Page 19 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 19

บทที่ ๑



                ๓ แนวทาง คือ ๑) การเดินทางกลับด้วยตนเอง (Spontaneous Repatriation) ๒) การเดินทางกลับสู่ถิ่นฐานเดิมโดยมีการอ�านวย
                ความสะดวก (Facilitated Repatriation) และ ๓)  การให้การสนับสนุนในการเดินทางกลับ (Promoted Repatriation) ถึงแม้ว่า

                ที่ผ่านมาจะมีผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งได้เลือกที่จะเดินทางกลับประเทศต้นทางด้วยตัวเองบ้างแล้ว แต่ปรากฏว่า ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ยังมีความ
                ลังเล และไม่มีความมั่นใจในอนาคตของตนเอง หากจะต้องเดินทางกลับไปประเทศต้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์

                ทางการเมืองในประเทศพม่า/เมียนมาร์ยังไม่กลับคืนสู่ปกติอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าจะมีการเจรจาหยุดยิงระหว่างรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์
                กับกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยในลักษณะทวิภาคี (Bilateral Agreement) หลายกลุ่มก็ตาม แต่ก็ยังมีความรู้สึกไม่ไว้วางใจต่อรัฐบาล
                และกองทัพพม่า (Tatmadaw) รวมทั้งยังไม่มั่นใจในความปลอดภัย และความมั่นคงในชีวิต ความรู้สึกเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อ

                ชนกลุ่มน้อยก็ยังด�ารงอยู่หรือยังมีตัวอย่างปรากฏอยู่
                       ผู้ลี้ภัยเหล่านี้มีความวิตกกังวลต่อการกลับไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ ไม่มั่นใจในสิทธิในที่ดินท�ากิน ไม่มั่นใจในโอกาสในการประกอบ
                อาชีพ โอกาสทางการศึกษาและการเข้าถึงบริการสาธารณสุข รวมทั้งอาจจะขาดความรู้และทักษะที่เหมาะสมส�าหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่

                หลังจากที่จากบ้านเกิดเมืองนอนมาเป็นระยะเวลายาวนาน บางคนสูญเสียครอบครัวหรือญาติพี่น้อง ไม่สามารถที่จะหาที่พึ่งพาอาศัยได้
                ประกอบกับในระยะเวลา ๒-๓ ปีที่ผ่านมา องค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือในด้านอาหารปันส่วนได้ลดความช่วยเหลือ
                ในด้านนี้ลง ท�าให้การด�ารงชีวิตอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยมีความล�าบากมากขึ้น สิ่งนี้จึงเสมือนเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ลี้ภัยต้องคิดหาทางเลือกใน

                อนาคตของตนเอง ดังนั้น จึงสมควรที่จะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ความต้องการและความห่วงกังวล ตลอดจนการเตรียมการส่งผู้ลี้ภัย
                กลับคืนสู่ประเทศต้นทาง  เพื่อน�ามาพิจารณาหาทางเลือกเชิงนโยบายในการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัย  ที่ค�านึงถึงเงื่อนไขทางการเมืองและ

                สังคมในการเดินทางกลับประเทศภูมิล�าเนาของตน  รวมทั้งทางเลือกอื่นที่เหมาะสมที่ตั้งอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาความวิตกกังวล
                ความต้องการ ศักยภาพและข้อจ�ากัดของผู้ลี้ภัย การมีส่วนร่วม และสิทธิของผู้ลี้ภัย ในการตัดสินใจเลือกอนาคตของตนเอง ทั้งนี้ เพื่อน�า
                มาประกอบเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง

                       โครงการวิจัยฯ นี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาทางเลือกเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากการสู้รบ (ผู้ลี้ภัย) ในค่าย
                ผู้ลี้ภัยที่สะท้อนความเข้าใจความต้องการของผู้ลี้ภัยในการด�าเนินชีวิต ปัญหาและข้อวิตกกังวลในกรณีที่ถูกส่งคืนกลับสู่ถิ่นฐาน

                ประเทศพม่า/เมียนมาร์ ทั้งนี้ เพื่อน�าข้อมูลที่ได้รับไปสู่การก�าหนดนโยบาย วางแผนในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัย









































             6                                                                                                                                                                                                                               7
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24