Page 181 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 181

คนที่หายไป ไปท าอะไร ถูกกระบวนการค้ามนุษย์หลอกลวงไปท างานในโรงงาน หรือถูกส่งตัวไป
                   ท างานในเรือประมง หรือถูกส่งไปขายบริการทางเพศหรือไม่ นอกจากนี้ ทุกด่านที่ผู้วิจัยลงไปเก็บ

                   ข้อมูล เจ้าหน้าที่ต ารวจของทุกพื้นที่ยอมรับว่า มีการลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายโดยเข้ามาทาง
                   ช่องทางธรรมชาติที่เป็นแม่น้ าหรือปุาเขาตามชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมี
                   แนวเขตแดนรวมกันทั้ง ๔  ด้านประมาณ ๕,๖๕๖ กิโลเมตร
                          จากการศึกษาบริบทของพื้นที่พบว่า พื้นที่ที่มีปรากฏการณ์การค้ามนุษย์ในรูปแบบของการค้า

                   ประเวณีรุนแรง ได้แก่ พื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยทีปัจจัยที่ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดกระบวนการ
                   ค้ามนุษย์ ในอ าเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย (๑) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์หรือที่ตั้งของ
                   อ าเภอแม่สาย ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดน ที่เอื้อต่อการเกิดขึ้นของกระบวนการค้ามนุษย์   (๒) ปัจจัย
                   ทางด้านการเมือง ทั้งในแง่มุมของความไม่สงบของการเมืองภายในของประเทศพม่า และการถูกกด

                   ทับ เบียดขับให้ไปอยู่ชายขอบความเจริญ ความกินดีอยู่ดี และการมีชีวิตที่อยู่อย่างสมศักดิ์ศรีความ
                   เป็นมนุษย์ของกลุ่มคนไร้รัฐที่เข้ามาอยู่ในเขตรัฐไทย ท าให้มีกลุ่มนักค้ามนุษย์มาล่อลวง ชักชวนกลุ่ม
                   คนเหล่านี้ให้ไปท างาน  (๓) เงื่อนไข ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจก็เป็นอีกหนึ่งเงื่อนไข ปัจจัยที่ส่งเสริม
                   สนับสนุนให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ต้นทาง ทางผ่าน และเป็นปลายทางของการค้ามนุษย์ เนื่องจาก

                   พื้นที่ดังกล่าวถือเป็นเขตเศรษฐกิจส าคัญอีกเขตหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจในพื้นที่หมุนเวียนดี ก็ก่อให้เกิดการ
                   หลั่งไหลของผู้คนจากประเทศเมียนม่าร์มายังประเทศไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยว และเกิดธุรกิจที่เป็น
                   สถานบริการทางเพศแบบแอบแฝง เช่น ร้านคาราโอเกะ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและผู้คนในพื้นที่

                   ที่มีอ านาจในการจับจ่ายซื้อบริการ
                           พื้นที่ที่มีปรากฏการณ์การค้ามนุษย์ในรูปแบบของการค้าแรงงาน ได้แก่ พื้นที่จังหวัดตาก
                   และจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดกระบวนการค้ามนุษย์ ในอ าเภอแม่
                   สอด จังหวัดตาก ประกอบด้วย (๑) ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ หรือสภาพธรรมชาติที่เอื้ออ านวย โดยที่
                   สภาพภูมิประเทศตามแนวชายแดน จังหวัดตาก มีจุดข้ามแดนอย่างไม่เป็นทางการอยู่มากมายตาม

                   ตะเข็บชายแดน อาทิ ท่าเรือหางยาวในแม่น้ าเมย ๑๗  ท่าที่คนฝั่งพม่าสามารถข้ามแดนมาสู่ประเทศ
                   ไทยได้อย่างสะดวก การตั้งบ่อนคาสิโนประชิดชายแดนที่สามารถข้ามฝั่งไปเล่นการพนันได้ตลอด ๒๔
                   ชั่วโมง หรือการเดิน การว่ายน้ าข้ามแม่น้ าที่กั้นระหว่างไทยและพม่าที่มีระยะทางราว ๑๐๐  กว่า

                   กิโลเมตร ซึ่งรัฐบาลไทยไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด จึงเป็นสาเหตุส าคัญอีกประการหนึ่งให้ประชาชน
                   ชาวพม่าอพยพเข้ามาในเขตประเทศไทยได้ง่ายและเป็นการยากส าหรับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ
                   จะสกัดกั้นและปูองกันการลักลอบเข้าประเทศได้ (๒) ปัจจัยทางด้านการเมืองของประเทศเมียนมา
                   ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นปัจจัยผลักดันที่ส าคัญที่ท าให้คนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามชายแดน เช่น

                   ไทใหญ่ กะเหรี่ยง มุสลิมที่อพยพมาจากบังคลาเทศ ถูกผลักให้ออกนอกประเทศ และเข้าสู่ประเทศ
                   ไทย (๓) ปัจจัยเกี่ยวกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเมียนมา ซึ่งปกครองโดยรัฐบาลทหารใน
                   รูปแบบเผด็จการ ดังนั้นการผูกขาดทางเศรษฐกิจยังอยู่ในการควบคุมของรัฐบาล ไม่ขยายตัวไปสู่กลุ่ม
                   คนต่างๆ ประชาชนไม่มีเสรีภาพทางด้านการลงทุนมากนัก ประกอบกับปัญหาสภาพภูมิอากาศท า

                   ให้ผลผลิตของประเทศตกต่ า จึงท าให้เศรษฐกิจไม่ขยายตัว การประกอบอาชีพของประชาชนเริ่ม
                   ฝืดเคือง ผู้คนจากฝั่งเมียนมาจึงได้อพยพหลบหนีออกนอกประเทศไปขายแรงงานยังประเทศข้างเคียง
                   (๔) ปัจจัยเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่มีนโยบายให้อ าเภอแม่สอดเป็นเขตพัฒนา
                   เศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหลัก

                   ที่ท าให้เกิดการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานอพยพเหล่านี้


                                                          ๑๖๑
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186