Page 44 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 44

(๕)  อนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ  (United  Nations  Convention
                   against Transnational Organized Crime)

                                 รัฐบาลไทยให้ความส าคัญในเรื่ององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและมีนโยบายที่จะปูองกัน
                   และปราบปรามอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรตลอดมาและเมื่อองค์การสหประชาชาติจัดท า
                   อนุสัญญาสหประชาชาติ เพื่อต่อต้านอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ซึ่งเพิ่มเติมโดยพิธีสารเพื่อ
                   ปูองกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก และพิธีสารเพื่อต่อต้านการลักลอบ

                   ขนผู้ย้ายถิ่นโดยทางบก ทะเลและอากาศ ประเทศไทยได้ลงนาม ในอนุสัญญาสหประชาชาติและพิธีสารทั้ง
                   สองฉบับดังกล่าว
                                 อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ  เป็นกรอบความร่วมมือทาง
                   กฎหมายและเป็นการก าหนดมาตรฐานระดับสากล (Standard setting) เพื่อร่วมกันต่อต้านอาชญากรรม

                   ข้ามชาติ ดังมีหลักการและสาระส าคัญกล่าวคือ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการปูองกันและปราบปราม
                   องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีขอบเขตการบังคับใช้กับการปูองกัน
                   การสืบสวนและการฟูองคดีอาญา ส าหรับการมีส่วนร่วมในกลุ่มองค์กรอาชญากรรม  การฟอกทรัพย์สิน
                   จากการได้มาจากการกระท าความผิด การฉ้อราษฎร์บังหลวง การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม และ

                   ส าหรับความผิดที่มีโทษจ าคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๔ ปีขึ้นไป  เมื่อมีลักษณะเป็นความผิดข้ามชาติและเกี่ยวข้อง
                   กับองค์กรอาชญากรรม รวมถึงการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศตามอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย เรื่อง
                   การส่งผู้ร้ายข้ามแดน  เรื่องการโอนตัวนักโทษ เรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา  ซึ่งนอกจาก

                   ด้วยวิธีการโดยปรกติดแล้ว  ยังอาจท าโดยการใช้ดีวีทัศน์ข้ามประเทศหรือวิธีสื่อสารอื่นที่ทันสมัย  เรื่อง
                   วิธีการสอบสวนร่วมกัน เรื่องการโอนการด าเนินคดี และเรื่องความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รักษา
                   กฎหมาย  และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญาอาจเป็นในรูปต่างๆ เช่น การจัดหาพยานหลักฐาน
                   การสืบพยานวัตถุ การค้นและยึดและอายัดทรัพย์ทรัพย์สิน เป็นต้น
                                 นอกจากนี้รัฐภาคีจะต้องจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองพยานจากการล้างแค้น

                   หรือการข่มขู่ และจะต้องจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย  โดยเฉพาะ
                   จากการล้างแค้นหรือการข่มขู่ รวมถึงก าหนดให้มีการรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อสนเทศเกี่ยวกับลักษณะ
                   ของอาชญากรรม  การฝึกอบรมและการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และมาตรการอื่นว่าด้วยการพัฒนา

                   ทางเศรษฐกิจและความช่วยเหลือทางวิชาการ
                                 กล่าวโดยสรุปการค้ามนุษย์ในปัจจุบันเป็นลักษณะหนึ่งของอาชญากรรมองค์กร  ใน
                   ปัจจุบันมีการแพร่ขยายไปเป็นการกระท าความผิดข้ามพรมแดนของประเทศ กลายเป็นอาชญากรรม
                   องค์กรข้ามชาติ  และในสังคมโลกไร้พรมแดน  การกระท าความผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมีมาก

                   ขึ้นและพัฒนารูปแบบ รวมถึงมีความซับซ้อน ดังนั้น มาตรการ กลไกการปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้า
                   มนุษย์ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ และสอดคล้องกับบริบททางสังคมในการปูองกัน
                   แก้ไขปัญหา เพื่อให้ปัญหาสังคมดังกล่าวลดลงต่อไป








                                                             ๒๔
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49