Page 179 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 179

การค้ามนุษย์ในอาเซียนในระยะต่อไปควรมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่าง
                   ภาคประชาสังคมให้มากขึ้น โดยควรมีการดําเนินการดังต่อไปนี้


                          ๔.๗.๑ การเสริมสร้างองค์ความรู้และศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทํางานเพื่อปูองกันและ
                   แก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ เช่น
                                - การเสริมสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชน/สังคม  เป็นการทํางานเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนและ

                                   สังคมเกี่ยวกับป๎ญหาการค้ามนุษย์ให้มากยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า การประชาสัมพันธ์ผ่าน
                                   สื่อมวลชนต่างๆ  การสนับสนุนให้ชุมชนมีการดําเนินโครงการเพื่อปูองกันและแก้ไข
                                   ป๎ญหาการค้ามนุษย์ในชุมชนของตน โดยรัฐเป็นองค์กรพี่เลี้ยงที่ให้การสนับสนุน ทั้ง
                                   ทางด้านงบประมาณ องค์ความรู้ทางวิชาการในการขับเคลื่อน

                                - การเสริมสร้างองค์ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ หรือกลุ่มเหยื่อค้า
                                   มนุษย์  เช่น การจัดโครงการอบรมให้ความรู้แก่แรงงานเกี่ยวกับสิทธิของแรงงาน  โดย
                                   ต้องให้ความสําคัญกับทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ
                                - การเสริมสร้างองค์ความรู้แก่ทีมงาน/เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการ

                                   ขับเคลื่อนกระบวนการปูองกันและแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์  เช่น การจัดอบรมให้
                                   ความรู้เกี่ยวกับนิยามความหมายของการค้ามนุษย์ ตลอดจนกระบวนการทํางานเพื่อ
                                   การปูองกันแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ และการช่วยเหลือ เยียวยาเหยื่อการค้ามนุษย์ที่

                                   เป็นระบบ การจัดโครงการอบรมเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้เรียนรู้ภาษาของแรงงานที่
                                   สามารถสื่อสารกับแรงงานได้ โดยตรง
                          ๔.๗.๒  การสร้างเครือข่ายการเฝูาระวังป๎ญหาป๎ญหาการค้ามนุษย์ ควรมีการพัฒนา เครือข่ายการ
                   เฝูาระวังและช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่มเสี่ยง เช่น ในกลุ่มแรงงาน  เครือข่ายเฝูาระวังป๎ญหาของชุมชน โดย

                   การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการขับเคลื่อนกระบวนการปูองกันและแก้ไขป๎ญหาการค้า
                   มนุษย์ภายในชุมชนของตนเอง  โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการ
                   ขับเคลื่อนงาน การสนับสนุนให้มีอาสาสมัครเฝูาระวังป๎ญหา
                          ๔.๗.๓ การสร้างเครือข่ายขององค์กรภาคี   รัฐควรสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายการทํางาน

                   ระหว่างองค์กรต่างๆที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปูองกันและแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์  โดยเน้นให้มี
                   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นของประสบการณ์การทํางาน เพื่อให้สามารถสร้างเวทีการเรียนรู้
                   ร่วมกันและสามารถเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ให้แก่กันได้อีกทางหนึ่ง เช่น การจัดให้มีเวทีกลางที่เปิด
                   โอกาสให้องค์กรเครือข่ายด้านนี้มาพบปะพูดคุยกัน อาทิ การจัดงานรวมพลคนต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็น

                   ต้น
                          ๔.๗.๔ การจัดทําระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัย และมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน
                   อย่างเพียงพอ เป็นต้นว่า ข้อมูลด้าน อุปสงค์   อุปทาน ข้อมูลด้านกระบวนการและพฤติการณ์ของ

                   การค้ามนุษย์ ข้อมูลคดี และบทเรียนจากเหยื่อ หรือผู้เสียหาย










                                                            ๑๕๙
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184