Page 67 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 67

ประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสหภาพแห่งเมียนมา ในปี ๒๕๔๕ – ๒๕๔๖ เพื่อแก้ไขป๎ญหา
                   แรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย และทํางานผิดกฎหมายอยู่ในประเทศไทยจํานวนมาก

                          การดําเนินการตามข้อตกลงดังกล่าวได้เริ่มเมื่อปี ๒๕๕๒ นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๕๒
                   แรงงานข้ามชาติที่เดินทางเข้ามาทํางานในประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถเข้าสู่
                   กระบวนการพิสูจน์สัญชาติเพื่อที่จะได้มีสถานะแรงงานถูกตามกฎหมาย MOU  ดังกล่าวเป็นกรอบการ
                   ดําเนินการที่จะทําให้แรงงานทักษะต่ํา (low-skilled)  สามารถเดินทางเข้ามาทํางานในประเทศไทยได้

                   อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
                          กระบวนการในการนําเข้าแรงงานต่างชาติเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน แบ่งออกเป็น ๑๑
                   ขั้นตอน คือ
                               ขั้นตอนที่ ๑ นายจ้างในประเทศไทยยื่นขอโควตาเพื่อจ้างแรงงานต่างด้าว ณ สํานักงานจัดหา

                   งานจังหวัด หรือ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพฯ เขตพื้นที่
                               ขั้นตอนที่ ๒ สํานักงานจัดหางานจังหวัด หรือ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพฯ เขตพื้นที่ ของ
                   กระทรวงแรงงานไทย ออกโควตาในการจ้างงานให้กับนายจ้าง
                               ขั้นตอนที่ ๓ นายจ้างยื่นคําร้องขอนําแรงงานพม่าเข้ามาทํางานในประเทศไทย ณ สํานักงาน

                   จัดหางานจังหวัด หรือสํานักงานจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่ โดยการยื่นหนังสือแสดงความต้องการ
                   แรงงาน (demand  letter)  พร้อมกับหนังสือสัญญาจ้าง โดยกระทรวงแรงงานของประเทศไทยจะเป็นผู้
                   รวบรวมเอกสารและจัดส่งเอกสารไปให้กับกระทรวงแรงงานของประเทศที่จะนําแรงงานเข้าผ่านทาง

                   สถานทูต หลังจากนั้นเอกสารจะถูกส่งให้กับคณะรัฐมนตรีของประเทศที่จะนําแรงงานเข้าเพื่อพิจารณา
                              ขั้นตอนที่ ๔  เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว กรมแรงงานของกระทรวงแรงงานของ
                   แต่ละประเทศจะประกาศรับสมัครแรงงาน
                               ขั้นตอนที่ ๕ สํานักงานท้องถิ่นของกรมแรงงานจะทําการพิจารณาใบสมัครงาน จัดการให้
                   ผู้สมัครได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น แล้วจึงส่งรายชื่อผู้สมัครที่ได้รับการอนุมัติให้กับกรมการจัดหางาน

                   ของกระทรวงแรงงานไทย ผ่านทางสถานทูต
                               ขั้นตอนที่ ๖ หลังจากที่นายจ้างได้รับการแจ้งจากกรมการจัดหางานเกี่ยวกับการอนุมัติคําร้อง
                   ในการนําเข้าแรงงานแล้ว นายจ้างจะต้องเดินทางไปยังศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศ

                   ไทย  ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติ คือ เมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่ผิด
                   กฎหมายและต้องการทํางานในประเทศไทย เร่งไปดําเนินการเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย ภายใน ๑๒๐ วัน
                   รวมทั้งต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ไปดําเนินการให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย และกลับมาทํางานกับ
                   นายจ้างรายเดิมได้ โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ หากนายจ้างไม่ดําเนินการจะถูก

                   ดําเนินคดีและแรงงานต่างด้าวจะถูกผลักดันกลับประเทศต้นทาง
                              ขั้นตอนที่ ๗ กระทรวงแรงงานไทยแจ้งรายชื่อของนายจ้างที่จะเดินทางไปรับแรงงานผ่านทาง
                   สถานทูต โดยกรมการจัดหางานของประเทศไทยจะจัดทํารายชื่อแรงงานที่ได้รับการอนุมัติเป็น
                   ภาษาอังกฤษให้แก่นายจ้าง เพื่อให้นายจ้างสามารถนําไปแสดงกับเจ้าหน้าที่ว่าพวกเขาพวกได้รับอนุญาต

                   ให้มารับแรงงาน
                              ขั้นตอนที่ ๘ แรงงานที่ได้รับการอนุมัติให้เข้าทํางานในประเทศไทยจะต้องยื่นขอทําหนังสือ
                   เดินทางชั่วคราว




                                                             ๔๗
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72