Page 18 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 18
ความเป็นมาและวิธีการศึกษา
ได้อนุญาตให้ส�านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (The United Nations High Commissioner for Refugees: UNHCR)
และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศเข้ามาปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัย
ได้เดินทางไปตั้งหลักแหล่งเพื่อด�าเนินชีวิตใหม่ในประเทศที่สามเป็นจ�านวนมาก และสนับสนุนให้ผู้ลี้ภัยเดินทางกลับประเทศต้นทาง
ด้วยความสมัครใจ เมื่อสถานการณ์ในประเทศพม่า/เมียนมาร์คลี่คลายลง
อย่างไรก็ดี ปัญหาความขัดแย้งและความปลอดภัยในชีวิตในประเทศพม่า/เมียนมาร์ก็ยังด�ารงอยู่ มีเหตุการณ์สู้รบเกิดขึ้นอยู่
เป็นประจ�า ประชาชนยังประสบกับปัญหาความด้อยการพัฒนาและปัญหาความยากจน จึงท�าให้ประชาชนจากประเทศพม่า/เมียนมาร์
อีกจ�านวนไม่น้อยที่ทยอยอพยพเข้ามาในฝั่งไทย เพื่อแสวงหาที่พักพิง และโอกาสในการด�ารงชีวิตที่ดีกว่า ด้วยเหตุนี้จึงท�าให้จ�านวน
ประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยมีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา ท�าให้ไม่อาจจะประมาณจ�านวนที่แท้จริงของผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยได้
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ประมาณการว่ามีผู้ลี้ภัยจ�านวน ๑๔๐,๐๐๐ คน ในจ�านวนนี้มีเพียงร้อยละ ๖๐ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
ผู้ลี้ภัยที่เหลือยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน ในการส�ารวจจ�านวนประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยล่าสุดในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ พบว่า ประชากรในค่ายผู้ลี้ภัย
มีจ�านวนลดลง คือ มีเพียง ๑๐๙,๐๓๕ คน อย่างไรก็ดี จ�านวนผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิงในค่ายผู้ลี้ภัย มีจ�านวนที่แตกต่างกันในบัญชี
ของ UNHCR กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบของฝ่ายไทย และ The Border Consortium (TBC) ซึ่งเป็นองค์กร
เอกชนระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านอาหารปันส่วน และที่อยู่อาศัย
รัฐบาลไทยจะได้อ�านวยความสะดวกและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร
และที่พักอาศัย โดยจัดหาค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดน จ�านวน ๙ แห่ง บริเวณชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี
พร้อมทั้งได้วางมาตรการคุ้มครองผู้ลี้ภัย เพื่อป้องกันไม่ให้กองก�าลังจากอีกฝั่งของชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์บุกเข้ามาโจมตี ดังที่เคย
เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การด�าเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมแก่ผู้ที่หลบหนีจากภัยสงคราม
ความรุนแรง และความไม่ปลอดภัยในชีวิต ทั้งนี้เพราะรัฐบาลไทยถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้หนีภัยจากการสู้รบเป็นเหตุให้รัฐบาลไทย
ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรสิทธิมนุษยชนสากลว่าให้ทางเลือกที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ โดยไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกพื้นที่
ค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อหางานท�า และไม่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ถูกจับกุม การก�าหนดสถานะบุคคลให้แก่บุคคลเหล่านี้เป็นผู้หนีภัยจากการ
สู้รบดังกล่าว จึงเป็นการจ�ากัดบริเวณให้บุคคลเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่เฉพาะในค่ายผู้ลี้ภัยเท่านั้น ซึ่งเป็นการลิดรอนสิทธิและจ�ากัด
ทางเลือกการด�ารงชีพในระยะยาวซึ่งไม่ได้เป็นผลดีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะบุตรของผู้ลี้ภัยที่เติบโตมาในค่ายผู้ลี้ภัย
หลังจากที่ประเทศพม่า/เมียนมาร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
และจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนพร้อมกับด�าเนินนโยบายปรองดองแห่งชาติ มีกระบวนการเจรจาสันติภาพ (Peace Process) ระหว่างรัฐบาล
ด�าเนินการโดยคณะกรรมการท�างานสร้างสันติภาพแห่งสหภาพ (Union Peace-making Working Committee: UPWC) กับ
กองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย (Ethnic Armed Organization: EAO) เพื่อปูทางไปสู่การลงนามหยุดยิงทั่วประเทศ (National
Ceasefire Agreement: NCA) และการเจรจาทางการเมือง (Political Dialogue) ในขณะเดียวกันรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์โดยการน�า
ของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (Thein Sein) ก็ได้มีนโยบายเปิดความสัมพันธ์กับนานาประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการค้าและการ
ลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อน�าไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวเจริญเติบโตรุดหน้ามากขึ้น หลังจากที่ประเทศพม่า/เมียนมาร์ได้เลือก
ที่จะใช้นโยบายการปิดประเทศมาหลายทศวรรษ
สถานการณ์ทางการเมืองและการทหารในประเทศพม่า/เมียนมาร์เป็นเหตุผลส�าคัญที่ท�าให้มีประชาชนจากประเทศพม่า/เมียนมาร์
จ�านวนมาก ทั้งชาย หญิง คนชรา เด็กและคนพิการ ต้องเดินทางเข้ามาหาที่พักพิงในบริเวณชายแดนของประเทศไทย แต่เมื่อสถานการณ์
ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงและคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น จึงท�าให้ประเด็นและอนาคตของผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเป็นเรื่อง
ที่สมควรน�ามาหารือเพื่อแสวงหาแนวทางและเตรียมการจัดการกับปัญหาของผู้ลี้ภัยเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางประเทศพม่า/เมียนมาร์
หรือเลือกที่จะอยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ จ�าเป็นจะต้องค�านึงถึงความสมัครใจ และการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัยอย่างจริงจัง
เมื่อพิจารณาแนวทางของ UNHCR ที่มีต่ออนาคตของผู้ลี้ภัยเหล่านี้ จะเห็นได้ว่า นอกจากจะอ�านวยความสะดวก การเตรียม
ความพร้อมให้แก่ผู้ลี้ภัยในการเดินทางไปตั้งหลักแหล่งในประเทศที่สามแล้ว ก็ยังมีแนวทางการสนับสนุนการเดินทางกลับประเทศต้นทาง
4 5
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว