Page 52 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 52
๒. ระบุห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อเป็นการค้า
ประเวณี การค้าหญิงหรือเด็ก การค้ายาเสพติดให้โทษ การลักลอบหนีภาษีศุลกากรหรือเพื่อประกอบ
กิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา
๑๒
๓. มีการบัญญัติฐานความผิดและบทก าหนดโทษส าหรับผู้น าหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาใน
ราชอาณาจักร ระวางโทษจ าคุกไม่เกิน ๑๐ ปี และปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๓
๔. มีการบัญญัติฐานความผิดและบทก าหนดโทษแก่ผู้อุปการะหรือช่วยด้วยประการใดๆ
ให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง พ้นการจับกุม ระวางโทษจ าคุกไม่เกิน ๕ ปี และปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
ตามมาตรา ๖๔
๕. มีการบัญญัติฐานความผิดและบทก าหนดโทษแก่ผู้อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับ
อนุญาตหรือการอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน ระวางโทษจ าคุกไม่เกิน ๒ ปี และปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐
บาท ตามมาตรา ๘๑
๒.๔.๕ พระราชบัญญัติคุ้มแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๐
พระราชบัญญัตินี้ เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ์ ประกาศใช้เนื่องจากประกาศคณะ
ปฏิวัติ ฉบับ ๑๐๓ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๕ พระราชบัญญัตินี้มีประเด็นที่น่าสนใจและมีส่วนเกี่ยวเนื่อง
กับการค้ามนุษย์ เช่น หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้นายจ้างหรือผู้ซึ่งเป็นหัวหน้างาน ผู้ควบคุม
งานหรือตรวจงานกระท าการล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงและเด็ก นอกจากนี้ยังมีการก าหนด
หมวด ๓ การใช้แรงงานหญิง มาตรา ๓๘ – ๔๓ หมวด ๔ การใช้แรงงานเด็ก มาตรา ๔๔ – ๕๒ และ
ผู้ฝุาฝืน มีโทษตาม มาตรา ๑๔๔ หรือ ๑๔๘ แล้วแต่กรณี
๒.๔.๖ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๔๕๖
พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้เนื่องจากประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน
๒๕๑๕ และประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ ๒๙๔ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ มีประเด็นที่น่าสนใจ
และมีส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการค้ามนุษย์ บัญญัติฐานความผิดฐานกระท าการอันเป็นข้อห้ามปฏิบัติต่อเด็กไว้
ในมาตรา ๒๖ ดังนี้
มาตรา ๒๖ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใด
กระท าการ ดังต่อไปนี้
(๑) กระท าหรือละเว้นการกระท าอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(๒) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจ าเป็นแก่การด ารงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่
ในความดูแลของตนจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะ
ท าให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระท าผิด
(๔) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่
บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระท าของทางราชการหรือได้รับ
อนุญาตจากทางราชการแล้ว
๓๒