Page 180 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 180
บทที่ ๕
สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง “การปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยกับความร่วมมือกับ
ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน” มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษารูปแบบของการค้า
มนุษย์ในยุคปัจจุบันที่แฝงอยู่ในการน าเข้าและการส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ (๒) เพื่อศึกษา
ปัญหา อุปสรรค ในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติปูองกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓) เพื่อหาแนวทางความร่วมมือในการปูองกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และ
สหพันธรัฐมาเลเซีย และ(๔) เพื่อจัดท าข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และการก าหนดมาตรการในการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านการค้ามนุษย์
ขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมถึงการศึกษาอนุสัญญา พิธีสารเกี่ยวกับการปูองกัน
ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ของสหประชาชาติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปูองกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังรวมถึงการศึกษาบทบาท ข้อจ ากัด และปัญหา
อุปสรรคของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เหยื่อการค้า
มนุษย์ และรูปแบบการจัดการของเครือข่ายการค้ามนุษย์ บทบาทของภาคประชาสังคมในการรณรงค์
และช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการปูองกัน
ปราบปรามการค้ามนุษย์ แนวทางความร่วมมือในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระหว่าง
ประเทศไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยม
เวียตนาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสหพันธรัฐมาเลเซีย ปัญหาอุปสรรคของความ
ร่วมมือ และแนวทางในการสร้างและพัฒนากลไกในการปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ใน
อาเซียน ซึ่งสามารถสรุปและอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาทั้ง ๔ ข้อได้ดังนี้
๕.๑ รูปแบบของการค้ามนุษย์ในยุคปัจจุบันที่แฝงอยู่ในการน าเข้าและการส่งออกแรงงานไป
ต่างประเทศ
ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อ ๑ รายงานการศึกษาวิจัยนี้ มุ่งเน้นไปที่บทบาทของ
ส านักงานตรวจคนเข้าเมืองและกระทรวงแรงงานว่ามีนโยบายและมาตรการอย่างไรในการกลั่นกรอง
การผ่านชายแดนของแรงงานต่างชาติและการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ การศึกษาบริบททาง
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ในแต่ละพื้นที่ที่ท าให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่ต้นทาง ทางผ่าน และ
ปลายทางของปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้งมาตรการตรวจแรงงานของกระทรวงแรงงานในสถาน
ประกอบการขนาดเล็กและในเรือประมง
๕.๑.๑ การน าเข้าและการส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า ส านักงาน
ตรวจคนเข้าเมืองที่ประจ าอยู่ที่ด่านแม่สอด แม่สาย ช่องแม็ก และปาดังเบซาร์ มีมาตรการตรวจคน
เข้าออกชายแดนค่อนข้างเข้มข้น มีเครื่องมือที่ทันสมัยในการบันทึกภาพ สแกนลายนิ้วมือ แสกน
ม่านตาของผู้ผ่านเข้า - ออกชายแดน กระนั้นก็ตาม ส าหรับคนที่ผ่านชายแดนที่มีเอกสารครบถ้วนก็ยัง
มีคนจ านวนหนึ่งเข้ามาในประเทศไทยแล้วไม่กลับไปประเทศต้นทางตามเวลาที่ก าหนด ซึ่งไม่ทราบว่า
๑๖๐