Page 42 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 42

๑) สิทธิในการมีชีวิตรอด สิทธิการอยู่รอด สิทธิในการบริการสาธารณสุข มาตรฐานความ
                                    เป็นอยู่ การประกันสิทธิพื้นฐานทางด้านกฎหมาย สิทธิความเป็นพลเมือง มีชื่อ มี

                                    ทะเบียนบ้าน มีสัญชาติ ฯลฯ
                                 ๒) สิทธิในการได้รับการปกปูองคุ้มครอง ปลอดจากการเอารัดเอาเปรียบทางเพศ ทาง
                                    แรงงานการทารุณกรรมโหดร้ายมีส่วนร่วมในสงครามความล าบาก
                                 ๓) สิทธิในการได้รับการพัฒนา การศึกษา ฝึกอาชีพ นันทนาการ สุนทรียภาพ วัฒนธรรม

                                    จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
                                 ๔) สิทธิในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น แสดงออก แสวงหาข้อมูล ข่าวสาร ความคิด
                                    มโนธรรม ศาสนา กระบวนการยุติธรรม และการเมืองการปกครอง
                                 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ประกอบด้วยบทบัญญัติ ๕๔ ข้อ โดยที่ประเทศไทยเข้าร่วม

                   เป็นภาคีในปี ๒๕๓๕ ได้กล่าวว่า รัฐจะต้องตระหนักต่อการคุ้มครองสิทธิของเด็ก และบทบาทหน้าที่ในการ
                   ก าหนดมาตรการต่างๆในการคุ้มครองเด็กจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (มาตรา  ๓๒)
                   การใช้เด็กในการกระท าที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (มาตรา  ๓๓)  โดยมีบทบัญญัติที่ส าคัญและเกี่ยวข้องกับ
                   การคุ้มครองเด็กจากการตกเป็นเหยื่อจากค้ามนุษย์โดยตรง ด้วยการก าหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐ ได้แก่

                                 ข้อ ๓๕ รัฐภาคีจะด าเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ทั้งในระดับประเทศ ระดับทวิภาคี
                   และพหุภาคี เพื่อปูองกันการลักพา การขาย หรือการลักลอบค้าเด็ก ไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใด หรือใน
                   รูปแบบใด

                                 ข้อที่ ๓๖ รัฐภาคีจะคุ้มครองเด็กจากการถูกแสวงหาประโยชน์ทุกรูปแบบอื่นทั้งหมดที่
                   เป็นผลร้ายต่อสวัสดิภาพของเด็กไม่ว่าในด้านใด
                                 โดยที่บทบัญญัติข้อ ๓๕ ถือเป็นแม่บทที่รองรับในการพัฒนาระบบ กฎหมายทั้งใน
                   ระดับประเทศและระดับทวิภาคี หรือพหุภาคี เพื่อเป็นการปูองกันปัญหาการค้าเด็ก


                                 (๓)  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention
                   on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women – CEDAW) อนุสัญญา
                   ฉบับนี้ได้ผ่านมติของสหประชาชาติเมื่อปี ๒๕๒๒ และมีผลบังคับใช้ในปี ๒๕๒๔ ถือว่าเป็นเครื่องมือเพื่อให้

                   ได้มาซึ่งความเสมอภาคระหว่างหญิงชายทั้งในครอบครัว ชุมชนและสังคม ซึ่งต่อมาได้มีการจัดท าพิธีสาร
                   เลือกรับของอนุสัญญาฯ โดยผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติในปี ๒๕๔๒ และมีผลบังคับ
                   ใช้ในปี ๒๕๔๓ โดยมีประเทศสมาชิกเป็นเข้าร่วมเป็นภาคีประมาณ ๕ ประเทศรวมทั้งประเทศไทย  ใน
                   ส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการค้ามนุษย์ อนุสัญญาฯ ได้บรรจุไว้ในมาตราที่ ๖ ระบุให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่

                   เหมาะสมทุกอย่าง รวมทั้งการออกกฎหมายเพื่อปราบปรามการค้าสตรีและการแสวงหาประโยชน์จากการ
                   เป็นโสเภณีของผู้หญิง มาตรานี้สะท้อนให้เห็นว่าอนุสัญญา ต้องการให้รัฐภาคีขจัดการค้าสตรีทุกรูปแบบ
                   แต่ไม่ได้ห้ามการค้าประเวณี ทั้งนี้ หน้าที่ของรัฐคือการปราบปรามมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากหญิงที่
                   ค้าประเวณี







                                                             ๒๒
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47