Page 77 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 77

(คนทํางานมากกว่า ๒๐๐ คน) มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย คือ ประมาณร้อยละ ๐.๒ ของจํานวนสถาน
                   ประกอบการทั้งสิ้น การค้ามนุษย์ด้านแรงงานมักจะเกิดขึ้นในสถานประกอบการขนาดย่อมที่การตรวจ

                   แรงงานไปไม่ถึง
                          ส่วนการตรวจแรงงานในเรือประมงก็มีป๎ญหาคล้ายกับการตรวจแรงงานในสถานประกอบการ
                   ขนาดย่อม  ป๎จจุบันมีลูกเรือใช้แรงงานอยู่ในเรือประมงสัญชาติไทยกลางทะเลประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน
                   โดยมีทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ซึ่งสัดส่วนในป๎จจุบันมีแนวโน้มของแรงงานข้ามชาติสูงกว่า

                   แรงงานไทยหลายเท่าตัว การที่มีเรือประมงอยู่เป็นจํานวนมากทําให้การตรวจแรงงานในเรือประมงทําได้ไม่
                   ทั่วถึง ป๎ญหาการค้ามนุษย์นับว่าเป็นป๎ญหาที่สําคัญอีกประการหนึ่งของอุตสาหกรรมประมงทะเล ด้วย
                   สภาวะการขาดแคลนแรงงานจํานวนมากจึงทําให้เกิดขบวนการนายหน้าค้าแรงงานประมง เพื่อจัดหา
                   แรงงานประมงปูอนเข้าสู่ตลาดที่ขาดแคลน  แต่แรงงานส่วนใหญ่เลือกที่จะทํางานบนบก มากกว่างานใน

                   ทะเล จึงทําให้วิธีการของนายหน้าต้องใช้การล่อลวง  การใช้ยาสลบ และการบังคับให้ชําระหนี้ เป็น
                   เครื่องมือในการนําพาแรงงานลงเรือประมง  โดยป๎จจุบันค่าหัวแรงงานที่นายหน้าขายให้กับเรือประมง มี
                   ราคาตั้งแต่ ๖,๐๐๐ – ๓๐,๐๐๐ บาท  นั่นหมายถึง แรงงานที่ถูกล่อลวงไปทํางาน ต้องทํางานใช้หนี้ใน
                   สภาพที่ไม่เต็มใจในการทํางาน โดยไม่สามารถขัดขืนหรือหนีเพื่อให้พ้นสภาพนั้นได้ เนื่องจากเรืออยู่กลาง

                   ทะเลตลอด  ระบบการจ้างแรงงานของอุตสาหกรรมประมงทะเล  ส่วนใหญ่เป็นการมอบหมายการดูแล
                   และจัดหาลูกเรือประมงให้กับผู้ควบคุมเรือ(ไต้ก๋ง)  ดังนั้น ระบบการจัดการเรื่องเอกสารจึงไม่มี
                   ประสิทธิภาพเท่าที่ควร  แรงงานประมงจํานวนมากออกเรือโดยไม่เคยมีการเซ็นสัญญาการจ้างงาน ลูกเรือ

                   ไม่ทราบค่าจ้างแรงงานที่ตนเองจะได้รับ และระยะเวลาที่ต้องออกเรือ   ยิ่งเป็นแรงงานเด็ก หรือแรงงานที่
                   ถูกนําพามาโดยขบวนการค้ามนุษย์จะไม่ทราบแม้กระทั่งว่าตนเองจะไปออกเรือที่ไหนและจะได้กลับเข้าฝ๎่ง
                   เมื่อใด
                          เมื่อพิจารณาถึงมาตรการในการคุ้มครองแรงงานภาคประมงทะเลในเรือประมงสัญชาติไทยที่มี
                   แรงงานประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คนนั้น   ก็มีเพียงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และ

                   กฎกระทรวงแรงงานฉบับที่ ๑๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑  เพื่อ
                   กําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการใช้แรงงานในกิจการประมงทะเลเป็นการเฉพาะเท่านั้น   กฎหมายและ
                   กฎกระทรวงดังกล่าวมีการคุ้มครองการใช้แรงงานประมงทะเลก่อนที่จะออกทําการประมงทะเล โดย

                   กําหนดอายุขั้นต่ําของลูกเรือประมง  ห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กอายุต่ํากว่าสิบหกปีทํางานในเรือประมง  เว้น
                   แต่เด็กนั้นอายุไม่ต่ํากว่าสิบห้าปี และบิดาหรือผู้ปกครองของเด็กนั้นทํางานอยู่ในเรือประมงนั้น  แต่
                   กฎหมายไม่มีการบังคับว่าก่อนที่ลูกจ้างจะทํางานบนเรือประมงจะต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ว่า
                   มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถที่จะทํางานบนเรือประมงได้  ไม่ได้มีการกําหนดให้มีการฝึกอาชีพหรือ

                   ฝึกงานให้แก่แรงงานประมงก่อนที่จะเริ่มทํางานบนเรือประมง  แต่เนื่องจากงานประมงทะเลเป็นงานใน
                   ลักษณะพิเศษ มีช่วงเวลาในการทํางานไม่เหมือนงานปกติทั่วไป กล่าวคือ มีการทํางานเป็นช่วงเวลาไม่
                   ต่อเนื่องกัน ลูกเรือประมงจะมีหน้าที่ปล่อยอวน เมื่อลากปลาขึ้นมาได้ก็จะทําการคัดแยกปลา และซ่อม
                   อวน  แล้วจึงปล่อยอวนอีกครั้ง เรียกว่า ๑ ลอย ใช้เวลาประมาณลอยละ ๒ – ๔ ชั่วโมงจากนั้นจะนอน

                   พักผ่อน ๒ – ๔  ชั่วโมง ก็จะทําการลากอวนขึ้นเรือและคัดแยกปลารอบใหม่ วนเวียนกันอยู่แบบนี้ ดังนั้น
                   การพักผ่อนจึงไม่ต่อเนื่อง  ตลอดจนไม่มีเวลาหยุดงานที่ชัดเจน  จึงทําให้แรงงานประมงต้องทํางานเกิน
                   กว่าวันละ ๘ ชั่วโมง จึงพักผ่อนไม่เพียง  ซึ่งเป็นเหตุแห่งการเกิดอันตรายในการทํางาน และอาจเจ็บปุวยได้
                   ง่าย  การทํางานภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ ผิดกฎหมาย ซึ่งกระทรวงแรงงานไม่สามารถควบคุมได้


                                                             ๕๗
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82