Page 183 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 183

ค่าหัวแรงงานที่นายหน้าขายให้กับเรือประมง มีราคาตั้งแต่ ๖,๐๐๐ – ๓๐,๐๐๐ บาท  นั่นหมายถึง
                   แรงงานที่ถูกล่อลวงไปท างาน ต้องท างานใช้หนี้ในสภาพที่ไม่เต็มใจในการท างาน โดยไม่สามารถขัดขืน

                   หรือหนีเพื่อให้พ้นสภาพนั้นได้ เนื่องจากเรืออยู่กลางทะเลตลอด  ระบบการจ้างแรงงานของ
                   อุตสาหกรรมประมงทะเล  ส่วนใหญ่เป็นการมอบหมายการดูแลและจัดหาลูกเรือประมงให้กับผู้
                   ควบคุมเรือ (ไต้ก๋ง)  ดังนั้น ระบบการจัดการเรื่องเอกสารจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  แรงงาน
                   ประมงจ านวนมากออกเรือโดยไม่เคยมีการเซ็นสัญญาการจ้างงาน ลูกเรือไม่ทราบค่าจ้างแรงงานที่

                   ตนเองจะได้รับ และระยะเวลาที่ต้องออกเรือ   ยิ่งเป็นแรงงานเด็ก หรือแรงงานที่ถูกน าพามาโดย
                   ขบวนการค้ามนุษย์จะไม่ทราบแม้กระทั่งว่าตนเองจะไปออกเรือที่ไหนและจะได้กลับเข้าฝั่งเมื่อใด
                          เมื่อพิจารณาถึงมาตรการในการคุ้มครองแรงงานภาคประมงทะเลในเรือประมงสัญชาติไทยที่
                   มีแรงงานประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คนนั้น   ก็มีเพียงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และ

                   กฎกระทรวงแรงงานฉบับที่ ๑๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑  เพื่อ
                   ก าหนดมาตรฐานขั้นต่ าในการใช้แรงงานในกิจการประมงทะเลเป็นการเฉพาะเท่านั้น   กฎหมายและ
                   กฎกระทรวงดังกล่าวมีการคุ้มครองการใช้แรงงานประมงทะเลก่อนที่จะออกท าการประมงทะเล โดย
                   ก าหนดอายุขั้นต่ าของลูกเรือประมง  ห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กอายุต่ ากว่าสิบแปดปีท างานในเรือประมง

                   แต่กฎหมายไม่มีการบังคับว่าก่อนที่ลูกจ้างจะท างานบนเรือประมงจะต้องได้รับการตรวจร่างกายจาก
                   แพทย์ว่ามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถที่จะท างานบนเรือประมงได้  ไม่ได้มีการก าหนดให้มีการ
                   ฝึกอาชีพหรือฝึกงานให้แก่แรงงานประมงก่อนที่จะเริ่มท างานบนเรือประมง  แต่เนื่องจากงานประมง

                   ทะเลเป็นงานในลักษณะพิเศษ มีช่วงเวลาในการท างานไม่เหมือนงานปกติทั่วไป กล่าวคือ มีการ
                   ท างานเป็นช่วงเวลาไม่ต่อเนื่องกัน ลูกเรือประมงจะมีหน้าที่ปล่อยอวน เมื่อลากปลาขึ้นมาได้ก็จะท า
                   การคัดแยกปลา และซ่อมอวน  แล้วจึงปล่อยอวนอีกครั้ง เรียกว่า ๑ ลอย ใช้เวลาประมาณลอยละ ๒
                   – ๔ ชั่วโมงจากนั้นจะนอนพักผ่อน ๒ – ๔  ชั่วโมง ก็จะท าการลากอวนขึ้นเรือและคัดแยกปลารอบ
                   ใหม่ วนเวียนกันอยู่แบบนี้ ดังนั้น การพักผ่อนจึงไม่ต่อเนื่อง  ตลอดจนไม่มีเวลาหยุดงานที่ชัดเจน  จึง

                   ท าให้แรงงานประมงต้องท างานเกินกว่าวันละ ๘ ชั่วโมง จึงพักผ่อนไม่เพียง  ซึ่งเป็นเหตุแห่งการเกิด
                   อันตรายในการท างาน และอาจเจ็บปุวยได้ง่าย  การท างานภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ ผิดกฎหมาย ซึ่ง
                   กระทรวงแรงงานไม่สามารถควบคุมได้


                          ๕.๑.๓ รูปแบบการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์   ในเรื่องรูปแบบของการเข้าสู่กระบวนการ
                   ค้ามนุษย์นั้น ผู้วิจัยพบการท างานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากของขบวนการค้ามนุษย์ทั้งใน
                   รูปแบบของการค้าประเวณี การบังคับใช้แรงงาน  และการน าเด็กมาขอทาน นับตั้งแต่การชักชวนให้

                   เหยื่อเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์   วิธีการเดินทางเข้าสู่ประเทศ (กรณีเหยื่อการค้ามนุษย์ชาว
                   ต่างประเทศ/แรงงานข้ามชาติ) วิธีการเดินทางไปยังสถานประกอบการ/โรงงานหรือแหล่งท างานอื่นๆ
                   และเส้นทางในการเดินทาง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
                          ๕.๑.๓.๑  การชักชวนให้เหยื่อเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์  มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการชักชวนให้

                   เหยื่อเข้าสู่การค้ามนุษย์ในรูปแบบของการค้าประเวณี คือ
                             (๑) กลุ่มคนรู้จักอยู่หมู่บ้านเดียวกัน หรือเครือญาติ ที่ท าตัวเป็นนายหน้าให้กับนายจ้างคน
                   ไทยที่ต้องการคนงาน  เมื่อได้ค าสั่งจากนายจ้าง กลุ่มขบวนการนี้ก็จะติดต่อกลับไปยังญาติพี่น้องที่พัก
                   อยู่ตามแนวชายแดนทั้งฝั่งไทย ฝั่งพม่า ลาว กัมพูชา ให้รวบรวมเพื่อน ญาติ หรือคนรู้จักในหมู่บ้าน

                   เดียวกัน หมู่บ้านใกล้เคียง ส่งเข้ามาท างาน


                                                          ๑๖๓
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188