Page 28 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 28
ความเป็นมาและวิธีการศึกษา
ข. ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอ�าเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน การเดินทางไปค่ายผู้ลี้ภัยนี้จะต้องผ่านหมู่บ้านใหม่ในสอย
และหมู่บ้านโดขิตะ (Dokhita) พื้นที่ทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์กัน คือ หมู่บ้านใหม่ในสอยเป็นหมู่บ้านทางการ ประชากรส่วนใหญ่
เป็นชาวไทใหญ่ มีอาชีพด้านเกษตร และต้องการแรงงานจ�านวนมากในฤดูเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว กับทั้งยังมีร้านค้าจ�าหน่ายเครื่อง
อุปโภคบริโภค ขายโทรศัพท์มือถือ และ Sim Card หลายร้าน ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอยมักจะเดินทางออกมาเป็น
แรงงานรับจ้างที่หมู่บ้านในสอย หรือมาซื้อสินค้าจ�าเป็นต่างๆ บางส่วนก็มีความสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องกัน ส่วนหมู่บ้านโดขิตะเป็น
หย่อมบ้านหนึ่งของหมู่บ้านในสอย เป็นที่อยู่อาศัยของทหารผ่านศึกชาวคะเรนนีที่สังกัดกับ KnPP เป็นที่ตั้งของส�านักงานของ KnCC
รวมทั้งส�านักงานของ KnWO และส�านักงานของ Kantharawady News
ค่ายผู้ลี้ภัยนี้เป็นค่ายขนาดกลาง จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หลังจากมีการยุบรวมค่ายผู้ลี้ภัยขนาดเล็กที่เรียงรายบริเวณ
ชายแดนให้มาอยู่รวมกันที่นี่ ค่ายผู้ลี้ภัยนี้ถูกเรียกโดยผู้ลี้ภัยและชาวบ้านใกล้เคียงว่า แคมป์ ๑ มีประชากรประมาณ ๑๑,๕๐๐ คน
แบ่งออกเป็น ๒๐ เขต ประชากรส่วนใหญ่ คือ คะยาห์ (Kayah) คะยัน (Kayan) คะยอ (Kayaw) และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นกลุ่มย่อย
(Sub-group) เช่น ปะกู (Paku) ปะโอ (Pa-O) บะเว (Bweh) และยินตะเลย์ (Yin Ta Leh) นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มไตหรือไทใหญ่ (Shan)
ที่อาศัยอยู่ในเขต ๔ เป็นส่วนใหญ่ ผู้ลี้ภัยที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายนี้ จะอาศัยอยู่รวมกันในแต่ละเขต บริเวณด้านหน้าของค่าย
ผู้ลี้ภัยนี้จะมีร้านค้าประมาณ ๑๕ ร้าน ขายเสื้อผ้า ผัก ผลไม้ อาหาร เครื่องส�าอาง เป็นต้น ร้านเหล่านี้เป็นของชาวบ้านบ้านใหม่ในสอย
และคนในเมืองแม่ฮ่องสอน เจ้าของร้านค้ารายย่อยในค่ายผู้ลี้ภัยจะออกมาซื้อของหรือสั่งของจากร้านค้าเหล่านี้เพื่อน�าไปจ�าหน่ายใน
ค่ายผู้ลี้ภัย รวมทั้งผู้ลี้ภัยก็มักจะมาซื้อของจากร้านค้าเหล่านี้เช่นกัน
พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้ครอบคลุมเนื้อที่กว้างขวาง บางส่วนเป็นเนินสูง มีบริเวณที่สามารถปรับเป็นที่สร้างเป็น
บ้านพักชั่วคราวได้ หรือเป็นพื้นที่ป่า และบางส่วนพอจะท�าเป็นแปลงปลูกข้าวหรือผักได้บ้าง บางส่วนอยู่ที่ราบ มีล�าห้วยไหลผ่าน มีพื้นที่
พอที่จะใช้สร้างเป็นที่เลี้ยงหมู หรือปลูกผักได้ บ้านพักของผู้ลี้ภัยสร้างขึ้นด้วยวัสดุตามธรรมชาติ หลังคามุงด้วยใบตองตึง สร้างติดต่อกัน
จนบางแห่งมีเพียงทางเดินแคบๆ ที่พอจะผ่านไปได้ ความแออัดยัดเยียดและวัสดุที่สร้างบ้านนี้ท�าให้เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะลุกลามไปอย่าง
รวดเร็ว ดังเช่นในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๘ ได้เกิดเพลิงไหม้บ้านเรือน ๑๘๙ หลังคาเรือน
14 15
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว