Page 76 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 76
สําคัญที่ทําให้คนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามชายแดน เช่น ไทใหญ่ กะเหรี่ยง มุสลิมที่อพยพมาจากบังคลาเทศ
ถูกผลักให้ออกนอกประเทศ และเข้าสู่ประเทศไทย (๓) ป๎จจัยเกี่ยวกับป๎ญหาทางด้านเศรษฐกิจของ
ประเทศเมียนมา ซึ่งปกครองโดยรัฐบาลทหารในรูปแบบเผด็จการ ดังนั้นการผูกขาดทางเศรษฐกิจยังอยู่ใน
การควบคุมของรัฐบาล ไม่ขยายตัวไปสู่กลุ่มคนต่างๆ ประชาชนไม่มีเสรีภาพทางด้านการลงทุนมากนัก
ประกอบกับป๎ญหาสภาพภูมิอากาศทําให้ผลผลิตของประเทศตกต่ํา จึงทําให้เศรษฐกิจไม่ขยายตัว การ
ประกอบอาชีพของประชาชนเริ่มฝืดเคือง ผู้คนจากฝ๎่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาจึงได้อพยพหลบหนี
ออกนอกประเทศไปขายแรงงานยังประเทศข้างเคียง (๔) ป๎จจัยเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของ
ประเทศไทย ที่มีนโยบายให้อําเภอแม่สอดเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงงาน
อุตสาหกรรม การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้เกิดการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานอพยพ
เหล่านี้
ส่วนในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างชาติไปทํางานเป็นจํานวนมากคือจังหวัดสมุทรสาคร พบว่าเงื่อนไข
ป๎จจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการค้ามนุษย์ในพื้นที่ ได้แก่ (๑) ป๎จจัยทางด้านเศรษฐกิจ
เนื่องจากจังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่อยู่ติดกับทะเล ตั้งอยู่ริมแม่น้ําท่าจีนพื้นที่ตอนล่างของภาคกลาง
ของประเทศไทย พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มติดชายฝ๎่งทะเล ส่งผลให้จังหวัดสมุทรสาคร โดยเฉพาะใน
อําเภอมหาชัยมีธุรกิจอุตสาหกรรมการประมง และธุรกิจอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมงทางทะเล
เกิดขึ้นมาก ผู้ประกอบการจึงมีความต้องการแรงงานเป็นจํานวนมาก และต้องการอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะแรงงานราคาถูก เพื่อให้ได้ผลกําไรสูงสุด ข้อมูลจากมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน
(LPN) พบว่ามีการ “ออเดอร์” แรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้าเมืองมาทํางานในโรงงานของตนเป็นจํานวน
มาก (๒) ป๎จจัยทางสังคมวัฒนธรรม ป๎จจัยนี้เป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในการทํางานของคนไทยที่
มักจะหลีกเลี่ยง ไม่นิยมทํางานที่มีลักษณะสกปรก อันตราย และยากลําบาก ส่งผลให้ต้องมีการนําเข้า
แรงงานข้ามชาติเข้ามาทํางานเป็นจํานวนมาก (๓) ป๎จจัยเกี่ยวกับความไม่สงบของการเมืองภายในประเทศ
ต้นทาง เช่น เกิดสงครามกลางเมืองในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ทําให้ผู้คน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อย
ถูกขับไล่จากการสู้รบ ซึ่งเป็นประเด็นที่คล้ายคลึงกับที่เกิดในพื้นที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ
พื้นที่อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ป๎ญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศเพื่อนบ้าน ทําให้ผู้คน
จากประเทศเพื่อนบ้านต้องหลบหนีออกนอกประเทศ และลักลอบเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อไปสู่ชีวิตที่คิดว่า
จะดีกว่าที่เป็นอยู่ในประเทศของตน (๔) ป๎จจัยเกี่ยวกับป๎ญหาทางเศรษฐกิจ ยากจน ว่างงาน และเข้าไม่ถึง
ทรัพยากรในประเทศต้นทาง อันเป็นประเด็นที่คล้ายคลึงกับพื้นที่อําเภอแม่สาย และอําเภอแม่สอด ที่ผู้คน
มักอพยพหนีตาย เพื่อมาทํามาหากินในประเทศไทย และ (๕) ป๎จจัยเกี่ยวกับนโยบายของรัฐที่เกี่ยวกับการ
จัดระบบแรงงานข้ามชาติ ทําให้เกิดช่องทางในการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติในทุกรูปแบบ
จนกระทั่งกลายเป็นการค้ามนุษย์ในที่สุด รวมทั้งกลไกการแก้ไขป๎ญหาสลับซับซ้อนยุ่งยาก มีหลาย
หน่วยงานที่รับผิดชอบยังขาดการติดตามป๎ญหาอย่างลึกซึ้ง ทําให้ไม่เกิดการแก้ป๎ญหาที่ตรงจุด และ
กลายเป็นการค้ามนุษย์ในที่สุด
สําหรับพื้นที่ที่มีแรงงานต่างชาติจํานวนมากคือจังหวัดสมุทรสาคร มีสถานประกอบการขนาดย่อม
และเรือประมงอยู่เป็นจํานวนมาก การตรวจแรงงานในสถานประกอบการขนาดย่อมพบว่ายังมีป๎ญหา
กําลังเจ้าหน้าที่ที่มีไม่เพียงพอ เนื่องจากประเทศไทยมีสถานประกอบการขนาดย่อมเกือบ ๒ แสนแห่ง
หรือร้อยละ ๙๙.๑ เป็นสถานประกอบการขนาดย่อมที่มีคนทํางาน ๑ – ๕๐ คน สถานประกอบการขนาด
กลางที่มีคนทํางาน ๕๑ – ๒๐๐ คน มีเพียงประมาณร้อยละ ๐.๗ ในขณะที่สถานประกอบการขนาดใหญ่
๕๖