Page 45 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 45

๒.๓.๓ การขัดกันระหว่างการค้ามนุษย์กับหลักสิทธิมนุษยชน
                          สิทธิมนุษยชนควรเป็นหัวใจหลักของการด าเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยที่รัฐจะต้องมีความ

                   รับผิดชอบตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ต้องด าเนินการอย่างเต็มความสามารถในการปูองกัน
                   ปราบปรามด าเนินคดี และคุ้มครองผู้เสียหาย และการด าเนินการดังกล่าว ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ
                   มนุษยชนและศักดิศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้เสียหาย การค้ามนุษย์ส่งผลให้สิทธิมนุษยชนของบุคคลผู้
                   ซึ่งตกเป็นเหยื่อนั้นถูกละเมิด เพราะบุคคลเหล่านั้นจะถูกควบคุมตัว คุกคาม และบังคับให้ท างานที่ตนเอง

                   ไม่ต้องการ การค้ามนุษย์เป็นการท าให้เหยื่ออยู่ในสถานะเยี่ยงทาสและไม่สามารถที่จะใช้สิทธิของตัวเองได้
                   ซึ่งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล การกักขังหน่วงเหนี่ยว การบังคับใช้
                   แรงงาน การใช้แรงงานเพื่อขัดหนี้ การถูกบังคับให้แต่งงาน และการล่วงละเมิดทางเพศนั้นถือเป็นการ
                   ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อผู้เสียหายอย่างร้ายแรง การค้ามนุษย์ขัดกับหลักการสิทธิ

                   มนุษยชน ๑๓ ประการ คือ
                          ๑)  หลักของความเท่าเทียมระหว่างบุคคลโดยไม่ค านึงถึงเชื่อชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา ความคิด
                   ทางเมืองและอื่นๆ ประเทศที่ก าเนิดหรือสังคมที่ตนเองถือก าเนิด ทรัพย์สิน การเกิดหรือสถานะอื่นๆ (The
                   prohibition of discrimination on the basis of race, color, sex, language, religion, political

                   or other opinion, national or social origin, property, birth, or other status) เหยื่อของการค้า
                   มนุษย์มักจะเป็นผู้ที่มาจากประเทศที่ยากจน มีเชื้อชาติและสีผิวที่แตกต่างจากประชาชนของประเทศที่
                   พัฒนาแล้ว ซึ่งจะปฏิบัติต่อผู้ที่มีความแตกต่างจากตนแบบไม่เท่าเทียม ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในยุคล่า

                   อาณานิคมในช่วง ค.ศ. ๑๕๐๐ – ค.ศ. ๑๘๐๐ ที่มีการบังคับชนผิวด าในอาฟริกามาเป็นใช้แรงงานเยี่ยง
                   ทาสในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันเหยื่อของการค้ามนุษย์มักจะมาจากประเทศที่ยากจน มีเชื่อชาติ สีผิว
                   ภาษา ศาสนา และสถานะทางเศรษฐกิจ ที่แตกต่างจากประชาชนที่อยู่ในประเทศที่ร่ ารวย การตกเป็น
                   เหยื่อของการค้ามนุษย์จึงขัดกับหลักของความเท่าเทียมระหว่างบุคคลโดยไม่ค านึงถึงเชื่อชาติ สีผิว ภาษา
                   ศาสนา ความคิดทางเมืองและอื่นๆ อย่างชัดเจน

                          ๒)  สิทธิในการมีชีวิต (The right to life) เหยื่อของการค้ามนุษย์ไม่มีสิทธิในการมีชีวิตหรือร้อง
                   ขอการมีชีวิตที่ดีได้เลย หากขัดขืนค าสั่งของนายจ้างหรือท าให้นายจ้างไม่พอใจ อาจถูกฆ่าตายได้
                   ตลอดเวลา

                          ๓)  สิทธิในเสรีภาพและความมั่นคง (The right  to liberty  and security)  เหยื่อของการค้า
                   มนุษย์ไม่มีสิทธิเสรีภาพในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการคิด การแสดงความคิดเห็น การย้ายถิ่นที่อยู่ หรือกระท า
                   การอื่น ๆ ตามที่ตัวเองต้องการ ต้องท าตามค าสั่งของนายจ้างเท่านั้น จึงไม่มีความมั่นคงในชีวิต
                          ๔)  สิทธิในการไม่ตกเป็นทาส การบังคับใช้แรงงานหรือการถูกผูกมัดให้ใช้แรงงาน  (The  right

                   not to be submitted to slavery, servitude, forced labor or bonded labor) เหยื่อของการค้า
                   มนุษย์มีชีวิตคล้ายกับทาส ถูกกักขัง ถูกบังคับให้ท างาน หรือถูกผูกมัดด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่เหยื่อต้อง
                   ท างานชดใช้นายหน้าหรือนายจ้าง หากฝุาฝืนก็ถูกท าร้าย
                          ๕)  สิทธิในการไม่ถูกทรมานและการกระท าที่ทารุณโหดร้ายอื่นๆ  (The  right  not  to  be

                   subjected to  torture  and/or  cruel,  inhuman,  degrading  treatment  or  punishment) การ
                   ทรมานและการกระท าที่ทารุณโหดร้ายต่างๆ นานา มักเกิดขึ้นกับเหยื่อของการค้ามนุษย์เสมอหากนายจ้าง
                   ไม่พอใจ หรือได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดจากเหยื่อของการค้ามนุษย์




                                                             ๒๕
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50