี้ภัยอื่น คือ บ้านส่วนใหญ่จะมีพลาสติกคลุมทับหลังคาบ้าน บางหลังคาเรือนจะพบเห็น

             18                                                                                                                                                                                                                             19
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36