Page 73 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 73
๗. เมื่อมีมติผ่อนผันในแต่ละปี พบว่าแรงงานที่ครบกําหนดผ่อนผัน จะหายไปจํานวนหนึ่ง
โดยหลบซ่อนอยู่ใต้ดิน ในขณะที่บางปีที่เปิดให้ผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนผ่อนผันมาก่อนมาขึ้นทะเบียนได้
ก็จะมียอดขึ้นทะเบียนสูงขึ้น สําหรับปีที่รัฐมีนโยบายเช่นนี้ จะเกิดปรากฎการณ์ลักลอบเข้าเมืองขนาน
ใหญ่ เพื่อที่จะเข้ามารับการผ่อนผัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การผ่อนผันไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุม
แรงงานเข้าให้สู่ระบบ เพราะก็ยังมีแรงงานผิดกฎหมายใต้ดินอีกจํานวนมาก และยังมีผู้ลักลอบเข้ามา
อีกจํานวนมาก ในด้านการพิสูจน์สัญชาติ ที่กําหนดให้แรงงานที่ผ่านการผ่อนผันไปพิสูจน์สัญชาติ ก็
ปรากฏว่าการพิสูจน์สัญชาติทําได้ล่าช้า เนื่องจากข้อจํากัดในการตรวจสอบการเป็นพลเมืองของ
ประเทศต้นทาง ความล่าช้าก็กลายเป็นข้ออ้างให้นายจ้าง จ้างแรงงานผ่อนผันไปเรื่อยๆ โดยไม่นําพา
แรงงานไปพิสูจน์สัญชาติ
๘. ในการดําเนินการตามระเบียบของรัฐ ได้ก่อให้เกิดธุรกิจนายหน้าหลากหลายรูปแบบ ที่
เป็นที่มาของผลประโยชน์มหาศาล เช่น นายหน้าจัดหาแรงงานตาม MOU นายหน้าจดทะเบียนผ่อน
ผันแรงงานหลบหนีเข้าเมือง นายหน้าพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งนายหน้ารับเหมาช่วงแรงงาน นอกจากนั้น
ยังมีธุรกิจต่อเนื่อง เช่น บริการรถขนส่งแรงงานไปพิสูจน์สัญชาติที่ชายแดน (กรณีพม่า) บริการ
จัดเตรียมเอกสาร หรือล่าม บางกรณีมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปมีผลประโยชน์ด้วย
๙. การสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมือง ปราบปรามแรงงานผิดกฎหมาย และส่งกลับแรงงานผิด
กฎหมายโดยหน่วยงานรัฐ แม้สามารถทําได้ส่วนหนึ่ง แต่มีอีกมากที่ไม่ได้ผล เจ้าหน้าที่รัฐที่ฉ้อฉลได้
กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผลประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติ การฉ้อฉลส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะใช้
อํานาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ เช่น ในการตรวจจับขบวนการลักลอบเข้าเมือง การปราบรามการ
หลบซ่อนทํางานผิดกฎหมาย การส่งแรงงานกลับ ซึ่งกล่าวได้ว่าในทุกขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่สามารถใช้
กฎหมายเพื่อเอาผิดแรงงานต่างด้าว ก็เป็นที่มาของการใช้อํานาจหน้าที่นั้นเพื่อแสวงหาผลประโยชน์
ส่วนตน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีระบบตรวจสอบควบคุมเจ้าหน้าที่ที่ได้ผล มีแต่การใช้อํานาจหน้าที่ในทางมิ
ชอบที่ฝ๎งลึกในระบบราชการมากขึ้น
๔.๑.๒ การส่งแรงงานไทยไปท างานในต่างประเทศ
สําหรับนโยบายในการส่งแรงงานไทยไปทํางานในต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายมี ๕ วิธี
คือ (๑) บริษัทจัดหางานจัดส่งไป (๒) กรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่งไปทํางาน (๓) ผู้ที่จะไปทํางานติดต่อ
หางานเอง ซึ่งต้องแจ้งก่อนการเดินทางไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน (๔) นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างของตน
ไปทํางาน และ (๕) นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างของตนไปฝึกงาน
(๑) บริษัทจัดหางานจัดส่งไป กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานได้กําหนดมาตรการที่
เข้มงวดให้บริษัทจัดหางานปฏิบัติดังนี้
- ต้องแสดงใบอนุญาตการจดทะเบียนต่อกรมการจัดหางาน ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นชัด ณ
สํานักงานที่ได้รับอนุญาต
- ต้องจดทะเบียนลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานที่ทํางานให้บริษัท ต้องเรียกเก็บค่าหัวตาม
กฎหมายและออกใบเสร็จรับเงินให้คนหางานไว้เป็นหลักฐาน ไม่ใช้สายหรือเป็นนายหน้าเถื่อน
- เรียกเก็บเงินล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓๐ วันก่อนเดินทาง ถ้าไม่ส่งไปทํางานตามกําหนด ต้องคืนเงิน
ให้ทันที
- ต้องส่งคนงานไปตรวจโรค ณ สถานพยาบาลตามที่กรมการจัดหางานประกาศรายชื่อไว้
๕๓