Page 30 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 30

ความเป็นมาและวิธีการศึกษา




                  ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่จ�านวนมาก และร้านค้าจ�านวนเกือบ
                  ๕๐  ร้านมีชาวมุสลิมเป็นเจ้าของ  สินค้าที่ขายมีตั้งแต่ตะปูจนถึง

                  จานดาวเทียม  สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจ�าวัน  เช่น  ผงซักฟอก
                  สบู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน รองเท้า ชุดชั้นใน กระเป๋าเดินทาง
                  กระเป๋าสะพาย  เสื้อผ้าทั้งหญิงชาย  เด็กเล็ก  ของเล่น  เตาหุงข้าว

                  เมล็ดพันธุ์พืช  อุปกรณ์ท�าสวน  ถ้วยชามกระเบื้อง  แก้วน�้า  นมผง
                  ส�าหรับเด็ก สินค้าแห้ง เช่น ปลาแห้งหลากหลายชนิด ปลากระป๋อง
                  เส้นบะหมี่ เส้นหมี่ ไข่เป็ด รวมทั้งร้านขายหมาก ร้านน�้าชา โรตี

                  ข้าวแกง  น�้าแข็งไส  น�้าหวาน  ที่น่าสนใจมาก  คือ  มีร้านขายยา
                  และน�้าเกลือที่ฉีดเข้าทางเส้นเลือด  สินค้าทั้งหมดมีลักษณะขายส่ง
                  ร่วมด้วย ตลาดนี้เปิดทุกวัน และยังมีตลาดสดอยู่ในเขต ๘ ทุกวัน

                  จันทร์  -  พุธ  -  ศุกร์  เวลาประมาณ  ๐๕.๐๐  -  ๐๘.๐๐  น.  บนถนนเส้นนี้จะกลายเป็นตลาดสด  มีพ่อค้าแม่ค้าจากภายนอกและจาก
                  คนในค่ายผู้ลี้ภัยมาขายสินค้านานาชนิด  เช่น  เนื้อหมู  ไก่  ปลา  ผักหลากหลายชนิด  หอมแดง  กระเทียม  ขนม  น�้าหวาน  นอกจากนี้
                  มีเสื้อผ้า เครื่องประดับ ของเล่นเด็ก ของใช้ในชีวิตประจ�าวัน เป็นต้น จากการสอบถามพบว่าผู้ซื้อมีทั้งคนที่อาศัยภายในและภายนอก

                  ค่ายผู้ลี้ภัย แม้ว่าค่ายผู้ลี้ภัยนี้จะมีกฎเกณฑ์ควบคุมการเข้าออกค่ายไม่แตกต่างจากค่ายผู้ลี้ภัยอื่น ๆ คือ ประตูเข้าออกเป็นทางการเพียง
                  ประตูเดียวมีเวลาเปิดปิด คือ ๐๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. แต่คนภายนอกก็สามารถเข้ามาในค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อซื้อและขายสินค้าได้ไม่ยากนัก
                            ลักษณะโดยทั่วไปของค่ายผู้ลี้ภัยนี้ค่อนข้างร่มรื่น  บางเขตค่อนข้างสะอาด  มีล�าธารไหลผ่านหมู่บ้านและมีน�้าใช้เพียงพอ

                  ชาวบ้านได้น�าพลังงานน�้ามาผลิตเป็นไฟฟ้า เป็นที่น่าสังเกตว่า ร้านค้าน�้าชา ร้านอาหารตามสั่ง มักมีทีวี ชาวบ้านเอาไว้ดูวีดีโอ หรือรับ
                  สัญญาณดาวเทียม สถานีที่นิยมชมมาก คือ DVB เป็นสถานีที่รายงานข่าวประเทศพม่า/เมียนมาร์ในทุกด้าน ตามเขตต่าง ๆ จะพบว่ามี

                  ร้านค้าซีดี ร้านเช่าวีดีโอ ร้านเช่าหนังสือ ร้านอาหาร ร้านน�้าแข็งใส่น�้าหวาน ร้านขายของช�าขนาดเล็ก ขายน�้าอัดลม ขนม ร้านขายหมาก
                  ร้านตัดผมทั้งหญิงและชาย ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ ร้านขายผัก โรงพยาบาล โบสถ์ วัด มัสยิด เป็นต้น
                            ภายในค่ายผู้ลี้ภัยจะมีหน่วยงานระหว่างประเทศ และหน่วยงานที่ด�าเนินงานโดยกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ได้แก่ UNHCR

                  คณะกรรมการกู้ภัยนานาชาติ (International Rescue Committee: IRC) COERR KWO HI Drug and Alcohol Recovery And
                  Education  Network:  DARE  Network)  Network  Micro-Enterprise  Development  (MED)  Program-American  Refugee

                  Committee (ARC) Aide Medicale Internationale (AMI) Information Sharing Center Disability Information Resource
                  Center Special Education Project ฯลฯ
                            นอกจากนี้  จะพบสวนผักอินทรีย์เป็นสวนผักที่ผู้ลี้ภัยบางคนปลูกเอาไว้กินเอง  เหลือก็น�ามาวางจ�าหน่ายหน้าบ้านตนเอง

                  ในค่ายผู้ลี้ภัยนี้มีสวนผักอินทรีย์ขนาดใหญ่ที่ปลูกผักหลากหลายชนิด  เช่น  ผักกาดหอม  กะหล�่าสีม่วง  กวางตุ้ง  ต้นหอม  พริกขี้หนู
                  พริกหยวก ถั่ว มีบริเวณส�าหรับเพาะกล้าพันธุ์ต้นหมาก ต้นยาง มะพร้าว กล้วย ด้วย และยังมีบ่อเลี้ยงปลาประมาณ ๔ - ๕ บ่อ บริเวณนี้
                  อยู่ในความดูแลของหัวหน้าค่าย  ในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม  ๒๕๕๗  โครงการหลวงดอยอ่างขางได้รับรู้เกี่ยวกับการท�าสวนอินทรีย์นี้

                  จึงได้ประสานงานกับหัวหน้าค่ายเปิดการอบรมผู้ลี้ภัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์  แจกเมล็ดพันธุ์  และพาแกนน�าไปดูงานที่โครงการหลวง
                  ดอยอ่างขางด้วย
                            ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพจึงมีลักษณะสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างจากค่ายผู้ลี้ภัยอื่นๆ  คือ  มีพื้นที่ที่เสมือนหนึ่งเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย

                  สินค้า  มีพื้นที่ส�าหรับการปลูกผักไว้ส�าหรับบริโภค  มีไฟฟ้าพลังน�้าในพื้นที่โรงเรียน  โรงพยาบาล  และหน่วยงานต่าง ๆ  ดังจะเห็น
                  เครื่องปั่นไฟฟ้าพลังน�้าอยู่ระหว่างล�าธารต่าง ๆ น�้าดื่มน�้าใช้ในครัวเรือนจะมีท่อประปาส่งต่อจากล�าธารมาตามเขตต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า

                  สภาพแวดล้อมและสาธารณูปโภคในค่ายผู้ลี้ภัยนุโพค่อนข้างสะดวกสบายกว่าค่ายผู้ลี้ภัยอื่น ๆ การเชื่อมต่อกับโลกภายนอก พบว่ามี
                  อินเทอร์เน็ต แต่ค่อนข้างช้าและราคาแพง คือ ชั่วโมงละ ๒๕ บาท ระบบอินเทอร์เน็ตนี้ท�าให้ผู้ลี้ภัยสามารถติดต่อกับญาติพี่น้อง ลูกหลาน
                  ที่อยู่ประเทศที่สามได้ แต่อย่างไรก็ดี ผู้ลี้ภัยมีความเครียดเมื่อทราบว่าจะต้องถูกส่งกลับ

 16                                                                                                                  17
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35