Page 25 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 25

บทที่ ๑



                           จากแผนที่จะเห็นว่า ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอยอยู่ติดชายแดนพม่าทางฝั่งรัฐคะยาห์ หรือรัฐคะเรนนี (Karenni State)
               ส่วนค่ายผู้ลี้ภัยที่เหลืออีก ๓ แห่ง คือ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ บ้านนุโพ และบ้านถ�้าหินอยู่ติดกับรัฐคะเรน (Karen State) หรือรัฐคะยิน

               (Kayin  State)  ด้วยเหตุนี้จึงท�าให้ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง  ๔  คือ  กลุ่มชาติพันธุ์ที่มาจากรัฐทั้งสองเป็นหลัก  ดังเช่น
               ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย  ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชาวคะยา  คะยัน  และคะยอเป็นส่วนใหญ่  และค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ  บ้านแม่หละและ
               บ้านถ�้าหินมีผู้ลี้ภัยเป็นชาวกะเหรี่ยงเป็นส่วนใหญ่  นอกจากนี้  ยังพบว่าบริเวณชายแดนฝั่งพม่า/เมียนมาร์  ยังมีที่พักพิงส�าหรับผู้พลัดถิ่น

               ภายในประเทศ (Internally Displaced Person: IDP) อยู่อีกหลายแห่ง คนเหล่านี้จะเคลื่อนย้ายมาสู่ชายแดนไทยเมื่อมีความขัดแย้ง
               ระหว่างทหารพม่ากับทหารชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ซึ่งอาจจะมาอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยฝั่งไทยหรืออยู่ร่วมกับญาติพี่น้องที่ฝั่งไทย
                           ตามแนวชายแดนไทย - พม่า/เมียนมาร์นี้ ยังมีกองก�าลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (Democratic Karen Buddhist

               Army: DKBA) KNU KnPP ในช่วงเวลา ๓ - ๔ ปีที่ผ่านมา มักจะมีการปะทะกันระหว่างกองก�าลัง KNU กับกองทหารพม่า หรือกับ
               กองก�าลัง  DKBA  เป็นเหตุให้มีชาวบ้านอพยพหนีภัยจากการสู้รบเข้ามาฝั่งไทย  ขณะเดียวกันกองก�าลัง  KnPP  ซึ่งอยู่ในพื้นที่แต่ไม่มี

               รายงานว่ามีการปะทะกับกองทหารพม่า กองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพื้นที่ชายแดน ธุรกิจชายแดน
               รวมไปถึงความมั่นคงปลอดภัยของผู้ลี้ภัยในการตัดสินใจกลับบ้านเกิดของตนเอง




                                       Locally defined Northern and Central Karen Districts


















































                                                  ภาพที่ ๒ แผนที่แสดงฐานกองก�าลัง KNU
                                                 ที่มา: Karen Human Rights Group (KHRG)



             12                                                                                                                                                                                                                             13
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30