Page 46 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 46

๖)  สิทธิในการไม่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงเนื่องมาจากเพศสภาพ  เหยื่อของการค้ามนุษย์ที่
                   เป็นสตรีจะถูกบังคับให้ขายบริการทางเพศวันละหลายครั้งซึ่งเกินขีดความสามารถทางร่างกาย นับเป็นการ

                   ละเมิดสิทธิมนุษยชน และหมิ่นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง
                          ๗)  สิทธิในการสมาคม (The  right  to  freedom  of  association) เหยื่อของการค้ามนุษย์อยู่
                   ภายใต้สภาพการถูกบังคับให้ท างานหรือขายบริการทางเพศ นายจ้างไม่อนุญาตให้คบหาสมาคมกับผู้ใด
                   เพราะกลัวความลับรั่วไหล และกลัวคนแปลกหน้าพาหลบหนี

                          ๘)  สิทธิในการเคลื่อนไหว (The right to freedom of movement) เหยื่อของการค้ามนุษย์จะ
                   ถูกบังคับให้อยู่ในสถานที่คับแคบในที่ท างานหรือในบ้านพักที่ใช้กักกัน ไม่มีสิทธิที่จะเคลื่อนไหวหรือ
                   เดินทางไปในที่ที่ต้องการ
                          ๙)  สิทธิในการที่เข้าถึงการมีสุขภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดี  (The  right  to  the  highest

                   attainable  standard  of  physical  and  mental  health) นายจ้างไม่เคยค านึงถึงสุขภาพทั้งทาง
                   ร่างกายของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ หวังแต่ประโยชน์ที่จะได้จากการบังคับให้ท างานอย่างหนัก
                   แม้ร่างกายจะทรุดโทรม จิตใจจะปวดร้าวเพียงใด เหยื่อของการค้ามนุษย์ก็ไม่มีสิทธิเข้าถึงการ
                   รักษาพยาบาล

                          ๑๐)  สิทธิในการท างานในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออ านวย (The  right  to  just  and  favorable
                   conditions of work) สถานที่ที่เหยื่อของการค้ามนุษย์ถูกบังคับให้ท างานเป็นที่ปกปิดมิดชิด เป็นโรงงาน
                   นรกที่ดัดแปลงมาจากที่อยู่อาศัยหรือห้องพักที่คับแคบ สภาพแวดล้อมไม่ปลอดโปร่ง ไม่เอื้อต่อการท างาน

                          ๑๑)  สิทธิในการใช้ชีวิตในสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสม  (The  right  to  an  adequate
                   standard of living) การใช้ชีวิตของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ไม่
                   ว่าจะเป็นที่พักอาศัย ที่ท างาน อาหารการกิน การพักผ่อน ฯลฯ ไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ แต่ถูกจัดการตาม
                   ความพอใจของนายจ้างทั้งสิ้น
                          ๑๒)  สิทธิในการมีประกันทางสังคม (The right to social security) เหยื่อของการค้ามนุษย์ไม่มี

                   สิทธิในการมีประกันสังคมเพราะนายจ้างประกอบกิจการที่ผิดกฎหมาย ไม่มีการขึ้นทะเบียนกับรัฐบาล จึง
                   ไม่มีการเข้าสู่ระบบการประกันสังคมแต่อย่างใด
                          ๑๓)  สิทธิของเด็กในการได้รับการปกปูองดูแลที่พิเศษกว่าปกติ (The  right  of  children  to

                   special  protection) เหยื่อของการค้ามนุษย์ที่เป็นเด็กมักจะอยู่ในกิจการที่ต้องใช้มือขนาดเล็กในการ
                   ท างาน หรือในกิจการที่เรียกร้องความสงสารเห็นใจ เช่น การบังคับให้ไปขายดอกไม้ หรือขอทาน เป็นต้น
                   เด็กเหล่านี้ถูกบังคับให้ท างานหนัก ท ารายได้ให้ได้ตามเปูาหมายที่นายจ้างก าหนดโดยที่นายจ้างไม่เคยมี
                   ความสนใจในการปกปูองดูแลเด็กเป็นกรณีพิเศษแต่อย่างใด

                          จากการจ าแนกหลักสิทธิมนุษยชนโดยละเอียด ๑๓ ประการดังกล่าว จะเห็นได้ชัดว่าการค้ามนุษย์
                   ขัดแย้งกับหลักการสิทธิมนุษยชนทุกข้อ และขัดแย้งกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของ
                   สหประชาชาติซึ่งนานาอารยประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ได้ให้สัตยาบรรณปฏิญญาสากลฉบับนี้
                   นอกจากนี้ยังขัดแย้งกับกติการะหว่างประเทศ อนุสัญญา และพิธีสารต่างๆอีกหลายฉบับที่ประเทศไทยได้

                   ให้สัตยาบรรณแล้ว  ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาว่า
                   ด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญาองค์การแรงงาน
                   ระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๘๒ และอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ



                                                             ๒๖
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51