Page 178 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 178

(๔) ขาดการจัดตั้งองค์กรกลางในการประสานงานในเรื่องการค้ามนุษย์ ทําให้การต่อต้าน
                   การค้ามนุษย์มีลักษณะต่างคนต่างทํา แม้จะมีความร่วมมือในลักษณะทวิภาคีก็ตาม แต่จากการที่ผู้วิจัย

                   เดินทางไปเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนสัญญาแบบทวิภาคีทั้ง ๔
                   ประเทศ ล้วนมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดตังองค์กรกลางในระดับภูมิภาค รวมทั้งการปรับปรุงข้อตกลงใหม่
                   ให้เท่าทันสถานการณ์การค้ามนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้น มีการประชุมร่วมกันในระดับคณะทํางาน และใน
                   ระดับคณะกรรมการร่วมให้ถี่มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา การจัดตั้งองค์กรกลางในระดับภูมิภาคจะทําให้การ

                   ปูองกันและแก้ไขป๎ญหาเป็นระบบมากขึ้น มีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น มีการคํานึงถึงสถานการณ์ของแต่ละ
                   ประเทศ และหลักยึดหลักสิทธิมนุษยชน การบังคับใช้กฎหมายได้มากขึ้น นอกจากนี้ องค์กรกลางยัง
                   สามารถมีบทบาทในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และบูรณาการระหว่างหลายหน่วยงานในการ
                   ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ


                          (๕) ขาดการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ ความร่วมมือที่
                   ผ่านมามุ่งเน้นระดับรัฐกับรัฐซึ่งเป็นความร่วมมือในระดับบน ความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมมีอยู่
                   บ้าง ซึ่งสามารถแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมเป็นรายกรณี แต่ความร่วมมือในลักษณะ

                   ดังกล่าวยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร ทําให้การปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์บนความร่วมมือระหว่าง
                   รัฐยังไม่ลงลึกถึงระดับรากฐานของป๎ญหา


                   ๔.๗ แนวทางในการสร้างและพัฒนากลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในอาเซียน

                          ผลการศึกษากลไกความร่วมมือ และป๎ญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นซึ่งประกอบด้วย ความไม่มี
                   ประสิทธิภาพของกฎหมายแต่ละ  บันทึกข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศยังไม่ครอบคลุม  การขาด
                   กฎหมายกลางของภูมิภาคอาเซียนที่เปรียบเสมือนธรรมนูญของชาวอาเซียนแบบเดียวกับกฎหมายของ

                   สหภาพยุโรป ขาดการจัดตั้งองค์กรกลางในการประสานงานในเรื่องการค้ามนุษย์  และขาดการส่งเสริม
                   ความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมระหว่างประเทศนั้น จากการสัมภาษณ์ มโนลิน เทบคําวงศ์,
                   (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘) ผู้อํานวยการองค์กรกฎหมายและภาคีการพัฒนาของสาธารณะ

                   ประชาธิปไตยประชาชนลาว  ชุม เม (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๘) ผู้อํานวยการองค์กรให้ความ
                   ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง ในราชอาณาจักรกัมพูชา  เอเอ มาร์ จอ (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘)
                   ซึ่งเป็นผู้แทนองค์กร United Nations Action for Cooperation against Trafficking in Person (UN
                   –  ACT)  ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา   ยอร์ด บลังชาร์ด (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘)

                   ผู้อํานวยการองค์กร Alliance Anti Trafficking ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และอีกลิว เฟอร์นันเดซ
                   (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๘) ผู้อํานวยการองค์กร Tenaganita  (Women’s  Force)  ใน
                   สหพันธรัฐมาเลเซีย เห็นพ้องกันว่า ต้องมีการปรับปรุงกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศให้มีความกระชับ
                   มากขึ้น คณะกรรมการระดับปฏิบัติการควรประชุมร่วมกันให้บ่อยขึ้น นอกจากนี้ยังเห็นว่า ที่ผ่านมามุ่งเน้น

                   การพัฒนากลไกในการปูองกันและแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ระดับชาติ และระดับภูมิภาคมากเกินไปจน
                   ละเลยการพัฒนากลไกในระดับพื้นที่ซึ่งมีความสําคัญในการปูองกันและแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ที่มี
                   ประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากกว่า ซึ่งได้เกิดความร่มมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมขึ้นแล้ว แต่
                   ยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร ดังนั้น แนวทางในการสร้างและพัฒนากลไกในการปูองกันและแก้ไขป๎ญหา


                                                            ๑๕๘
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183