Page 22 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 22
ความเป็นมาและวิธีการศึกษา
๓.๒ การเก็บข้อมูลในค่ายผู้ลี้ภัย ประกอบด้วยขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้
ก. คณะผู้วิจัย การด�าเนินงานวิจัยนี้ได้แบ่งทีมนักวิจัยออกเป็น ๒ คณะ คือ
• คณะแรก รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ โดยมีนักวิจัยหลัก คือ ดร.เดชา ตั้งสีฟ้า อาจารย์
ประจ�าจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีประสบการณ์และคุ้นเคยกับค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้เป็น
อย่างดี
• คณะที่สอง รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน และค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่
ในสอย โดยมีนักวิจัยหลักร่วมรับผิดชอบทั้งสามค่าย คือ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ และ ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร
จากศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ แต่ละคณะจะมี
นักวิจัยสนาม จ�านวน ๑ คน และมีนักวิจัยประสานงานโครงการ จ�านวน ๑ คน
ข. การเตรียมการ
ก่อนเริ่มโครงการวิจัยฯ คณะผู้วิจัยได้แนะน�าโครงการวิจัยกับองค์กรภาคประชาสังคมผู้ลี้ภัย ได้แก่ คณะกรรมการ
ผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยงแดง (Karenni Refugee Committee: KnRC) คณะกรรมการผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยง (Karen Refugee Committee: KRC)
องค์กรผู้หญิงกะเหรี่ยง (Karen Women Organization: KWO) Burma Partnership (BP) วิทยาลัยชุมชนกะเหรี่ยงแดง (Karenni
Community College: KnCC) นอกจากนี้ ได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการด�าเนินงานโครงการวิจัยฯ และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็น
ทางการเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของค่ายผู้ลี้ภัย รวมทั้งลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมของผู้ลี้ภัย บทบาทขององค์กรเหล่านี้ต่อผู้ลี้ภัย ปัญหา
อุปสรรคต่าง ๆ
ค. การเก็บข้อมูล
ช่วงเริ่มต้น โครงการวิจัยฯ นี้ได้วางแนวทางการเก็บข้อมูลไว้โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัย โครงการวิจัยฯ
ต้องการรับฟังข้อคิดเห็น ความเป็นห่วงกังวล ความต้องการ ปัญหา และความวิตกกังวลของผู้ลี้ภัยในกรณีที่ต้องกลับประเทศพม่า/
เมียนมาร์ โดยให้ผู้ลี้ภัยมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อคิดเห็นและเสนอแนวทางเลือก ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ขอให้ส�านักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติช่วยประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอให้อ�านวยความสะดวกในการเก็บข้อมูลในค่ายผู้ลี้ภัยที่เลือก
ไว้ทั้ง ๔ ค่าย แต่กระทรวงมหาดไทยไม่สามารถเอื้ออ�านวยความสะดวกได้ ดังนั้น จึงท�าให้โครงการวิจัยฯ จ�าเป็นต้องปรับเปลี่ยนค�าถาม
การวิจัย และวิธีการเก็บข้อมูล โดยเปลี่ยนจากการรับฟังข้อคิดเห็น หรือการเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัย ซึ่งคณะผู้วิจัยเป็นผู้เก็บข้อมูล
จากผู้ลี้ภัยโดยตรง ไปสู่การอบรมให้ผู้ช่วยนักวิจัยสนามเป็นผู้เก็บข้อมูลแทน ผู้ช่วยนักวิจัยสนามเหล่านี้เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ
ค่ายผู้ลี้ภัย มีความสามารถด้านภาษา และเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยฯ แต่อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยทั้งสองคณะก็ยังใช้วิธีการ
สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant Interview) เพื่อเก็บข้อมูลในด้านต่างๆ และสัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งที่สามารถออกมา
ประชุมข้างนอกค่ายผู้ลี้ภัยกับองค์กรต่าง ๆ ดังนั้น วิธีการเก็บข้อมูล จึงประกอบด้วย
(๑) การเก็บข้อมูลภายในค่ายผู้ลี้ภัยโดยผู้ช่วยนักวิจัยสนาม
ผู้ช่วยนักวิจัยสนามนี้จะได้รับการฝึกอบรมประมาณ ๓ - ๕ วัน เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ หลักการ
และวิธีการเก็บข้อมูล ค�าถามการวิจัย ในการอบรมยังเน้นว่าให้ด�าเนินการเก็บข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ให้หลีกเลี่ยงการน�าแนวค�าถาม
มาเปิดอ่าน หลีกเลี่ยงการถามเพียงฝ่ายเดียว แต่ให้ด�าเนินการเสมือนการสนทนา เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ถูกวิจัย โดยการเปิดโอกาส
ให้มีการซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือเลือกที่จะตอบหรือไม่ตอบบางค�าถามก็ได้ ในการอบรมนี้ คณะผู้วิจัยต้องใช้ภาษาอังกฤษ
หรือพม่าในการสื่อสาร และมีการแปลสรุป เปิดโอกาสให้ซักถามเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจประเด็นส�าคัญ
และวิธีการเก็บข้อมูลอย่างดี
นอกจากนี้ ผู้ช่วยนักวิจัยสนามจะต้องมีความละเอียดอ่อนต่อข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัย
กับผู้ถูกวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวค�าถามเกี่ยวกับการส่งกลับไปประเทศต้นทาง ผู้ช่วยนักวิจัยสนามจะต้องสร้างความไว้วางใจและ
ความเชื่อมั่นว่า ผู้ถูกวิจัยจะไม่ได้รับผลกระทบความเดือดร้อนจากการให้ข้อมูล แต่ต้องท�าให้เห็นว่าข้อมูลที่ได้มานี้จะเป็นประโยชน์
ต่อการก�าหนดนโยบายของรัฐต่อผู้ลี้ภัย ดังนั้น การเก็บข้อมูลโดยผู้ช่วยนักวิจัยสนามนี้จึงมีความส�าคัญอย่างยิ่ง
8 9
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว