Page 174 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 174

สะดวกขึ้น และในป๎จจุบัน หลายประเทศในอาเซียน เป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางในการค้า
                   มนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตรีและเด็ก

                          จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของกองอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๒๙
                   พฤษภาคม ๒๕๕๘) ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอาเซียนเป็นลําดับดังนี้
                          ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ. ๑๙๙๗) มีการประชุมผู้นําอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ ผู้นําอาเซียนได้มี
                   การกล่าวถึงป๎ญหาการค้าสตรีและเด็กเป็นครั้งแรก และเรียกร้องให้มีมาตรการที่เข้มงวดในการต่อต้าน

                   อาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งรวมถึงการค้าสตรีและเด็ก ในการประชุมครั้งนั้นได้มีการรับรอง วิสัยทัศน์
                   อาเซียน ๒๐๒๐ ซึ่งได้กําหนดให้มีแนวปฏิบัติ และมาตรการความร่วมมือในการแก้ไขป๎ญหาของภูมิภาค
                   ซึ่งรวมถึงการค้าสตรีและเด็ก
                          ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ (๑๙๙๘) ผู้นําอาเซียนได้รับรองแผนปฏิบัติการฮานอย เพื่อเป็นแผนแม่บท

                   สําหรับอาเซียนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเงิน โดยแผนดังกล่าวเรียกร้อง
                   ให้มีการเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านการค้าและการกระทํารุนแรงต่อสตรีและเด็ก
                          ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่กรุงเวียงจันทน์ ได้
                   มีการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก

                   (ASEAN Declaration Against Trafficking in Persons Particularly Women and Children)  ซึ่ง
                   กําหนด แนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของประเทศอาเซียน และได้รับรอง
                   แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientaine  Action  Programme  –  VAP)  ซึ่งประกอบด้วยแผนการ

                   ดําเนินงานใน ๓ เสาหลักอาเซียน (ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ
                   ประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน) ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการดังกล่าวยังได้ครอบคลุมถึงการส่งเสริมความ
                   ร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้วย
                          ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ปี ๒๕๔๗ ประกาศว่า จะ
                   ดําเนินการมาตรการต่าง ๆ ๘ ข้อ คือ

                            ๑.  จะจัดตั้งศูนย์กลางเครือข่ายระดับภูมิภาคเพื่อปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
                                โดยเฉพาะสตรีและเด็กในภูมิภาคอาเซียน
                            ๒.  จะนํามาตรการต่าง ๆ มาใช้เพื่อปูองกันไม่ให้มีการปลอมแปลงหนังสือเดินทาง เอกสารการ

                                เดินทางของราชการ บัตรประจําตัวประชาชน หรือเอกสารการเดินทางของราชการอื่นๆ
                            ๓.  จะจัดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของการ
                                ย้ายถิ่น แนวโน้มและรูปแบบ มาตรการการควบคุมและเฝูาระวังแนวชายแดน ตลอดจน
                                การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องและจําเป็น

                            ๔.  จะประสานความร่วมมือระหว่างสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองและหน่วยงานต่างๆซึ่งเป็นผู้
                                บังคับใช้กฎหมายของประเทศสมาชิก
                            ๕.  จะแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ออกจากผู้กระทําผิดและตรวจหาประเทศต้นทางและ
                                สัญชาติของผู้เสียหายตลอดจนปฏิบัติต่อผู้เสียหายอย่างมีมนุษยธรรมโดยจัดให้ผู้เสียหาย

                                ได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่จําเป็นและได้รับความช่วยเหลืออื่นๆตามความ
                                เหมาะสมจากประเทศปลายทางซึ่งรวมไปถึงการส่งกลับผู้เสียหายไปยังประเทศต้นทางโดย
                                มิชักช้า
                            ๖.  จะปฏิบัติต่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์โดยคํานึงถึงศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชน


                                                            ๑๕๔
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179