Page 175 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 175
๗. จะใช้ปฏิบัติการ/มาตรการที่แข็งกร้าวในการปราบปรามบุคคลและ/ หรือกลุ่มอาชญากรที่
เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์และจะให้ความสนับสนุนอย่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่
ประเทศสมาชิกในการเอาผิดการกระทําต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
๘. จะนํามาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการปูองกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ
ประเทศไทยได้ให้ความสําคัญต่อป๎ญหาการค้ามนุษย์ และได้แสดงบทบาทและเข้าร่วมในที่ประชุม
ในกรอบอาเซียนอย่างสม่ําเสมอ ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ ๖
(พฤศจิกายน ๒๕๕๐) ได้ตกลงใจที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้า
มนุษย์ (ASEAN Convention) ต่อมา ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ
(ASEAN Senior Officials Meeting on Transnational Crime – SOMTC) ครั้งที่ ๘ เมื่อเดือนมิถุนายน
๒๕๕๑ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้เห็นชอบในหลักการที่จะจัดทําอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์
(ASEAN Convention on Trafficking in Persons) อันเป็นข้อเสนอของอินโดนีเซียโดยมอบหมายให้
ฟิลิปปินส์เป็นผู้จัดการประชุมเพื่อหารือถึง ความเป็นไปได้ในการจัดทําอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้า
มนุษย์ข้างต้น
ต่อมา ในที่ประชุม SOMTC ครั้งที่ ๙ ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน – ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ณ
เมืองเนปิดอว์ สหภาพเมียนมา ที่ประชุมมีมติ ให้ส่งความเห็นเรื่องการเจรจาความเป็นไปได้เรื่องการจัดทํา
อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ให้กับสํานักเลขาธิการอาเซียนต่อไป ซึ่งประเทศสมาชิก
เห็นชอบในหลักการในการจัดทําอนุสัญญา ดังกล่าว และอนุสัญญา ฯ ควรส่งเสริมการดําเนินงานของ
กฎหมายภายในประเทศในเรื่องการค้ามนุษย์
และเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ผู้นําอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศได้มีการลงนามในอนุสัญญา
อาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Convention Against
Trafficking in Persons, Especially Women and Children) ภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้ง
ที่ ๒๗ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือ
ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการปูองกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเน้นการแก้ไขป๎ญหาการค้า
มนุษย์ที่ต้นเหตุ อาทิ การขจัดความยากจน การลดป๎จจัยเกื้อหนุนและปูองกันการตกเป็นเหยื่อซ้ําและการ
ส่งเสริมความร่วมมือข้ามแดน โดยเฉพาะการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคนเข้าเมือง การคุ้มครอง
ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการส่งกลับ การบังคับใช้กฎหมาย อาทิ การยึดทรัพย์ การให้ความ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา การส่งผู้ร้ายข้ามแดน และความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ
จะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่การมีปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและ
เด็ก (ASEAN Declaration Against Trafficking in Persons Particularly Women and Children)
เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จนถึงการมีอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์
โดยเฉพาะสตรีและเด็ก(ASEAN Convention Against Trafficking in Persons, Especially Women
and Children) มีระยะเวลาห่างกัน ๑๑ ปี แต่ป๎ญหาการค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียนก็ยังคงมีต่อไป และ
ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือในรูปแบบของอนุสัญญาพหุภาคียังไม่จริงจัง ซึ่งมี
ป๎ญหา อุปสรรคที่สามารถแยกเป็น ๕ ประเด็นได้ดังนี้
๑๕๕