Page 51 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 51

๖. มีการบัญญัติฐานความผิดและบทก าหนดโทษแก่ผู้หน่วงเหนี่ยวกักขัง ท าร้ายร่างกาย
                   หรือขู่เข็ญ ด้วยประการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นกระท าการค้าประเวณี ระวางโทษจ าคุก ๑๐ – ๒๐ ปี และปรับ

                   ๒๐๐,๐๐๐ – ๔๐๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๑๒

                          ๔.๒.๓  พระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.
                   ๒๕๔๐

                          มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ มีสาระส าคัญดังนี้
                                 ๑. พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้บัญญัติถึงการกระท าความผิดเกี่ยวกับการค้าหญิงหรือเด็กไว้
                   ครอบคลุมถึงการซื้อ ขาย จ าหน่ายพามาจากหรือส่งไปยังที่ใด รับ หน่วงเหนี่ยว หรือกักขัง ซึ่งหญิงหรือ
                   เด็ก หรือจัดให้หญิงหรือเด็กกระท าการหรือยอมรับการกระท าใด เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เพื่อการ

                   อนาจาร หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบส าหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ว่าหญิงหรือเด็กนั้นจะ
                   ยินยอมหรือไม่ก็ตาม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยการปูองกันและ
                   ปราบปรามการค้าประเวณี กฎหมายว่าด้วยสวัสดิภาพเด็ก ตามมาตรา ๕
                                 ๒. ให้อ านาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย โดย มาตรา ๔ ได้ระบุค านิยาม

                   ของค าว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” ไว้ว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการไม่ต่ ากว่าระดับ ๓
                   หรือพนักงานฝุายปกครองหรือต ารวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                                 มาตรา ๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อปูองกันและปราบปรามการกระท า

                   ความผิดตามกฎหมายที่ระบุในมาตรา ๕ มีอ านาจดังต่อไปนี้
                                 ๑) มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยค า หรือให้ส่งเอกสารหรือพยานหลักฐาน
                                 ๒) ตรวจตัวหญิงหรือเด็กที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระท าความผิด
                                    ตามกฎหมายที่ระบุในมาตรา ๕ แต่ถ้าผู้เสียหายเป็นหญิงหรือเด็กหญิงจะต้องให้หญิง
                                    อื่นเป็นผู้ตรวจ

                                 ๓) ตรวจค้นสถานที่หรือยานพาหนะใดๆ แต่การตรวจค้นสถานที่ให้กระท าในเวลา
                                    ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่
                                    ด าเนินการทันทีหญิงหรือเด็กนั้นอาจถูกใช้ก าลังประทุษร้าย หรือผู้กระท าผิดจะท า

                                    การโยกย้ายหรือซ่อนเร้นหญิงหรือเด็กนั้นเสียก่อน พนักงานเจ้าหน้าที่จะท าการตรวจ
                                    ค้นสถานที่ในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมต ารวจหรือผู้ที่
                                    อธิบดีกรมต ารวจมอบหมายส าหรับในเขตกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
                                    หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายส าหรับในเขตจังหวัดอื่น


                          ๒.๔.๔  พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
                          กฎหมายฉบับนี้มีประเด็นที่น่าสนใจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ที่ระบุไว้ในหมวด ๒ การ
                   เข้าและออกนอกราชอาณาจักร ได้แก่

                                 ๑. มีการบัญญัติฐานความผิดและบทก าหนดโทษกรณีบุคคลไม่เดินทางเข้ามาหรือออกไป
                   นอกราชอาณาจักรตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง ตามมาตรา ๑๑  ระวางโทษจ าคุกไม่เกิน ๒ ปี และ
                   ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๒




                                                             ๓๑
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56