Page 21 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 21

บทที่ ๑






                               ชั้นภูมิที่ ๑
                               เขตจังหวัด ค่ายผู้ลี้ภัยกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ ๔ จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี คณะผู้วิจัย

               เลือกพื้นที่ศึกษาในสามจังหวัด  ยกเว้นจังหวัดกาญจนบุรี  ซึ่งเป็นที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัยบ้านต้นยาง  โดยคณะผู้วิจัยได้รับค�าแนะน�าจาก
               องค์กรต่าง ๆ ที่ท�างานกับผู้ลี้ภัยว่าค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้มีผู้ลี้ภัยน้อยและไม่มีความเหมาะสมส�าหรับการศึกษาครั้งนี้
                               ชั้นภูมิที่ ๒

                               ขนาดประชากร จ�าแนกค่ายผู้ลี้ภัยทั้งหมด ๙ ค่าย ออกเป็นสามกลุ่มตามจ�านวนประชากรผู้ลี้ภัย คือ ค่ายผู้ลี้ภัย
               ขนาดใหญ่ มีจ�านวนประชากรตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ คนขึ้นไป คือ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ ค่ายผู้ลี้ภัยขนาดกลาง มีจ�านวนประชากร ตั้งแต่
               ๑๐,๐๐๐  -  ๒๔,๙๙๙  คน  ได้แก่  ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย  ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่ลามาหลวง  ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่ละอูน  ค่ายผู้ลี้ภัย

               บ้านอุ้มเปี้ยมใหม่  และค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ  ส่วนค่ายผู้ลี้ภัยขนาดเล็ก  มีจ�านวนประชากรน้อยกว่า  ๑๐,๐๐๐  คน  ได้แก่  ค่ายผู้ลี้ภัย
               บ้านแม่สุริน ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน และค่ายผู้ลี้ภัยบ้านต้นยาง
                               ชั้นภูมิที่ ๓

                               ลักษณะทางชาติพันธุ์ของประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยในแต่ละค่ายผู้ลี้ภัย  และสาเหตุการเข้ามาพักอาศัยอยู่ในค่าย
               ผู้ลี้ภัย พบว่า ค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง ๙ แห่ง มี ๒ แห่งที่ประชากรผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงแดง ที่เหลืออีก ๗ แห่ง ประชากรผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่

               เป็นกะเหรี่ยง


                               เมื่อพิจารณาจากชั้นภูมิดังกล่าวนี้แล้ว คณะผู้วิจัยจึงได้หารือกับองค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society

               Organization: CSO) และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเกี่ยวกับความเหมาะสมการเลือกพื้นที่ศึกษา ดังนั้น
               จึงเลือกค่ายผู้ลี้ภัยได้ ดังนี้

                               ๑. กรณีค่ายผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่  เนื่องจากมีอยู่เพียงแห่งเดียว  คือ  ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ  อ�าเภอท่าสองยาง
               จังหวัดตาก จึงเลือกเป็นตัวแทนค่ายผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง และยังมีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์
               ศาสนา  ภาษา  นอกจากนี้  มีการเคลื่อนไหวเข้าออกของผู้ลี้ภัยอย่างต่อเนื่อง  เนื่องจากค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้ก่อตั้งมานานแล้ว  และอยู่ใกล้พื้นที่

               เศรษฐกิจ จึงท�าให้มีการไหลเวียนของผู้คน อีกทั้งเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่มีหน่วยงานต่าง ๆ จ�านวนมากเข้ามาปฏิบัติงาน
                               ๒. กรณีค่ายผู้ลี้ภัยขนาดกลางมีจ�านวน ๕ แห่ง มี ๒ แห่ง อยู่ที่จังหวัดตาก ได้แก่ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านอุ้มเปี้ยมใหม่ และ
               ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ  อีก ๓ แห่ง อยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่ลามาหลวง ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่ละอูน และค่ายผู้ลี้ภัย

               บ้านใหม่ในสอยในขั้นตอนนี้เลือกค่ายผู้ลี้ภัยขนาดกลางในจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน  อย่างละ  ๑  แห่ง  ซึ่งจะต้องมีลักษณะประชากร
               ส่วนใหญ่ที่แตกต่างกัน  ในจ�านวน  ๕  แห่งนี้มี  ๔  แห่งที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยง  และมีเพียงแห่งเดียวที่ประชากรส่วนใหญ่
               เป็นกะเหรี่ยงแดง  คือ  ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย  อ�าเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ดังนั้น  พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  จึงเลือก

               ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย เป็นพื้นที่ศึกษา ส่วนพื้นที่จังหวัดตาก มี ๒ แห่ง คือ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านอุ้มเปี้ยมใหม่ และค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ
               คณะผู้วิจัยเลือกค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ เนื่องจากผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านอุ้มเปี้ยมใหม่มีสาเหตุการอพยพคล้ายคลึงกับค่ายผู้ลี้ภัยบ้าน

               แม่หละ ถึงแม้ว่าจะมีขนาดประชากรเล็กกว่าก็ตาม
                               ๓. กรณีค่ายผู้ลี้ภัยขนาดเล็ก มีจ�านวน ๒ แห่ง คือ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่สุริน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และค่ายผู้ลี้ภัยบ้าน
               ถ�้าหิน จังหวัดราชบุรี  คณะผู้วิจัยได้เจาะจงเลือกค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน  เนื่องจากยังไม่มีพื้นที่ศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดราชบุรี และ

               ค่ายบ้านถ�้าหินนี้ มีอดีตนักศึกษาพม่ามาสมทบเนื่องจากการปิดศูนย์มณีลอย
                               หลังจากเลือกค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อท�าการศึกษาแล้ว คณะผู้วิจัยได้ประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้

               ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจน





             8                                                                                                                                                                                                                               9
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26