Page 23 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 23

บทที่ ๑




                                  (๒) การสัมภาษณ์องค์กรภาคประชาสังคมและสมาชิกกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย
                                     คณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้

                                     กลุ่มที่ ๑ องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่มีส�านักงานอยู่ภายนอกค่ายผู้ลี้ภัยและเจ้าหน้าที่เป็นผู้ลี้ภัย
               ช่วยประสานงานและด�าเนินกิจกรรมในค่ายผู้ลี้ภัย เช่น องค์กรผู้หญิงกะเหรี่ยง (Karen Women Organization: KWO) คณะกรรมการ
               ผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยง (Karen Refugee Committee: KRC) คณะกรรมการผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยงแดง (Karenni Refugee Committee: KnRC)

               วิทยาลัยชุมชนกะเหรี่ยงแดง  (Karenni  Community  College:  KnCC)  องค์กรสตรีคะเรนนี  (Karenni  Women  Organization:
               KnWO)  ประเด็นการสัมภาษณ์  ได้แก่  ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัย  การศึกษา  สุขภาพ  ปัญหาในค่ายผู้ลี้ภัยและความช่วยเหลือของ

               องค์กรต่าง ๆ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง แผนการหรือการเตรียมการส่งกลับ ข้อกังวล และความคาดหวังของ
               ผู้ลี้ภัยต่อการส่งกลับ การมีส่วนร่วมขององค์กรและผู้ลี้ภัยในการเสนอความคิดเห็นต่อการส่งกลับ
                                     กลุ่มที่  ๒  กลุ่มนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจ�าในค่ายผู้ลี้ภัย  บางครั้งเจ้าหน้าที่อยู่นอกค่ายผู้ลี้ภัยจะเข้าไปท�ากิจกรรม

               ประสานงานกับกลุ่มที่  ๑  บางองค์กรก็ไม่ได้ท�างานกับผู้ลี้ภัยโดยตรง  เช่น  กองก�าลังแห่งพรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี  (Karenni
               National  Progressive  Party:  KnPP)  หน่วยงานการศึกษาแห่งสหภาพกะเหรี่ยง  (Karen  Education  Department:  KED)
               กองก�าลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง  (Karen  National  Union:  KNU)  คณะท�างานสุขภาพเคลื่อนที่ชายแดน  (Back  Pack  Health

               Worker Team: BPHWT) กลุ่มสิทธิมนุษยชนกะเหรี่ยง (Karen Human Rights Group: KHRG) องค์กรในกลุ่มนี้ ท�างานในแนวชายแดน
               ไทย-พม่า/เมียนมาร์  เกี่ยวข้องกับกระบวนการเจรจาสันติภาพ การคุ้มครองสิทธิผู้ลี้ภัย การเตรียมการด้านการศึกษา และสาธารณสุข
               ไว้เพื่อรองรับการส่งกลับ ประเด็นในการสัมภาษณ์ ได้แก่ สถานการณ์ชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์ การประเมินความพร้อมในการส่งกลับ

               ความเป็นไปได้ของกระบวนการสันติภาพและการเจรจาหยุดยิง สิทธิของผู้ลี้ภัยในการส่งกลับ
                                     กลุ่มที่ ๓ ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ (International Non-Government Organization:

               INGO)  ได้แก่  UNHCR  องค์กรเดอะบอร์เดอร์คอนซอร์เตี้ยม  (The  Border  Consortium:  TBC)  ส�านักงานคาทอลิกสงเคราะห์
               ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (Catholic Office for Emergency Relief and Refugees: COERR) องค์กรแอดเวนทีสต์เพื่อการพัฒนาและ
               บรรเทาทุกข์ (Adventist Development and Relief Agency: ADRA) และคณะกรรมการกู้ภัยนานาชาติ (International Rescue

               Committee: IRC) ในประเด็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์กรที่มีต่อผู้ลี้ภัย ปัญหาผู้ลี้ภัย และการเตรียมการส่งกลับผู้ลี้ภัยไป
               ประเทศที่สาม

                                     ข้อมูลการสัมภาษณ์นี้จะน�ามาตรวจสอบกับข้อมูลที่ได้จากผู้ช่วยนักวิจัยสนาม ซึ่งเข้าไปเก็บข้อมูลในค่ายผู้ลี้ภัย

                                  (๓) การเข้าร่วมประชุมและปฏิบัติงานในพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญร่วมกับ
               คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ณ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ อ�าเภออุ้มผาง

               จังหวัดตากและค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย อ�าเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
                                     การปฏิบัติงานในพื้นที่นี้ท�าให้คณะผู้วิจัยได้มีโอกาสเห็น “สนาม” หรือค่ายผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษา อีกทั้ง
               ได้รับฟังปัญหา ข้อคิดเห็น ความกังวลของผู้ลี้ภัยกลุ่มต่าง ๆ เช่น เยาวชน ครู นักบวช กลุ่มมุสลิม คณะกรรมการค่ายผู้ลี้ภัย ผู้หญิง

               รวมทั้งได้รับทราบแนวทางการด�าเนินงานของหน่วยงานรัฐที่มีต่อผู้ลี้ภัย และการเตรียมการส่งกลับด้วย

                                  (๔) การรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรที่ท�างานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                     ด้วยการประสานงานของคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง  ท�าให้คณะผู้วิจัยสามารถ
               เชิญผู้แทนจาก UNHCR และตัวแทนขององค์กรภาคประชาสังคมที่ท�างานเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยต่าง ๆ มารับฟังการน�าเสนอ

               ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะทางเลือกเชิงนโยบายในการส่งกลับผู้ลี้ภัยคืนถิ่นฐาน และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ข้อคิดเห็น
               และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  เพื่อช่วยให้รายงานวิจัยนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมทั้งคณะอนุกรรมการฯ  ยังได้ให้ข้อคิดเห็นที่เป็น

               ประโยชน์ต่อรายงานนี้ด้วย



             10                                                                                                                                                                                                                             11
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28