Page 173 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 173
ถูกควบคุมตัวภายใต้กฎหมายที่ชื่อว่าการค้ามนุษย์และการลักลอบเข้าเมือง ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติการ
ร่วมกันทางตอนใต้ของไทยและทางเหนือของมาเลเซีย โดยเหยื่อส่วนใหญ่เป็นชาวบังคลาเทศ และ
เมียนม่าร์ ซึ่งมีบัตรของ ยูเอ็นเอสซีอาร์ปลอม และในช่วงตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม เป็นต้นมา ทางการ
มาเลเซียได้ตรวจพบผู้หลบหนีเข้าเมืองจํานวน ทั้งสิ้น ๑,๐๑๘ คน ที่เกาะลังกาวี ด้วย ประกอบไปด้วย บัง
คลาเทศ ๕๕๕ คน และชาวเมียนมา ๔๖๘ คน และยังสามารถยึดเรือโดยสารสําหรับชาวต่างชาติ จํานวน
๒ ลํา จากการข่าวน่าเชื่อว่าบุคคลที่ถูกจับกุมน่าจะหลบหนีมาจากชายแดนไทย
นอกจากสถานการณ์การค้ามนุษย์กรณีชาวโรฮิงญาดังกล่าว จากการศึกษาสถานการณ์ของ ๓
จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลา นราธิวาส และยะลา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ชายแดนติดกับสหพันธรัฐ
มาเลเซีย พบว่า สถานการณ์การค้ามนุษย์มีความรุนแรงพอๆกับชายแดนไทยทางภาคเหนือและภาคอีสาน
กล่าวคือ
จังหวัดสงขลามีพื้นที่ติดต่อกับรัฐเคดาห์ (ไทรบุรี) ของประเทศมาเลเซีย เป็นศูนย์กลางของความ
เจริญในหลายๆ ด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การศึกษา การคมนาคม การท่องเที่ยว เป็นแหล่งรวม
ของสถานบันเทิงต่างๆ เป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สําคัญ ทําให้มีการเคลื่อนย้ายของประชากรจาก
ทุกภูมิภาคของประเทศไทยและจากต่างประเทศเข้ามาภายในจังหวัดเป็นจํานวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อประกอบอาชีพ ศึกษา และท่องเที่ยว ทําให้เกิดป๎ญหาสังคมขึ้นมากมาย โดยเฉพาะป๎ญหาการค้า
มนุษย์ มีเด็กและสตรีถูกล่อลวงมาเพื่อการค้าประเวณีเป็นจํานวนมากที่มาเลเซียและสิงคโปร์ จากข้อมูล
สถิติการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์จังหวัดสงขลา และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสงขลา มีเด็กและสตรีตกเป็นเหยื่อการค้า
มนุษย์ถูกส่งตัวกลับจากประเทศมาเลเซียกว่า ๑๐๐ ราย
จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซียทางด้านอําเภอสุไหงโก-
ลก อําเภอตากใบ อําเภอแว้ง และอําเภอสุคิริน มีด่านตรวจคนเข้าเมืองแบบถาวร จํานวน ๒ ด่าน คือ
ด่านตรวจคนเข้าเมืองสุไหงโก-ลก และตากใบ จึงทําให้จังหวัดนราธิวาสมีสถานะเป็นทางผ่านของ
ชาวต่างชาติ เช่น กัมพูชา พม่า และลาว เดินทางเข้าไปประกอบอาชีพในประเทศมาเลเซีย ตลอดจนมีคน
ไทยจากภาคเหนือ ภาคอีสาน และอื่นๆ เดินทางมาทํางานในสถานประกอบการ ได้แก่ ร้านคาราโอเกะ
ร้านอาหาร และธุรกิจอื่นๆ จึงทําให้จังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการกระทําความผิดกฎหมายด้าน
แรงงาน และการค้าประเวณี ซึ่งต้องมีการเฝูาระวัง และติดตามสถานการณ์การค้ามนุษย์อย่างใกล้ชิด
จังหวัดยะลา มีพื้นที่ชายแดนติดต่อประเทศมาเลเซียทางอําเภอเบตง มีด่านตรวจคนเข้าเมือง
อําเภอเบตงเป็นจุดผ่านแดนถาวร มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีสถานศึกษา สถานบริการ และมีแหล่ง
ท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม มีการลักลอบค้าประเวณีแบบแอบแฝงเพื่อแลกเปลี่ยนกับความต้องการทาง
วัตถุ ซึ่งอาจก่อให้เกิดป๎ญหาการค้ามนุษย์ได้
สถานการณ์การค้ามนุษย์ใน ๓ จังหวัดดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ไทยและ
มาเลเซียจะต้องมีความร่วมมือกันในลักษณะทวิภาคีอย่างจริงจังให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต
๔.๖.๓ ปัญหา อุปสรรคความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอาเซียน
อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ประสบป๎ญหาการค้ามนุษย์มากที่สุดภูมิภาคหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการ
มนุษย์ภายในภูมิภาค การเปิดพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขงทําให้การเดินทางข้ามแดนเป็นไปได้
๑๕๓