Page 48 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 48

การขออนุญาตต่อศาล การรายงานผู้บังคับบัญชา อีกทั้งยังต้องแสดงบัตรประจ าตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่
                   ด้วย

                              นอกจากนี้ยังให้อ านาจพนักงานอัยการสามารถน าผู้เสียหายหรือพยานบุคคลเพื่อขอสืบพยาน
                   ไว้ก่อนได้ โดยระบุการกระท าความผิดและเหตุแห่งความจ าเป็น ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดให้กระบวนการยุติธรรม
                   ด าเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น  ตามมาตรา ๓๑  โดยเหตุผลในการขอให้มีการสืบพยานไว้ก่อตามกฎหมาย
                   ฉบับนี้ได้ก าหนดไว้กว้างกว่า พระราชบัญญัติมาตรการในการปูองกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก

                   พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๑ และ ๒ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๗ ทวิ
                              ความผิดฐานการค้ามนุษย์ถือเป็นความผิดมูลฐาน ตาม พระราชบัญญัติปูองกันและ
                   ปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒  ซึ่งการก าหนดดังกล่าวจะช่วยให้สามารถใช้วิธีการสืบสวนสอบสวน
                   ที่มีประสิทธิภาพได้ รวมทั้งอ านาจในการยืดทรัพย์ตามที่ได้กฎหมายปราบปรามการฟอกเงินได้เอื้อต่อ

                   วิธีการปราบปรามขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ
                              ๓.  ให้การคุ้มครองผู้เสียหายที่เข้มแข็งขึ้น โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
                   ของมนุษย์ได้รับมอบหมายให้พิจารณาความช่วยเหลือที่เหมาะสมในด้านที่พัก อาหาร การักษาพยาบาล
                   การบ าบัดฟื้นฟู การให้การศึกษา การฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การส่งกลับไปยัง

                   ประเทศเดิมหรือภูมิล าเนาของผู้นั้น การด าเนินคดีเพี่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหาย และการ
                   อนุญาตให้ท างานเป็นการชั่วคราวตามกฎหมาย โดยค านึงเหตุผลทางด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก ดังนี้
                              การจัดสถานที่คุ้มครองชั่วคราวและสถานคุ้มครองหลัก ซึ่งในขณะนี้ กรมพัฒนาสังคมและ

                   สวัสดิการได้รับมอบหมายให้จัดบริการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายในการรองรับการด าเนินงานตาม
                   กฎหมายใหม่นี้ ได้แก่ การจัดสถานที่ให้การคุ้มครองชั่วคราว ตามมาตรา ๒๙  ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่ในการ
                   สอบสภาพข้อเท็จจริงบุคคลที่สงสัยว่าอาจตกเป็นผู้เสียหาย โดยจัดสถานที่สัมภาษณ์และดูแลอย่าง
                   เหมาะสมและค านึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนโดยเคร่งครัด และมาตรการและการจัดสถานคุ้มครองผู้เสียหาย
                   ซึ่งการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ในระหว่างที่อยู่การดูแล ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาอาชีพ ตามมาตรา ๓๓

                   ทั้งนี้ นัยตามมาตรานี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการให้ผู้เสียหายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น
                   โดยให้มีการแจ้งสิทธิของผู้เสียหายที่พึงได้รับการคุ้มครองในแต่ละขั้นตอน ขอบเขตและระยะเวลาในการ
                   ให้ความช่วยเหลือ และต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายก่อนด้วย รวมทั้งแจ้งสิทธิที่จะเรียกและได้รับ

                   ค่าสินไหมทดแทน โดยให้ค านึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความแตกต่างทางเพศ อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ
                   ประเพณี วัฒนธรรมของผู้เสียหาย
                              การแจ้งสิทธิของผู้เสียหายที่พึงได้รับการคุ้มครองในแต่ละขั้นตอนทั้งก่อน ระหว่าง และหลัง
                   การช่วยเหลือตลอดจนขอบเขต ระยะเวลาในการด าเนินการช่วยเหลือในแต่ละขั้นตอน และต้องรับฟัง

                   ความคิดเห็นของผู้เสียหายก่อนด้วย
                              การแจ้งให้ทราบถึงสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา ๓๔ ก าหนดให้พนักงานสอบสวน
                   หรือพนักงานอัยการแจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนและสิทธิที่จะได้รับความ
                   ช่วยเหลือทางกฎหมาย และให้พนักงานอัยการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหาย  และตามมาตรา

                   ๓๕  ก าหนดให้เป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหาย  ซึ่งการ
                   เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๓๕ นี้ เป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากมูลละเมิด
                   ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ – ๔๔๘ จึงเป็นกรณีเดียวกันกับการขอให้ศาลสั่งให้
                   ชดใช้ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๔๔/๑ และ ๔๔/๒


                                                             ๒๘
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53