Page 17 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 17
บทที่ ๑
ความเป็นมา
และวิธีการศึกษา
๑. ที่มาและความส�าคัญของปัญหา
1
ตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ด�าเนินนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล โดยรับผู้ลี้ภัย และ
2
ผู้แสวงหาที่พักพิงจากประเทศพม่า/เมียนมาร์ ให้เข้ามาพ�านักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย ซึ่งกระจายอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เข้าร่วมภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
ค.ศ. ๑๙๕๑ (Convention Relating to the Status of Refugees 1951) ก็ตาม แต่เมื่อมีการปะทะกันระหว่างกองก�าลัง
ถืออาวุธชนกลุ่มน้อยกับกองทัพของรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ หรือระหว่างกองก�าลังของชนกลุ่มน้อยตามบริเวณชายแดนในฝั่งประเทศ
พม่า/เมียนมาร์ อันเป็นสาเหตุส�าคัญที่ท�าให้ประชาชนของประเทศพม่า/เมียนมาร์ต้องหนีภัยการสู้รบและความไม่ปลอดภัยในชีวิตมายัง
ชายแดนประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน
1
โครงการวิจัยนี้ใช้ค�าว่า “ผู้ลี้ภัย” ตามค�าที่ผู้หนีภัยจากการสู้รบและพักอาศัยในค่ายพักพิงชั่วคราวเรียกตนเอง ในขณะที่รัฐบาลไทยเรียกคนเหล่านี้
ว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ” เป็นที่น่าสังเกตว่า ส�านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (The United Nations High Commissioner for Refugees:
UNHCR) เรียกคนเหล่านี้ว่าผู้ลี้ภัยเช่นเดียวกัน ทั้งที่รัฐบาลไทยไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ด้วยเหตุนี้จึงท�าให้รัฐบาลไทยไม่ใช้ค�าว่า
“ผู้ลี้ภัย” โดยใช้ค�าว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ” และปฏิเสธการปฏิบัติการใด ๆ ที่มีผลผูกพันถึงการให้สิทธิต่าง ๆ ของผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯ ดังกล่าว แต่กลับ
ยืนกรานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเท่านั้น
2
พื้นที่หรือสถานที่ที่รัฐบาลไทยจัดหาให้ผู้ลี้ภัยการสู้รบจากประเทศพม่า/เมียนมาร์ มีทั้งหมด ๙ แห่ง เรียกว่า พื้นที่พักพิงชั่วคราว (Temporary
Shelter) แต่ผู้ลี้ภัย ตลอดจนองค์กรที่ท�างานในพื้นที่ดังกล่าว และผู้ลี้ภัยเองจะเรียกว่า Refugee Camp (ค่ายผู้ลี้ภัย) แต่โดยทั่วไปจะเรียกสั้น ๆ ว่า แคมป์ (Camp)
ทับศัพท์เสียงภาษาอังกฤษ ส�าหรับงานวิจัยนี้ ใช้ค�าว่า “ค่ายผู้ลี้ภัย” ตามค�าเรียกของผู้ลี้ภัยและองค์กรต่าง ๆ
4 5
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว