Page 176 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 176

(๑)  ความไม่มีประสิทธิภาพของกฎหมายแต่ละประเทศ  ในภูมิภาคอาเซียน กฎหมายต่อต้าน
                   การค้ามนุษย์ยังไม่เป็นเอกภาพ และยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มี ๓ ประเทศได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐ

                   แห่งสหภาพเมียนมา  ราชอาณาจักรกัมพูชา และสหพันธรัฐมาเลเซีย มีกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์แล้ว
                   ขณะที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ยังไม่มีกฎหมาย
                   ปราบปรามการค้ามนุษย์โดยตรง และเมื่อพิจารณารายละเอียดกฎหมายของแต่ละประเทศ พบว่ายังไม่
                   เป็นเอกภาพ กล่าวคือ

                          สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นที่ครอบคลุม
                   ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ – ๓๗๗ กําหนดให้การลักพาตัวบุคคล โดยเฉพาะผู้หญิงและ
                   เยาวชนอายุต่ํากว่า ๑๖ ปี เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย สําหรับการบังคับให้ค้าแรงงานและการบังคับให้เยาวชน
                   เป็นทหารเด็กนั้น พม่ามีกฎหมาย Wards  and  Village  Tracts  Administration  Act  และประมวล

                   กฎหมายอาญามาตรา ๓๗๔ ในการรับมือกับการกระทําดังกล่าว นอกจากนี้ การบังคับใช้แรงงานยังถูก
                   ห้ามไว้ใน มาตรา ๓๕๙ ของรัฐธรรมนูญของพม่า ฉบับปี ๒๕๕๑
                          ราชอาณาจักรกัมพูชา มีการประกาศใช้ Law on Suppression of Human Trafficking and
                   Sexual Exploitation (TSE Law) โดยวัตถุประสงค์ของการใช้กฎหมายคือเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์

                   และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ  นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายที่เรียกว่า ๑๙๙๖ Law on Suppression of
                   Kidnapping, Trafficking and Exploitation of Humans ซึ่งถือว่าแรงงานใช้หนี้ (Debt bondage),
                   การเอาคนลงเป็นทาส (Slavery), และการบังคับให้เด็กใช้แรงงานเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

                          สหพันธรัฐมาเลเซียมีกฎหมาย Anti-Trafficking  in  Persons  Act  และ Anti-Smuggling  of
                   Migrants Act ในการรับมือกับป๎ญหาด้านการค้ามนุษย์ โดย Anti-Trafficking in Persons Act ซึ่งห้าม
                   ไม่ให้มีการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบ กฎหมายได้รับการปรับปรุงแก้ไขเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ เพื่อ
                   ขยายความหมายของการค้ามนุษย์ให้ครอบคลุมการกระทําทุกอย่างที่เกี่ยวข้องงกับการบังคับใช้แรงงาน
                   อย่างไรก็ดี ข้อบกพร่องในการรับมือกับป๎ญหาเรื่องการค้ามนุษย์ของมาเลเซียคือการที่รัฐบาลมักละเลยใน

                   ประเด็นเรื่องของการถูกยึดหนังสือเดินทางหรือการไม่จ่ายค่าจ้างของนายจ้าง โดยเฉพาะในรายที่เหยื่อ
                   ผู้เสียหายเป็นผู้ที่ทํางานรับใช้ภายในบ้าน โดยไม่ได้ถือว่ากรณีเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ใน
                   บางกรณี มีการเอาผิดกับเหยื่อของการค้ามนุษย์แค่เพียงการลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายเท่านั้น

                          สาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียตนาม เป็นประเทศที่ไม่ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ
                   แต่มีกฎหมายต่อต้านการค้าผู้หญิง เด็ก ซึ่งอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ปี ๑๙๘๕ แก้ไขปรับปรุงในปี
                   ๑๙๙๒  มาตราที่แก้ไขคือ มาตรา ๑๔๙ ในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งกล่าวว่า  ผู้ที่ที่ทําการลักพาตัว ค้า
                   หรือแลกเปลี่ยนเด็กต้องถูกจําคุกระหว่าง ๑ – ๗ ปี และ ถ้าการกระทําผิด เป็นลักษณะการก่อ

                   อาชญากรรมโดยอาชีพ ส่งเด็กไปต่างประเทศ ลักพาตัวเด็กหรือ แลกเปลี่ยนหลอกลวงเด็กมากกว่า ๑ คน
                   และกระทําผิดซ้ํา ผู้กระทําผิดต้องถูกจําคุก ๕ – ๒๐ ปี นอกจากนี้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญปี ๑๙๙๒ มี
                   หลายมาตราที่ สนับสนุนสิทธิสตรี และเด็ก รวมทั้งมาตรา ๖๕ ซึ่งกล่าวว่า “เด็กต้องได้รับการปกปูอง
                   คุ้มครอง และได้รับการศึกษาโดยครอบครัว รัฐ และสังคม” ซึ่งมีผลกระทบทางอ้อมต่อการต่อต้านการค้า

                   มนุษย์
                          กฎหมายอื่นๆที่ช่วยทําให้มาตรการด้านปูองกันและคุ้มครองมีความแข็งแรง ประกอบด้วย
                   กฎหมายจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานปี ๑๙๙๑ และกฎหมายแรงงานปี  ๑๙๙๔  ซึ่งกําหนดอายุ ๑๕ ปี เป็น
                   อายุขั้นต่ําของการจ้างงาน


                                                            ๑๕๖
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181