Page 177 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 177
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้า
มนุษย์โดยเฉพาะเหมือนประเทศอื่นๆ แต่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อยู่ในประมวลกฎหมาย
อาญา(Penal Law) กฎหมายคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของเด็ก (Law on the Protection of the
Rights and Interests of Children (LPRC) และกฎหมายการพัฒนาและการคุ้มครองผู้หญิง (Law on
Development and Protection of Women) จุดประสงค์ของกฎหมายนี้คือการปกปูองสิทธิและ
ส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงโดยเฉพาะ และในมาตรา ๑๓๔ ของประมวลกฎหมายอาญาห้ามไม่ให้มีการค้า
มนุษย์ทุกรูปแบบ
อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศเพื่อนบ้านล้มเหลวในการ
บังคับใช้กฎหมาย การดําเนินคดีไม่มีความโปร่งใส ขาดการเก็บบันทึกข้อมูลคดี ขาดประสิทธิภาพในการ
สืบสวน สอบสวน แต่ละประเทศไม่สามารถเอาผิดกับขบวนการค้ามนุษย์รายใหญ่ได้
(๒) บันทึกข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศยังมีลักษณะเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ในบันทึก
ความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เรื่องความร่วมมือทวิภาคีว่าด้วย
การขจัดการค้าเด็กและหญิงและการช่วยเหลือ เหยื่อของการค้ามนุษย์ยังเป็นข้อตกลงแบบเชิงรับมากกว่า
เชิงรุก แม้ว่าจะมีการใช้นิยามของการค้ามนุษย์ให้สอดคล้องกับพิธีสารเรื่องการค้าบุคคล โดยเฉพาะ
การค้าหญิงและเด็กขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีข้อดีคือ มีการนิยามวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมมากกว่า
พิธีสารการค้ามนุษย์ขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงมีการนิยามการค้ามนุษย์ในรูปแบบการใช้เด็กและ
หญิงในสื่อลามกอนาจาร การรับบุตรบุญธรรมอันเป็นเท็จ และการกระทําให้หญิงและเด็กตกเป็นทาสของ
ยาเสพติด แต่ในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังไม่ให้การคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ที่เป็นเพศชายอย่าง
เพียงพอซึ่งส่วนมากจะถูกบังคับใช้แรงงานเยี่ยงทาสในอุตสาหกรรมการประมง ในป๎จจุบัน ผู้ชายก็เป็น
กลุ่มเสี่ยงที่จะถูกล่อลวงเข้าสู่วงโคจรของการค้ามนุษย์ได้เช่นกันไม่เพียงแต่เด็กและ ผู้หญิงเท่านั้น
(๓) ขาดกฎหมายกลางในระดับภูมิภาค ในภูมิภาคอาเซียนยังไม่มีกฎหมายกลางที่เปรียบเสมือน
ธรรมนูญของชาวอาเซียน ดังเช่นกฎหมายของสหภาพยุโรปที่รวมตัวเป็นประชาคมยุโรปซึ่งมีกฎหมาย
กลางที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ที่ถูกระบุไว้ใน มาตรา ๕ ของอนุสัญญายุโรปเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์
(European Trafficking Convention) ซึ่งกล่าวว่า การค้ามนุษย์รวมถึงการค้าทาสในทุกรูปแบบเป็นสิ่งที่
ต้องห้ามและขัดต่อบทบัญญัติของชาวยุโรปเป็นอย่างมาก ในอนุสัญญาประกอบด้วยบทนิยามของการค้า
มนุษย์ มาตรการในการคุ้มครองเหยื่อในการค้ามนุษย์ มาตรการทางกฎหมายในการช่วยเหลือเหยื่อการค้า
มนุษย์ในระหว่างดําเนินคดีทางกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มาตรการในการกักตัวเหยื่อโดยคํานึงถึง
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในหลักการห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุต่างๆ รวมถึงมาตรการหลังจากเหยื่อ
การค้ามนุษย์กลับไปดําเนินชีวิตในสังคม การเยี่ยวยาเหยื่อการค้ามนุษย์ และการออกกฎหมายระดับรองที่
ออกมาเพื่อประสานการดําเนินงานให้ไปในแนวทางเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎา ต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ทําให้การใช้กฎหมายของสหภาพยุโรปสามารถแก้ไขป๎ญหาใน
ระดับภูมิภาคได้โดยราบรื่น
๑๕๗