Page 70 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 70

นโยบายเอื้อประโยชน์แก่พวกเขา สําหรับในกิจการบางประเภท หรือผู้ประกอบการในบางพื้นที่ มีการ
                   รวมตัวเป็นรูปสมาคม ทําให้พวกเขามีอํานาจต่อรองสูง ดังข่าวที่ปรากฏบ่อยครั้งว่าผู้ประกอบการเหล่านี้

                   ยกกําลังเข้าเจรจากับรัฐ และรัฐก็มักจะตัดสินใจไปตามแรงกดดันของกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้
                          นายหน้า เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สําคัญ ในพื้นที่การผลิตหลายแห่ง นายหน้าทํางานเป็นขบวนการ
                   นายหน้าทํางานทั้งในเรื่องเล็กๆ ถึงเรื่องใหญ่ๆ ทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย จึงมีนายหน้าหลายประเภท เช่น
                   นายหน้าหาที่พัก นายหน้าพาไปหาหมอ นายหน้าเคลียป๎ญหากับเจ้าหน้าที่ นายหน้าส่งเงินกลับบ้าน

                   นายหน้าพาไปทําเอกสาร นายหน้าจัดหางาน ฯลฯ  ขบวนการนายหน้ากลายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
                   ในพื้นที่ มีการศึกษาในพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง พบว่าขบวนการนายหน้าเป็นวงการผลประโยชน์ขาด
                   ใหญ่ มีเงินทองที่หมุนเวียนในขบวนการนายหน้าในพื้นที่แห่งนี้ปีละไม่ต่ํากว่าหมื่นล้านบาท นายหน้ามี
                   เครือข่ายข้ามพื้นที่จากประเทศต้นทาง มาจนถึงปลายทาง ขบวนการนายหน้าจึงประกอบด้วยคนหลาย

                   กลุ่ม ทั้งต่างชาติ คนไทย คนมีอิทธิพล ไม่มีอิทธิพล มีสี และไม่มีสี ฝุายการเมือง และไม่ใช่ฝุายการเมือง
                   ต่างสมคบร่วมมือกันอย่างซับซ้อน ในขบวนการเหล่านี้ มีเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ใน
                   หลายรูปแบบ หลายระดับ ในพื้นที่อุตสาหกรรมข้างต้น เจ้าหน้าที่ฝุายปราบรามคือตัวละครสําคัญใน
                   ขบวนการนายหน้า สําหรับเจ้าหน้าที่บางคนการได้ย้ายไปอยู่ในพื้นที่ประเภทนี้คือโอกาสที่ดีของชีวิต และ

                   เป็นที่ทราบกันว่าทุกครั้งที่มีนโยบายเข้มงวดปูองกันและปราบปรามแรงงานข้ามชาติ ก็จะเป็นเวลาที่
                   แรงงานข้ามชาติต้องเสียค่าส่วยสูงขึ้น ธุรกิจในวงการนายหน้าคึกคักขึ้น และเจ้าหน้าที่บางคนก็มีโอกาสมี
                   เงินเป็นกอบเป็นกําหรือได้เบี้ยบ้ายรายทางมากขึ้น(สมพงษ์ สระแก้ว,  สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม

                   ๒๕๕๘)
                          ประการที่สาม คณะกรรมการบริหารแรงงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ซึ่งตั้งใจให้ทํา
                   หน้าที่กําหนดนโยบาย ตัดสินใจแก้ไขป๎ญหา ติดตามและอํานวยการทํางานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มี
                   โครงสร้างประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน ประกอบด้วยตัวแทน
                   หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝุายแรงงาน ฝุายเศรษฐกิจ ฝุายความมั่นคง และอื่นๆ ตัวแทนหน่วยงานเหล่านี้

                   คือข้าราชการประจําในระดับผู้บังคับบัญชาหรือรองผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นๆ
                          ผู้วิจัยเห็นด้วยกับการบูรณาการหน่วยงานรัฐในการตัดสินใจและแก้ไขป๎ญหา ซึ่งถูกวิจารณ์มานาน
                   ว่าไม่มีเอกภาพในการทํางาน  แต่ป๎ญหาที่ยังมีอยู่ก็คือ ในภาวะที่เรื่องแรงงานขามชาติเป็นเรื่อง

                   ผลประโยชน์  และยังประกอบด้วยแนวคิดในการแก้ไขป๎ญหาที่แตกต่างกันด้วย กล่าวคือ ใน
                   คณะกรรมการบริหารแรงงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) เจ้าหน้าที่ฝุายข้าราชการประจํามีแนวโน้ม
                   ที่จะยึดหลักการการจัดระบบอย่างเคร่งครัด พวกเขาเห็นว่าต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง ไม่
                   ควรผ่อนผันยืดหยุ่นอีกต่อไป เจ้าหน้าที่ฝุายนี้มักจะทัดทานมติผ่อนผันให้แรงงานหลบหนีเข้าเมืองทํางานได้

                   ที่รัฐบาลมักใช้เป็นทางออก  เจ้าหน้าที่ต้องการให้ยึดมั่นการนําเข้าแรงงานตาม MOU  และการพิสูจน์
                   สัญชาติ เป็นเครื่องมือสําคัญ ในขณะที่ฝุายการเมืองที่มีอํานาจตัดสินใจในขั้นสุดท้าย กลับมีแนวโน้มที่จะ
                   ใช้มาตรการผ่อนผันเป็นทางออก ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้มีเหตุผลทางวิชาการรองรับ แต่เป็นไปตามการ
                   ลอบบี้หรือการกดดันของกลุ่มนายจ้างผู้ได้ประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติ

                          ประการสุดท้าย  ในขณะที่รัฐได้แสดงเจตนาจะปกปูองคุ้มครองสิทธิแรงงาน แต่ในทางปฏิบัติ รัฐ
                   ไม่ได้ให้ความสําคัญต่อเรื่องนี้เท่าที่ควร ดังกรณีการเข้าถึงสิทธิการประกันสังคมอย่างยากลําบาก อีกทั้งยัง
                   ปล่อยให้มีการออกกฎระเบียบที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคง เช่น การห้าม
                   เปลี่ยนนายจ้างโดยพลการ ห้ามออกจากสถานประกอบการหรือที่พักอาศัยยามวิกาล ห้ามเป็นเจ้าของ


                                                             ๕๐
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75