Page 47 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 47
๒.๔ กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ประเทศไทยได้มีการบังคับใช้กฎหมายทั้งกฎหมายเฉพาะและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปูองกัน
และปราบปรามค้ามนุษย์ ดังนี้
๒.๔.๑ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ สาระส าคัญของพระราชบัญญัติฯนี้
สามารถสรุปประเด็นหลักๆ ได้ ๔ ประการ คือ
๑. นิยามความหมายที่ครอบคลุม มีการให้ค านิยามและขอบเขตของการค้ามนุษย์ที่
ครอบคลุมทุกกลุ่มเปูาหมาย ครอบคลุมลักษณะของการกระท าความผิด โดยเป็นค านิยามที่สอดคล้องไป
กับพิธีสารเพื่อการปูองกัน ปราบปรามและลงโทษการกระท าผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและ
เด็ก โดยครอบคลุมกลุ่มผู้เสียหายที่เป็นชายด้วย ดังนั้น กฎหมายไทยจะมีความพร้อมในการประสานงาน
ในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และสามารถด าเนินการไปตามกฎหมายระหว่างประเทศที่
เกี่ยวข้องได้
๒. เพิ่มอ านาจในการบังคับใช้กฎหมาย มีการระบุอัตราโทษฐานความผิดการค้ามนุษย์ที่
ชัดเจน เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องในพระราชบัญญัติเดิม ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่าชื่อกฎหมายจะตัดค าว่า
“มาตรการ” ออกไป เพื่อให้น้ าหนักกับการลงโทษมากขึ้น โดยสามารถบังคับใช้ลงโทษได้ทั้งผู้กระท าผิดที่
เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ได้ทั้งทางแพ่งและอาญา โดยจ าแนกระวางโทษดังนี้ กระท าแก่บุคคลอายุ
เกิน ๑๘ ปี มีโทษจ าคุกตั้งแต่ ๔ – ๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๘๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐ บาท กระท าแก่บุคคล
อายุเกิน ๑๕ – ๑๘ ปี มีโทษจ าคุกตั้งแต่ ๖ – ๑๒ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ – ๒๔๐,๐๐๐ บาท และ
กระท าแก่บุคคลอายุไม่เกิน ๑๕ ปี มีโทษจ าคุกตั้งแต่ ๘ – ๑๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๖๐,๐๐๐ – ๓๐๐,๐๐๐
บาท ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐ – ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ใน
กรณีที่ผู้กระท าผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องระวางโทษเป็น ๒ เท่าของโทษที่ก าหนดไว้ส าหรับความผิดนั้น
และถ้าเป็นสมาชิกในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการทุกคณะตามพระราชบัญญัตินี้จะต้องระวางโทษ
เป็น ๓ เท่า
การให้อ านาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ในการสืบสวนสอบสวน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะ
ประกอบด้วยพนักงานฝุายปกครองหรือต ารวจชั้นผู้ใหญ่ รวมทั้งข้าราชการซึ่งด ารงต าแหน่งไม่ต่ ากว่าระดับ
สาม โดยรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีอ านาจ
เพิ่มมากขึ้น เช่น ตามมาตรา ๒๗ สามารถมีหนังสือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยค าหรือส่งเอกสารหลักฐานได้
สามารถเข้าตรวจตัวบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจเป็นผู้เสียหาย ตรวจค้นยานพาหนะหรือเข้าไปใน
เคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น ยึดหรืออายัด หรือเพื่อช่วยผู้เสียหาย โดยตามมาตรา ๒๙ อาจจัด
ให้ผู้เสียหายอยู่ในการคุ้มครองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง และในกรณีที่มีความจ าเป็นให้สามารถ
ร้องขอต่อศาลในการขออนุญาตให้การคุ้มครองเป็นการชั่วคราวได้ โดยศาลจะอนุญาตได้ไม่เกิน ๗ วัน โดย
ก าหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ และให้จัดอยู่ในสถานที่ดูแลซึ่งไม่ใช่ห้องขัง อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ตามมาตรา
๓๐ พนักงานเจ้าหน้าที่ยังสามารถยื่นค าขอต่อผู้มีอ านาจเพื่อให้มีค าสั่งให้ได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูล
ข่าวสารได้ ทั้งนี้ กฎหมายได้ก าหนดขอบเขตของพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้โดยจะต้องด าเนินการตาม
หลักเกณฑ์การปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในกฎหมายเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ในการใช้อ านาจดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น
๒๗