Page 24 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 24
ความเป็นมาและวิธีการศึกษา
๔. ระยะเวลาด�าเนินการ แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ
ช่วงแรก คือ เดือนกันยายน ๒๕๕๖ - ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นช่วงที่โครงการวิจัยฯ รอการพิจารณาจากกระทรวงมหาดไทย
เพื่อด�าเนินการวิจัยในค่ายผู้ลี้ภัย ซึ่งคณะอนุกรรมการด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้น
เมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย ในช่วงนี้โครงการวิจัยฯ ได้เก็บข้อมูลโดยการ
สัมภาษณ์องค์กรผู้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสถานการณ์ชายแดน รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณชายแดนด้วย
ช่วงที่สอง คือ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ - กรกฎาคม ๒๕๕๘ ได้ปรับแผนการด�าเนินงาน ภายหลังจากที่ได้รับแจ้งจาก
ตัวแทนคณะอนุกรรมการด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง ว่ากระทรวงมหาดไทย
ไม่อนุญาตให้นักวิจัยฯ เข้าไปเก็บข้อมูลในค่ายผู้ลี้ภัย ด้วยเหตุผลว่า เป็น “พื้นที่ควบคุมพิเศษเฉพาะ” ดังนั้น โครงการวิจัยฯ จึงต้องปรับ
ค�าถามการวิจัย ขั้นตอนและวิธีการเก็บข้อมูล
๕. ค่ายผู้ลี้ภัย และข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่วิจัย
ภาพที่ ๑ แผนที่แสดงที่ตั้งค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์
ที่มา: Karen Refugee Committee Newsletter and Activities Report May, 2015
10 11
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว