Page 68 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 68

ขั้นตอนที่ ๙ ในขณะเดียวกันนายจ้างก็จะต้องเดินทางมายังสํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว
                   เพื่อที่จะช่วยเหลือแรงงานในกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง โดยในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทย

                   แรงงานจะต้องยื่นขอวีซ่าและขออยู่อาศัยในราชอาณาจักรจากสํานักงานด่านตรวจคนเข้าเมือง โดย
                   แรงงานที่นําเข้า ๑๐,๐๐๐ คนแรก จะต้องชําระค่าวีซา ๕๐๐ บาท ต่อคน จากอัตราปกติอยู่ที่ ๒,๐๐๐
                   บาท ต่อคน โดยวีซ่าจะมีอายุสองปี และสามารถต่ออายุได้อีกสองปี ในกรณีที่แรงงานต้องการเดินทาง
                   กลับไปประเทศตนหลังจากที่ได้เข้ามาทํางานในประเทศไทยแล้ว แรงงานจะต้องขออนุญาตกลับเข้ามาใหม่

                   ในราชอาณาจักร หรือขอวีซ่าสําหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entry) ก่อนที่
                   จะเดินทางกลับไปและเดินทางกลับมาที่ประเทศไทย
                               ขั้นตอนที่ ๑๐  สําหรับแรงงานที่ใบรับรองแพทย์หมดอายุ (ใบรับรองแพทย์เกินหกสิบวัน
                   หลังจากที่ได้ตรวจสุขภาพแล้ว ตามขั้นตอนที่ ๖ เมื่อเดินทางเข้ามาทํางานยังประเทศไทยจะต้องไปตรวจ

                   สุขภาพซ้ําอีกครั้ง ซึ่งจะทําการตรวจสุขภาพที่สถานพยาบาลบริเวณชายแดนไทยที่ตนไปพิสูจน์สัญชาติ
                   หรือที่จังหวัดในประเทศไทยที่แรงงานทํางานก็ได้
                               ขั้นตอนที่ ๑๑  แรงงานจะต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทํางาน ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัด
                   หรือสํานักงานจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่ ภายในสามสิบวันหลังจากได้รับวีซ่า ทั้งนี้อัตราค่าธรรมเนียม

                   ใบอนุญาตทํางานจะแตกต่างกัน ตามกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการทํางานและการจ้างคนต่างด้าว
                   พ.ศ. ๒๕๒๒
                          หน้าที่ที่แรงงานต้องปฏิบัติคือ ต้องไปรายงานตัวที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก ๙๐ วัน ซึ่งจะ

                   เห็นได้ว่า MOU นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบการนําเข้าแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้นายจ้าง
                   ขออนุญาตนําเข้าแรงงานตามความจําเป็น เมื่อได้รับอนุญาตก็ติดต่อให้บริษัทจัดหางานในประเทศต้นทาง
                   จัดหาแรงงานและดําเนินการทางเอกสารให้ครบถ้วน กระทั่งนําพาแรงงานมาทํางานในสถานประกอบการ
                   ที่ปลายทาง ข้อตกลงนี้มุ่งหวังจะสร้างความร่วมมือในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน การส่งกลับเมื่อครบสัญญา
                   จ้าง และการปูองกันปราบปรามการข้ามแดน การค้าแรงงาน และการจ้างแรงงานโดยผิดกฎหมายด้วย

                           แต่ถึงป๎จจุบันนี้การดําเนินการตาม MOU  ประสบความสําเร็จน้อยมาก ดังเห็นได้จากจํานวน
                   นําเข้าแรงงานที่ทําได้ไม่ถึงร้อยละ ๑๐ จากยอดที่นายจ้างแจ้งความประสงค์ การพิสูจน์สัญชาติเพื่อ
                   ปรับเปลี่ยนสถานะแรงงานผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมายทําได้ล่าช้า การคุ้มครองสิทธิและอื่นๆ ก็ยังติดขัดไม่

                   เกิดผล สิ่งสําคัญที่ฟูองถึงสถานการณ์ป๎ญหาที่ยังไม่ดีขึ้น ก็คือ การที่ รัฐบาลยังต้องใช้นโยบายผ่อนผันให้
                   แรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายมาขึ้นทะเบียนทํางานชั่วคราว ปีแล้วปีเล่า ซึ่งเท่ากับยอมรับว่า การจัดระบบ
                   แรงงานให้เข้าสู่การควบคุมตามกฎหมายยังไม่ประสบความสําเร็จตามที่หวังไว้
                          พฤกษ์ เถาถวิล และสุธีร์ สาตราคม ทําการศึกษาเรื่อง “ป๎ญหาและอุปสรรคในการดําเนินการ

                   ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการจ้างแรงงาน : กรณีศึกษาความร่วมมือไทย-ลาว” ได้รับ
                   ทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่ามีป๎ญหา อุปสรรค ดังนี้
                          ประการแรก  MOU  ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านด้านการจ้างแรงงาน ที่หวังให้เป็นกลไกนําเข้า
                   แรงงานอย่างถูกกฎหมาย มีป๎ญหาทางปฏิบัติอย่างมาก  เป็นที่ทราบกันดีว่าค่าใช้จ่ายของนายจ้างในการ

                   นําเข้าแรงงานอยู่ที่ ๑๗,๐๐๐ – ๒๕,๐๐๐ บาท/คน ใช้เวลาประมาณ ๒ – ๖ เดือน ไม่จูงใจนายจ้าง ซึ่งมี
                   ธรรมชาติที่ต้องการลดต้นทุนและภาระการจัดการ ผู้วิจัยพบว่าการนําเข้าแรงงานตาม MOU  เป็น
                   ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการบางกลุ่ม คือกิจการขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  มีการบริหารจัดการกิจการอย่าง
                   เป็นระบบ และการผลิตที่คงเส้นคงวา หรือขยายตัว ต้องการแรงงานที่ทํางานต่อเนื่อง ผู้ประกอบการกลุ่ม


                                                             ๔๘
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73