Page 72 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 72
ค าอธิบายแผนภาพ
๑. การนําเข้าแรงงานตาม MOU มีอุปสรรค คือ ผู้นําเข้าแรงงานต้องติดต่อหน่วยราชการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอนต้องดําเนินการค่อนข้างยุ่งยาก ต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายดําเนินการ และเวลามาก หากจ้างบริษัทที่ปรึกษา หรือนายหน้าจัดหางาน ก็จะเสียค่าใช่จ่าย
ให้ได้มาซึ่งแรงงานประมาณ ๑๗,๐๐๐ – ๒๕,๐๐๐ บาท/คน ใช้เวลายาวนาน ๒ – ๖ เดือน
๒. ในภาวะเช่นนี้มีนายจ้างจํานวนหนึ่งที่ไม่พร้อม หรือไม่ต้องการนําเข้าแรงงานตาม MOU
สําหรับกลุ่มที่ไม่พร้อมได้แก่ บรรดากิจการขนาดเล็กถึงขนาดกลาง บริหารงานแบบครอบครัว กิจการ
ที่มีคําสั่งสินค้าไม่แน่นอน หรือกิจการในเศรษฐกิจนอกระบบ เช่นร้านค้ารายย่อย แผงลอย การเกษตร
รายย่อย ผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย ส่วนนายจ้างที่ไม่ต้องการนําเข้าแรงงานตาม MOU อาจจะเป็น
กิจการที่อยู่ในเงื่อนไขที่จะจ้างงานตาม MOU ได้ แต่คิดว่าการนําเข้าตาม MOU มีต้นทุนสูงและ
ยุ่งยาก จึงหันไปใช้แรงงานผิดกฎหมาย ถึงแม้มีความเสี่ยงแต่ก็ต้นทุนต่ํากว่ากันมาก
๓. ในฝุายของแรงงาน มีแรงงานจํานวนมากที่การตัดสินใจจะไม่มาทํางานมาตาม MOU
เพราเห็นว่ายุ่งยาก ต้นทุนสูง หากเปรียบเทียบกับการมาเองโดยอาศัยเครือข่ายทางสังคมของตน บาง
คนอาจมีประสบการณ์ไม่ดีถูกเอาเปรียบจากบริษัทจัดหางาน เจ้าหน้าที่รัฐ หรือนายจ้างในสถาน
ประกอบการ บางคนเห็นว่ากฎระเบียบตาม MOU ทําให้ขาดอิสระในการเลือกงานและดํารงชีวิต และ
ถูกบังคับหักเงินเข้ากองทุนอย่างไม่สมัครใจ
๔. สําหรับนายจ้างที่ไม่ต้องการจ้างแรงงานตาม MOU แต่ต้องการแรงงานงานข้ามชาติมา
เป็นแรงงาน ก็มีเทคนิคการได้มา โดยมีต้นทุนต่ํากว่าจ้างตาม MOU โดยการอาศัยขบวนการนายหน้า
จัดหา จะมีต้นทุนประมาณ ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท/คน จากนั้นก็จ่ายส่วยรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่
๓๐๐ – ๕๐๐ บาท/แรงงานหนึ่งคน นายจ้างจะจ้างแรงงานใต้ดินนี้จนกระทั่งมีการผ่อนผันจากรัฐบาล
ให้นําพาแรงงานไปจดทะเบียนให้ทํางานได้ชั่วคราว จากนั้นก็พาไปพิสูจน์สัญชาติ หรืออาจไม่พาไป
พิสูจน์สัญชาติก็ได้ โดยอ้างความล่าช้าในการดําเนินการของทางราชการ เทคนิคอีกแบบหนึ่งในการ
เลี่ยงการจ้างงานตาม MOU ก็คือการจ้างงานแบบเหมาช่วง จากนายหน้ารับเหมาช่วงที่จะจัดหา
แรงงานมาทํางานให้ โดยนายจ้างไม่ต้องรับภาระ เพราะถือว่าแรงงานเป็นคนของนายหน้านับเหมา
ช่วง
๕. ทางด้านแรงงาน ได้เกิดกระแสการชักจูงกันเข้ามาทํางานโดยผิดกฎหมาย เพราะเชื่อกัน
ว่าประหยัดและสะดวกกว่า และมีตัวอย่างให้เห็น พวกเขาเชื่อว่าเข้ามาทํางานให้ได้ก่อนแล้วก็จะได้รับ
การผ่อนผัน หรือพิสูจน์สัญชาติภายหลัง หรือกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็ถูกจับและผลักดันกลับ แล้วก็
สามารถลักลอบกลับเข้าไปใหม่ได้
๖. สําหรับนายจ้างที่จ้างแรงงานผิดกฎหมาย เมื่อครบกําหนดผ่อนผัน ก็จะเกิดขบวนการ
ต่อรองให้รัฐเปิดให้มีการผ่อนผันรอบใหม่ต่อไป ขบวนการต่อรองโดยทั่วไปเป็นไปเองตามธรรมชาติ ใน
ลักษณะที่ผู้ประกอบการในจังหวัดต่างๆ ที่มีการจ้างแรงงานข้ามชาติมาก (เช่นระนอง ตาก ภูเก็ต
สมุทรสาคร ฯลฯ) ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังจังหวัด บางกรณีเป็นการขอเข้าพบเจรจาของสภา
อุตสาหกรรมจังหวัด หรือสมาคมนายจ้าง หรือบรรดานายจ้างอาจมีการส่งตัวแทนเข้าไปลอบบี้ผู้มี
อํานาจตัดสินใจของรัฐให้ดําเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่ตน ซึ่งในแต่ละปีรัฐก็มักตัดสินใจให้มีการ
ผ่อนผันให้ใช้แรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายได้เป็นการชั่วคราว
๕๒