Page 32 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 32

ความเป็นมาและวิธีการศึกษา


                  พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในบริเวณบ้าน  เมื่อเดินตามถนนสายหลักซึ่งเป็นดินลูกรัง  ในฤดูฝนจะเฉอะแฉะมาก

                  เดินล�าบาก ในแต่ละเขตจะค่อนข้างอยู่ชิดติดกันแต่ก็ค่อนข้างสะอาด มีร้านค้าขนาดเล็กและกลางกระจายทั่วไป สินค้าที่ขายส่วนใหญ่
                  เป็นขนม อาหารแห้ง เช่น ปลากระป๋อง น�้ามันพืช บะหมี่ส�าเร็จรูป น�้าหวาน โดยเฉพาะขนมเด็กจะพบมาก
                            หัวหน้าค่ายผู้ลี้ภัยเป็นชาวกะเหรี่ยงเช่นเดียวกัน การดูแลความเรียบร้อยจะแบ่งเป็นเขต แต่ละเขตจะมีคณะกรรมการ

                  ค่ายผู้ลี้ภัยดูแล ๒ คน คนหนึ่งดูแลเรื่องการแจกจ่ายอาหาร อีกคนหนึ่งดูแลเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการบริหาร
                  ค่ายผู้ลี้ภัยอีก ๑๕ คน แบ่งเป็นประธาน รองประธาน และกรรมการ มีหน้าที่ดูแลด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ และความเรียบร้อยอื่น ๆ

                  การจัดรูปแบบองค์กรนี้เหมือนกับค่ายผู้ลี้ภัยอื่น  ๆ  โดยอยู่ภายใต้  KRC  ในแต่ละเดือนจะนัดประชุมกันที่อ�าเภอแม่สอด  จังหวัดตาก
                  การบริหารจัดการในค่ายผู้ลี้ภัยยังได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ได้แก่ ส�านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย
                  แห่งสหประชาชาติ (The United Nations High Commissioner for Refugees: UNHCR) IRC COERR ADRA ส�านักงานเพื่อการ

                  พัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย (Australian Agency for International Development: AUSAID) เป็นต้น และองค์กรที่
                  ด�าเนินการโดยผู้ลี้ภัยเอง เช่น องค์กรเยาวชนกะเหรี่ยง (Karen Youth Organization: KYO) KWO และ KRC องค์กรเหล่านี้จะช่วย

                  เหลือสงเคราะห์ และส่งเสริมด้านสิทธิ การฝึกอบรมด้านอาชีพต่าง ๆ เป็นต้น
                            ชีวิตความเป็นอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยนี้ก็คล้ายคลึงกับที่อื่น ๆ คือ การถูกลดอาหารปันส่วน ผู้ลี้ภัยห้ามเดินทางออกนอกค่ายผู้ลี้ภัย
                  โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มีไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ในแต่ละสัปดาห์จะมีตลาดนัดหน้าค่ายผู้ลี้ภัย ในวันเสาร์ แม่ค้าจะ

                  เป็นทั้งคนที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย จากราชบุรี จากบ้านตะโกล่าง อ�าเภอสวนผึ้ง สินค้าที่ขายเป็นอาหารสด ของใช้ เสื้อผ้า เป็นต้น ตลาดนัด
                  จึงเป็นพื้นที่ที่อาจจะท�าให้ผู้ลี้ภัยได้หลุดพ้นจากชีวิตที่จ�าเจบ้าง
                            จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นพบว่า มีลักษณะความสัมพันธ์แบบเครือญาติระหว่างผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน

                  กับชาวบ้านตะโกล่าง ต�าบลสวนผึ้ง อ�าเภอสวนผึ้ง อยู่ห่างจากค่ายผู้ลี้ภัยประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ผู้ลี้ภัยบางส่วนจะออกมารับจ้างที่นี่
                  หรือบางทีก็ไปรับจ้างที่รีสอร์ทในอ�าเภอสวนผึ้ง  งานประมงที่สมุทรสงคราม  หรือเป็นแรงงานที่สมุทรปราการ  โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย
                  ที่เดินทางออกไปท�างานข้างนอก แต่ก็เสี่ยงถูกจับ จึงท�าให้ต้องด�าเนินชีวิตอยู่ภายในพื้นที่ที่จ�ากัดนี้ ผลที่ตามมาประการหนึ่ง คือ ผู้ชาย

                  ในวัยท�างานจะเครียด เนื่องจากไม่สามารถท�างานรับผิดชอบครอบครัวได้ทั้งที่ตนเองมีความสามารถ ขณะที่ผู้หญิงก็มีความคาดหวังว่า
                  จะมีอนาคตที่ดีกว่าเดิมหลังการแต่งงาน  สิ่งเหล่านี้ได้ท�าให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว  โดยฝ่ายชายจะหาทางออกด้วยการดื่ม

                  สุรา เมื่อเมาแล้วก็ควบคุมตนเองไม่ได้ จึงน�าไปสู่การท�าร้ายร่างกายภรรยา ในกรณีการท�าร้ายร่างกายกันนั้นจะมีการแยกชาย หญิงออก
                  จากกันชั่วคราวโดยผู้หญิงจะไปเก็บตัวอยู่ที่ safe house เพื่อเยียวยาด้านจิตใจ จากการสนทนากลุ่มพบว่า มีเด็กพิการจ�านวนหนึ่งที่มี
                  สาเหตุจากแม่ตั้งใจท�าแท้งแต่ไม่ส�าเร็จ

                            แม้ว่าภายในค่ายผู้ลี้ภัยจะมีการจัดการศึกษาให้ในระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และวิทยาลัย รวมไปถึง
                  การศึกษาพิเศษ (Special Education) แต่ก็พบปัญหา ดังที่ผู้ลี้ภัยคนหนึ่งได้บอกว่าเด็กๆ ไม่รู้ว่าจะเรียนต่อที่ไหน ทุนการศึกษาก็ไม่มี

                  มีการส่งเสริมเรื่องเช่าที่ดินท�าการเกษตร ส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงหมู เรื่องสุขภาพ แต่เรื่องการเลี้ยงหมู ต้องน�าเงินมาใช้คืน ความเป็น
                  อยู่ล�าบาก  ในปัจจุบันองค์กรได้ลดการให้ของใช้บางส่วน  เราไม่มีเงินและเรายังมีปัญหาเรื่องสถานที่ไม่พอเพียง  บางองค์กรให้การ
                  สนับสนุนเรื่องเกษตรแต่ไม่มีที่ดินท�าการเกษตร  ให้เราเรียนรู้และมีความรู้  แต่ความรู้ก็สูญหายไป  อาชีพก็ไม่เกิด  ในวันนี้ในค่ายผู้ลี้ภัย

                  มีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย เราได้คนละแปดศอก แต่ครอบครัวเยอะขึ้นและเราขุดหลุมท�าส้วม มันแออัด เกิดมลพิษ บางครอบครัวมีลูก
                  ๗  คน  จะสร้างบ้านใหม่ก็ไม่ได้  ถ้าแต่งงานเอาสะใภ้หรือลูกเขยมาอยู่ก็แออัด  บ้านเก่าได้รับการปรับปรุงได้ผ้าใบมาสองผืน  ไม่พอ
                  มุงหลังคา ถ้าเป็นไปได้จริงๆ เราอยากได้กว้างขึ้น เราขุดส้วมเป็นหลุมจนบ้านจะพังแล้ว ปัญหาอีกส่วนหนึ่ง เรื่องบัตร ต�ารวจจับได้ก็

                  จะเรียกเงินอย่างเดียว ที่ผ่านมา UN จะประสานงานให้ประกัน แต่ต่อมา UN ไม่ให้ความช่วยเหลือแล้วหากถูกจับเพื่อลดการออกไป
                  ท�างานข้างนอก และการช่วยเหลือก็น้อยลง ความต้องการการท�างาน โอกาสก็ไม่มี ในแต่ละแคมป์โอกาสไม่เหมือนกัน
                            ประชากรที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยนี้จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกองพลที่ ๔ ของ KNU อาจจะกล่าวได้ว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อยู่ใน

                  อาณาเขตพื้นที่อิทธิพลของ KNU มาก่อน




 18                                                                                                                  19
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37