Page 26 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 26
ความเป็นมาและวิธีการศึกษา
ตามภาพที่ ๒ จะเห็นว่ากองก�าลัง KNU กระจายอยู่บริเวณชายแดนไทย – พม่า/เมียนมาร์ ในด้านทิศตะวันตกของไทย
ตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมาจนถึงจังหวัดราชบุรี กรณีจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้นมีรัฐคะเรนนีอยู่ชิดกับชายแดนไทยมากกว่า ดังนั้น พื้นที่
บริเวณนี้จึงอยู่ในความดูแลของ KnPP ผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย และบ้านแม่สุริน จึงเป็นผู้ที่หลบหนีภัยการสู้รบจากรัฐคะเรนนี ขณะที่
กองพลที่ ๖ และ ๗ KNU รวมทั้งกองก�าลัง DKBA จะอยู่ขนานไปกับค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ บ้านอุ้มเปี้ยม และบ้านนุโพตามล�าดับ
ส่วนกองพลที่ ๔ KNU จะอยู่แนวชายแดนฝั่งตรงข้ามค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน ความใกล้ชิดด้านพื้นที่นี้ จึงท�าให้ทหาร KNU DKBA และ
KnPP รวมทั้งครอบครัวได้หนีภัยการต่อสู้เข้ามาพักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยใกล้เคียงด้วย นอกจากนั้น ยังพบว่ามีอดีตทหารจากกองก�าลัง
เหล่านี้อาศัยอยู่ค่ายผู้ลี้ภัยเช่นเดียวกัน
ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่วิจัย
ก. ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ
ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ หรือที่ราชการเรียกว่า “พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ” นั้นถือว่าเป็น “ค่ายผู้ลี้ภัย” ที่มีขนาด
ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่บนพื้นที่ ๑,๑๕๐ ไร่ในอ�าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละมีจ�านวนผู้หนีภัยจากการสู้รบ
ประมาณ ๔๓,๗๑๕ คน ซึ่งเป็นตัวเลขอย่างเป็นทางการล่าสุดที่ได้ท�าการส�ารวจไว้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยประชากร
ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงร้อยละ ๘๐ เป็นชาวมุสลิมร้อยละ ๑๕ ที่เหลือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อย่างไรก็ดี ในอดีต ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ
เคยเป็นที่พักพิงให้ผู้คนมากถึง ๖๐,๐๐๐ คน โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองพม่ายังเต็มไปด้วยความตึงเครียดและไม่ได้มี
ความผ่อนคลายมากเท่าในปัจจุบัน
นอกจากความกว้างใหญ่ของพื้นที่แล้ว ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละยังถือเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ค่ายผู้ลี้
ภัยบ้านแม่หละก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จากนโยบายของรัฐไทยที่ให้มีการยุบรวมพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณโดยรอบมาอยู่รวมกัน
ในที่เดียวกัน โดยเหตุผลด้านความมั่นคงและความง่ายต่อการบริหารจัดการ
ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ ตั้งอยู่ริมทางหลวง
หมายเลข ๑๐๕ แม่สอด - แม่สะเรียงมีลวดหนามกั้นพื้นที่
ระหว่างภายในและภายนอก ลักษณะของพื้นที่เป็นเนินเขา
สูงต�่า มีล�าห้วยแม่ผารูไหลผ่าน ค่ายผู้ลี้ภัยนี้ยังอยู่ห่างจาก
ชายแดนเพียง ๕ กิโลเมตร ด้วยลักษณะกายภาพดังกล่าวนี้
จึงท�าให้มีประชากรทั้งจากค่ายผู้ลี้ภัยเดินทางออก และมี
ประชากรจากฝั่งพม่าเดินทางเข้ามา จึงท�าให้จ�านวน
ประชากรของค่ายผู้ลี้ภัยนี้ไม่ค่อยนิ่ง และท�าให้ค่ายผู้ลี้ภัยนี้
ต้องมีการประชุมเพื่อแก้ปัญหาอย่างเด็ดขาด เช่น การตัด
ออกจากทะเบียนการรับอาหารปันส่วน การผลักดันกลับ
ประเทศต้นทาง รวมไปถึงการด�าเนินการตามกฎหมายไทย
ค่ายผู้ลี้ภัยนี้ ได้แบ่งพื้นที่เป็น ๓ โซน คือ A, B และ C แต่ละโซนจะแบ่งออกมาเป็น ๕ เขต (Section) โซน A จะเป็นที่พัก
ของอดีตนายทหาร KNU ประชากรเกือบทั้งหมดเป็นกะเหรี่ยงโปว์ และสกอร์ โซน B มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด และมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัย
อยู่ดังนี้ มุสลิม พม่า และกะเหรี่ยงอดีต DKBA โซน C เป็นส่วนที่มีความแออัด เป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ตลาด และมีมุสลิมอาศัย
12 13
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว