Page 182 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 182

ส่วนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร พบว่าเงื่อนไข ปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการ
                   ค้ามนุษย์ในพื้นที่ ได้แก่ (๑) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากจังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่อยู่ติด

                   กับทะเล ตั้งอยู่ริมแม่น้ าท่าจีนพื้นที่ตอนล่างของภาคกลางของประเทศไทย  พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ
                   ลุ่มติดชายฝั่งทะเล  ส่งผลให้จังหวัดสมุทรสาคร โดยเฉพาะในอ าเภอมหาชัยมีธุรกิจอุตสาหกรรมการ
                   ประมง และธุรกิจอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมงทางทะเลเกิดขึ้นจ านวนมาก ผู้ประกอบการจึง
                   มีความต้องการแรงงานเป็นจ านวนมาก และต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแรงงานราคาถูก เพื่อให้

                   ได้ผลก าไรสูงสุด  ข้อมูลจากมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน(LPN) พบว่ามีการ “ออเดอร์”
                   แรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้าเมืองมาท างานในโรงงานของตนเป็นจ านวนมาก (๒) ปัจจัยทางสังคม
                   วัฒนธรรม ปัจจัยนี้เป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในการท างานของคนไทยที่มักจะหลีกเลี่ยง ไม่
                   นิยมท างานที่มีลักษณะสกปรก อันตราย และยากล าบาก ส่งผลให้ต้องมีการน าเข้าแรงงานข้ามชาติ

                   เข้ามาท างานเป็นจ านวนมาก (๓) ปัจจัยเกี่ยวกับความไม่สงบของการเมืองภายในประเทศต้นทาง เช่น
                   เกิดสงครามกลางเมืองในประเทศเมียนม่าร์ ท าให้ผู้คน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยถูกขับไล่จากการสู้รบ
                   ซึ่งเป็นประเด็นที่คล้ายคลึงกับที่เกิดในพื้นที่อ าเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และพื้นที่อ าเภอแม่สอด
                   จังหวัดตาก ที่ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศเพื่อนบ้าน ท าให้ผู้คนจากประเทศเพื่อน

                   บ้านต้องหลบหนีออกนอกประเทศ และลักลอบเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อไปสู่ชีวิตที่คิดว่าจะดีกว่าที่
                   เป็นอยู่ในประเทศของตน (๔) ปัจจัยเกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ยากจน ว่างงาน และเข้าไม่ถึง
                   ทรัพยากรในประเทศต้นทาง อันเป็นประเด็นที่คล้ายคลึงกับพื้นที่อ าเภอแม่สาย และอ าเภอแม่สอด ที่

                   ผู้คนมักอพยพหนีตาย เพื่อมาท ามาหากินในประเทศไทย และ  (๕) ปัจจัยเกี่ยวกับนโยบายของรัฐที่
                   เกี่ยวกับการจัดระบบแรงงานข้ามชาติ ท าให้เกิดช่องทางในการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติ
                   ในทุกรูปแบบ จนกระทั่งกลายเป็นการค้ามนุษย์ในที่สุด  รวมทั้งกลไกการแก้ไขปัญหาสลับซับซ้อน
                   ยุ่งยาก มีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบยังขาดการติดตามปัญหาอย่างลึกซึ้ง ท าให้ไม่เกิดการแก้ปัญหาที่
                   ตรงจุด และกลายเป็นการค้ามนุษย์ในที่สุด

                          ๕.๑.๒ การตรวจแรงงาน  ส าหรับการตรวจแรงงานในสถานประกอบการขนาดย่อมนั้น
                   พบว่ายังมีปัญหาของก าลังเจ้าหน้าที่ที่มีไม่เพียงพอเนื่องจากประเทศไทยมีสถานประกอบการขนาด
                   ย่อมเกือบ ๒ แสนแห่ง หรือร้อยละ ๙๙.๑ เป็นสถานประกอบการขนาดย่อมที่มีคนท างาน ๑ – ๕๐

                   คน สถานประกอบการขนาดกลางที่มีคนท างาน ๕๑ – ๒๐๐ คน มีเพียงประมาณร้อยละ ๐.๗
                   ในขณะที่สถานประกอบการขนาดใหญ่ (คนท างานมากกว่า ๒๐๐ คน) มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย คือ
                   ประมาณร้อยละ ๐.๒ ของจ านวนสถานประกอบการทั้งสิ้น การค้ามนุษย์ด้านแรงงานมักจะเกิดขึ้นใน
                   สถานประกอบการขนาดย่อมที่การตรวจแรงงานไปไม่ถึง

                          ส่วนการตรวจแรงงานในเรือประมงก็มีปัญหาคล้ายกับการตรวจแรงงานในสถานประกอบการ
                   ขนาดย่อม  ปัจจุบันมีลูกเรือใช้แรงงานอยู่ในเรือประมงสัญชาติไทยกลางทะเลประมาณ ๓๐๐,๐๐๐
                   คน  โดยมีทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ซึ่งสัดส่วนในปัจจุบันมีแนวโน้มของแรงงานข้ามชาติสูง
                   กว่าแรงงานไทยหลายเท่าตัว การที่มีเรือประมงอยู่เป็นจ านวนมากท าให้การตรวจแรงงานใน

                   เรือประมงท าได้ไม่ทั่วถึง ปัญหาการค้ามนุษย์นับว่าเป็นปัญหาที่ส าคัญอีกประการหนึ่งของ
                   อุตสาหกรรมประมงทะเล ด้วยสภาวะการขาดแคลนแรงงานจ านวนมากจึงท าให้เกิดขบวนการ
                   นายหน้าค้าแรงงานประมง เพื่อจัดหาแรงงานประมงปูอนเข้าสู่ตลาดที่ขาดแคลน  แต่แรงงานส่วน
                   ใหญ่เลือกที่จะท างานบนบก มากกว่างานในทะเล จึงท าให้วิธีการของนายหน้าต้องใช้การล่อลวง  การ

                   ใช้ยาสลบ และการบังคับให้ช าระหนี้ เป็นเครื่องมือในการน าพาแรงงานลงเรือประมง  โดยปัจจุบัน


                                                          ๑๖๒
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187