Page 29 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 29

บทที่ ๑




                         บ้านบางหลังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ที่ฝาผนังบ้าน ในแต่ละเขตจะมีถนนเส้นหลัก
               ตัดผ่าน ผู้ลี้ภัยที่มีบ้านพักตั้งอยู่ริมถนน จะนิยมเปิดหน้าบ้านเป็นร้านค้าขายสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใช้สอยในชีวิตประจ�าวัน เช่น ผงซักฟอก

               ยาสระผมขนาดซอง ของใช้ในบ้านที่ท�าจากพลาสติก เสื้อผ้า ยังมีพวกผักและผลไม้ เช่น แตง ฟักทอง กล้วย แตงโม ขนม หมาก เกลือ
               บางร้าน ขายเหล้าพื้นบ้าน น�้าแข็งไส น�้าหวาน น�้าอัดลม ขนมส�าหรับเด็ก  มีตู้แช่ขายพวกอาหารสด เช่น ปลา เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า
               ร้านค้า ประเภทนี้มีอยู่เป็นจ�านวนมาก นอกจากบ้านพักอาศัยและร้านค้าแล้ว จะพบพื้นที่พิธีกรรมของชาวคะเรนนี มีสัญญลักษณ์ คือ

               เสาไม้ปักอยู่ตรงกลาง ที่เรียกว่า เกทอโบ (Kay Toh Boh) รวมทั้งพื้นที่ประกอบพิธีกรรมศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ โบสถ์ และวัด
                         ภายในค่ายผู้ลี้ภัยนี้จะมีหน่วยงานทั้งที่ด�าเนินการโดยผู้ลี้ภัยเองและองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ ซึ่งมีส�านักงานสาขา
               ในค่ายผู้ลี้ภัยและผู้ลี้ภัยเป็นผู้ประสานงานหรือปฏิบัติงาน เช่น เป็นเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ด้านเกษตร

               เป็นต้น องค์กรเอกชนระหว่างประเทศเหล่านี้ ได้แก่ UNHCR Workstation Entrepreneur Development Grants Saving and Loan
               Program (EDGSL) สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (The Planned
               Parenthood Association of Thailand under the Patronage of H.R.H the Princess Mother: PPAT) Herbal Compress

               Ball Massage Service องค์กรที่ด�าเนินงานโดยผู้ลี้ภัย ได้แก่ KnWO KnCC เป็นต้น


                       ค. ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ

                         ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เกิดจากการยุบรวมพื้นที่พักพิงเล็ก ๆ ส�าหรับผู้หนีภัยสงครามจากพม่า/
               เมียนมาร์มาสู่ประเทศไทยมาอยู่ร่วมกัน ปัจจุบันค่ายผู้ลี้ภัยนุโพมีประชากร ๑๕,๕๑๖ คน แบ่งเป็นโซน A และ B มี ๑๖ เขต ประชากร
               ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยง พม่า มุสลิม มอญ ฉิ่น คะฉิ่น ไทใหญ่

                         สถานที่ตั้งนี้อยู่ติดถนนอุ้มผาง-เบิ่งเคลิ้ง มีรถสองแถวประจ�าทางอุ้มผาง-เบิ่งเคลิ้งวิ่งผ่านหน้าค่ายผู้ลี้ภัยนี้วันละหลายเที่ยว
               ผู้โดยสารส่วนหนึ่ง คือ ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายมีทั้งเดินทางไปอ�าเภออุ้มผางและไปเบิ่งเคลิ้ง เนื่องจากหมู่บ้านเบิ่งเคลิ้งเป็นหมู่บ้านชายแดนไทย
               ติดประเทศพม่า/เมียนมาร์  ผู้ลี้ภัยบางคนเดินทางกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์ผ่านเส้นทางนี้  ถนนหนทางที่เชื่อมระหว่างค่ายผู้ลี้ภัยกับ

               สังคมภายนอก เป็นถนนที่มีคุณภาพระดับปานกลาง และไม่ได้อยู่บนพื้นที่สูงชัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากค่ายผู้ลี้ภัยนี้อยู่เกือบถึงชายแดน
               ไทย-พม่า/เมียนมาร์แล้ว  จึงไม่ได้เป็นหมู่บ้านที่มีคนสัญจรผ่านไปมามากนัก  เช่น  ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ  และค่ายผู้ลี้ภัยบ้านอุ้มเปี้ยมใหม่
               จึงท�าให้ดูเหมือนว่าค่ายผู้ลี้ภัยนี้จะโดดเดี่ยวจากสังคมภายนอก แต่ในทางตรงกันข้าม ภายในค่ายผู้ลี้ภัยมี “ตลาด” อยู่ในเขต ๑๑-๑๒





































             16                                                                                                                                                                                                                             17
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34